สาเหตุ ลูกร้องไม่หยุด วิธีแก้ ภาวะโคลิค Baby cries non-stop, causes and remedies for Colic.

ภาวะโคลิก (Colic)

ภาวะโคลิก คืออาการที่ลูกน้อยร้องไห้อย่างหนัก ไม่ว่าจะพยายามปลอบโยนอย่างไรก็ไม่มีท่าทีว่าจะหยุด จึงทำให้คนสมัยก่อนเรียกอาการนี้ว่า “เด็กเห็นผี” แต่แท้จริงแล้วภาวะโคลิคเกิดจากอาการจุกเสียดของเด็กทารก

แชร์

ภาวะโคลิก (Colic) ลูกร้องไห้ไม่หยุด เกิดจากอะไร?

โคลิก (Colic) คืออะไร?

ภาวะโคลิกในทารก คือ อาการที่ลูกน้อยร้องติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน และเกิดขึ้นมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์   ไม่ว่าจะพยายามปลอบโยนอย่างไรก็ไม่มีท่าทีที่อาการร้องไห้ของลูกน้อยจะหยุดลง ภาวะโคลิคมักจะเกิดขึ้นในเวลาเดิมของทุกวัน อย่างไม่มีสาเหตุ กินระยะเวลานานหลายชั่วโมง และมักจะเกิดขึ้นในช่วงบ่ายโมง ยาวไปจนถึงช่วงเวลาเย็น  อาการที่เกิดขึ้นโดยไม่มีที่มาที่ไปนี้ จึงทำให้คนสมัยก่อนเรียกอาการนี้ว่า “เด็กเห็นผี” สามารถสังเกตอาการของทารกได้ดังนี้

  • ร้องไห้จนใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีแดงสด หรือสีเข้มขึ้น
  • มีสีหน้าบูดบึ้ง ไม่สดใสร่าเริง
  • ขดขาขึ้นมาเหนือท้อง
  • ท้องแข็งและบวมขึ้น
  • มีอาการผายลมบ่อย
  • กำมือแน่น

สาเหตุของการเกิดภาวะโคลิก (Colic) ในทารก

การร้องไห้อย่างหนักนี้ คืออาการที่ลูกน้อยต้องการจะสื่อสารว่ากำลังเกิดอาการจุกเสียดอยู่ในท้อง ไม่เกี่ยวข้องกับการเห็นผีแต่อย่างใด ภาวะโคลิคเกิดขึ้นกับเด็กประมาณ 20% ทั่วโลก อาการจุกเสียดในทารกอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  • การกลืนอากาศขณะกินนมแม่
  • การกลืนอากาศขณะร้องไห้
  • การแพ้อาหาร เช่น แพ้โปรตีนในนม
  • ปริมาณอาหารที่ป้อนให้ทารกในแต่ละมื้อมีปริมาณมาก หรือน้อยเกินไป
  • อาการกรดไหลย้อน
  • อาการปวดศีรษะ
  • ระบบย่อยอาหารไม่มีประสิทธิภาพ
  • ปฏิกิริยาทางอารมณ์ เช่น ความหงุดหงิด ความกลัว ความตื่นเต้น

ภาวะโคลิก (Colic) เป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่?

ภาวะโคลิก ที่เกิดจากอาการจุกเสียดของลูกน้อย ทำให้เกิดการร้องไห้อย่างหนัก ไม่มีความอันตรายใด ๆ มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลาสั้น ๆ และจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว ภาวะโคลิกจะไม่มีผลกระทบต่อทารกในระยะยาว แต่อาจทำให้คนที่เป็นพ่อและแม่มือใหม่รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยล้า และเกิดความเครียดได้

ภาวะแทรกซ้อนของอาการโคลิก

อาการจุกเสียดที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่มีความอันตรายต่อทารก แต่อาจส่งผลกระทบต่อพ่อแม่มือใหม่ได้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อคนเป็นแม่ ภาวะโคลิกของลูกอาจทำให้คุณแม่เกิดความเครียดจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้

Colic Banner 2

ข้อควรระวัง ในขณะที่ลูกกำลังเกิดภาวะโคลิค

สิ่งที่ควรระวังเมื่อลูกกำลังอยู่ในภาวะโคลิก คืออารมณ์ของพ่อและแม่ หากเกิดความเครียด ใจร้อน และโกรธที่ไม่ว่าจะทำอย่างไรลูกน้อยก็ไม่หยุดร้องไห้ อาจทำให้ขาดสติ สิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด คือการเขย่าลูกเพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ การเขย่าลูกด้วยอารมณ์ที่หงุดหงิดสามารถทำให้มีผลกระทบต่อสมองของลูก อาจทำให้ถึงขั้นตาบอด หรือเสียชีวิตได้ เมื่อคุณพ่อคุณแม่กำลังเกิดอาการเหล่านี้ ควรหาคนใกล้ชิด หรือผู้ช่วยมาดูแลลูกชั่วคราว เพื่อที่จะได้พักผ่อน พักสมองและจัดการกับอารมณ์หงุดหงิด หายใจเข้าออกช้า ๆ  ให้เวลากับตัวเอง หรือควรปรึกษาแพทย์ถึงภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

