ตรวจ CBC ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ค่าปกติ และการทดสอบ - Complete Blood Count : Normal Ranges and Test Details

ตรวจ CBC หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count)

ตรวจ CBC หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count) คือการตรวจเลือดที่วิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ของเลือด เพื่อช่วยการวินิจฉัยโรคหรืออาการ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย และภาวะโลหิตจาง เป็นต้น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ตรวจ CBC หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count)

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดคืออะไร?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count หรือ CBC) คือการตรวจเลือดที่วิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ของเลือด เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหรืออาการ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ธาลัสซีเมีย และภาวะโลหิตจาง นอกจากนี้ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดยังมีประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาอีกด้วย

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจวัดอะไรได้บ้าง?

  • ปริมาณเม็ดเลือดแดง
  • ร้อยละของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมด (ระดับฮีมาโตคริต หรือ Hematocrit)
  • ระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่ลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย
  • ปริมาณเม็ดเลือดขาว ทั้งปริมาณรวม และเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด
  • ปริมาณเกล็ดเลือด

แพทย์อาจสั่งให้ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดในกรณีที่มีอาการ เช่น รอยช้ำ อาการบวม และระคายเคืองที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ความดันโลหิตผิดปกติ มีไข้ วิงเวียนศีรษะ และอ่อนล้า

ทำไมต้องตรวจ CBC ? ประโยชน์ของการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด คืออะไร?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดถือเป็นการตรวจสุขภาพที่ควรตรวจเป็นประจำ และเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปี โดยนอกจากจะประเมินและตรวจดูองค์ประกอบของเซลล์ต่างๆในเลือดแล้ว การตรวจนี้อาจใช้สัญญาณผิดปกติที่อยู่ในเลือดเพื่อประเมินสุขภาพ รวมถึงวินิจฉัยว่าเป็นหรือไม่เป็นโรคใดได้

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจ CBC วินิจฉัยโรคอะไรบ้าง?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจ CBC วินิจฉัยโรคอะไรบ้าง?

  • ภาวะโลหิตจาง
  • การติดเชื้อที่ทำให้มีปริมาณเม็ดเลือดขาวน้อยหรือมากผิดปกติ
  • โรคเกี่ยวกับไขกระดูก
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำระดับรุนแรง (Agranulocytosis)
  • โรคมะเร็ง ชนิดต่าง ๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
  • ผลข้างเคียงจากยาหรือเคมีบำบัด

แม้การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจะมีประโยชน์หลายด้าน แต่ไม่ใช่การตรวจที่ให้ผลวินิจฉัยโรคที่ชัดเจน อาจจำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีอื่นเพื่อให้วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดอาจบอกได้ว่ามีการติดเชื้อหากมีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูง แต่ระบุไม่ได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อคืออะไร

ตรวจ CBC หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ก่อนตรวจต้องเตรียมตัวอย่างไร?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ แต่บางครั้ง แพทย์อาจสั่งให้งดน้ำงดอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนตรวจ

สิ่งที่อาจเกิดขึ้นเมื่อตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

การตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะมีการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังเพื่อเจาะเอาเลือดไปเก็บไว้ในหลอดเก็บ อาจทำให้เกิดรอยช้ำในตำแหน่งที่แทงเข็ม และอาจทำให้ปวดเป็นเวลานานหลายนาที บางคนอาจเวียนศีรษะหน้ามืดเป็นลมหลังจากที่ถูกเข็มแทงเพื่อเจาะเลือด

ผลการตรวจ CBC ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

ผลการตรวจ CBC ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด มีอะไรบ้าง?

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดได้ผลในวันเดียวกัน หากค่าที่ออกมาไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ อาจจำเป็นต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มอีก

ค่าปกติของการตรวจ CBC ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด

  • ปริมาณเม็ดเลือดแดง ที่มีค่าปกติ

    • ผู้ชาย: 4.35 - 5.65 ล้านเซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร
    • ผู้หญิง: 3.92 – 5.13 ล้านเซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร
  • ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที่มีค่าปกติ

    • ผู้ใหญ่: 5,000-10,000 เซลล์ต่อ 1 ลูกบาศก์มิลลิลิตร
  • ฮีโมโกลบิน  ที่มีค่าปกติ

    • ผู้ชาย (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป): 13.0 - 16.0 กรัมต่อ 1 เดซิลิตร
    • ผู้หญิง (อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป): 11.5 - 15.5 กรัมต่อ 1 เดซิลิตร
  • ฮีมาโตคริต ที่มีค่าปกติ

    • ผู้ชาย: 40 - 55%
    • ผู้หญิง: 36 - 48%
  • ปริมาณเกล็ดเลือด

    • ผู้ใหญ่: 150,000 - 400,000 เกล็ดต่อลูกบาศก์เดซิลิตร

สำหรับผู้ที่เข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง หากผลการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ปกติอาจบ่งชี้ว่าควรพิจารณาถึงวิธีการรักษาชนิดอื่น 

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดช่วยในการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ รวมถึงโรคและอาการต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาสุขภาพและควบคุมอาการของโรคที่เป็นอยู่ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดยังช่วยให้ตรวจเจอโรคได้แต่เนิ่น ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาได้รวดเร็ว ทันท่วงที

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 07 มี.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ชญาภา ทูคำมี

    พญ. ชญาภา ทูคำมี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    อายุรศาสตร์โรคเลือด
  • Link to doctor
    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    นพ. อุดมศักดิ์ บุญวรเศรษฐ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    • การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด
    มะเร็งทางโลหิตวิทยา, การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์
  • Link to doctor
    พญ. ภาวินี น้อยนารถ

    พญ. ภาวินี น้อยนารถ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    อายุรศาสตร์โรคเลือด, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ภัคทิพา ภัทรโกศล

    พญ. ภัคทิพา ภัทรโกศล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    อายุรศาสตร์โรคเลือด