ระยะเวลาของภาวะโคลิกในทารก

หากคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่กำลังเกิดความกังวลกับอาการร้องไห้อย่างหนักของลูกน้อย ควรทราบว่าอาการนี้จะเป็นแค่ช่วง 2-6 สัปดาห์หลังจากคลอด จากนั้นอาการจะค่อย ๆ เบาลงในช่วงที่ลูกน้อยมีอายุ 3-4 เดือน

เราจะรักษาภาวะโคลิกได้อย่างไร?

ภาวะโคลิคยังไม่มีวิธีการรักษาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน มีเพียงแต่วิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการจุกเสียดของทารกเพื่อให้ทารกไม่ร้องไห้ได้ด้วยวิธีดังนี้

  • ติดตามอาการของลูกน้อยหลังจากที่ให้นมลูก ในช่วงที่กำลังให้นมลูก ควรงดผลิตภัณฑ์จากนม คาเฟอีน ช็อกโกแลต ถั่ว หัวหอม กะหล่ำปี และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย หรือหากใช้ผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์และใช้นมผงเฉพาะ เพื่อลดความไวต่อโปรตีน
  • การปลอบโยนลูกน้อยด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
    • การสัมผัสของผิวหนัง (Skin-to-Skin) ระหว่างแม่กับลูก
    • การห่อตัวในผ้าให้มิดชิด
    • โยกตัวไปมาบนเก้าอี้หรือบนอ้อมแขน
    • ร้องเพลงกล่อม หรือเปิดเพลงเบา ๆ
    • ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในบริเวณรอบ ๆ
    • อาบน้ำอุ่น
    • ใช้จุกนมหลอก
    • ใช้ยาขับลมไซเมทิโคน (Simethicone) 

เมื่อไหร่ที่ควรพาทารกไปพบแพทย์

  • เมื่อมีไข้สูง (ตั้งแต่ 38.5 องศาเซลเซียส)
  • อาเจียนอย่างหนัก และมีสีเขียวหรือมีเลือดปน
  • ท้องเสีย และมีเลือดปนกับอุจจาระ

ทารกทุกคนบนโลกร้องไห้เพียงเพราะต้องการจะสื่อสารอะไรบางอย่าง แต่หากลูกน้อยร้องไห้เป็นระยะเวลานานกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน และเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิม ๆ ซ้ำกันมากกว่า 3 สัปดาห์ นั่นอาจหมายความว่าลูกน้อยของคุณกำลังเกิดภาวะโคลิก หรือมีอาการจุกเสียดท้อง หากลองพยายามบรรเทาอาการจุกเสียดด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรนัดหมายกุมารแพทย์ เพื่อปรึกษาและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. มิ่งเมือง วรวัฒนะกุล

    นพ. มิ่งเมือง วรวัฒนะกุล

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    Pediatrics Checkup, Well Child Care and Vaccination, Pediatrics Respiratory Symptom, Pediatrics Abdominal Pain, Pediatrics Vomitting , Pediatrics Diarrhea, Pediatrics Nutrition and Growth, Pediatrics Constipation, Pediatrics Bloating Gases, Pediatrics Chronic Abdominal Pain, Pediatrics Gastritis, Pediatrics Peptic Ulcer Disease, Pediatrics Chronic Diarrhea, Pediatrics Gastroesophageal Reflux Disease, Pediatrics Recurrent Vomitting, Pediatrics Severe Constipation, Pediatrics Liver Diseases, Pediatrics Intestinal Problems, Pediatrics Crohn's, Pediatrics Colitis, Celiac Disease
  • Link to doctor
    ศ.พญ. สุพร ตรีพงษ์กรุณา

    ศ.พญ. สุพร ตรีพงษ์กรุณา

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    Pediatrics Gastroenterology and Hepatology
  • Link to doctor
    พญ. ณฐรักษ์ ชัยจิตรารัชต์

    พญ. ณฐรักษ์ ชัยจิตรารัชต์

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    Pediatrics Liver Diseases, Pediatrics Liver Transplantation, Pediatrics Cell Therapy
  • Link to doctor
    รศ.นพ. เสกสิต โอสถากุล

    รศ.นพ. เสกสิต โอสถากุล

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    Pediatrics, Pediatrics Gastroenterology and Hepatology