Banner Elderly Hip Fracture Med Park Hospital.jpg

กระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ

ภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ถือเป็นภาวะเร่งด่วนในการรักษา และอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันการ

แชร์

กระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ

ในปัจจุบัน ประเทศไทยเข้ากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ  ภัยเงียบที่มาคู่กับสังผู้สูงอายุก็คือภาวะกระดูกพรุน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีกระดูกหักง่ายกว่าปกติโดยเฉพาะกระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง

ภาวะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ ถือเป็นภาวะเร่งด่วนในการรักษา และอาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันการ จากการศึกษาพบว่าอัตราการเสียชีวิตภายใน 1 ปีนั้นสูงถึง 20 - 35% เลยทีเดียว

สาเหตุที่กระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ

ส่วนใหญ่สาเหตุเกิดเพียงจากอุบัติเหตุเบา ๆ ไม่รุนแรงภายในบ้าน เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ ตกจากเตียง ทำให้บางครั้งคนรอบตัวไม่คิดว่าจะเกิดการหักของกระดูกขึ้นได้ แต่เนื่องจากคนไข้สูงอายุกลุ่มนี้มักจะมีภาวะกระดูกพรุนร่วมอยู่ด้วย ทำให้เกิดการหักของกระดูกขึ้นได้ แม้จะเป็นเพียงอุบัติเหตุเบา ๆ

อาการและการวินิจฉัยอาการกระดูกสะโพกหักในผู้ป่วยสูงอายุ

อาการที่ควรจะสงสัยและพามาพบแพทย์ ได้แก่ อาการปวดบริเวณรอบสะโพก ไม่สามารถขยับ หรือลงน้ำหนักที่ขาข้างนั้น ขาข้างที่เจ็บอาจจะดูสั้นกว่าอีกข้าง  นอกจากนี้ในรายที่เป็นกระดูกหักแบบไม่มีการเลื่อน อาการปวดจะไม่มาก และอาจลงน้ำหนักเดินได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการบาดเจ็บเป็นมากขึ้นได้ จึงควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการ X ray เพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ภาพ X-ray แสดงการหักของกระดูกสะโพกข้างขวา

แนวทางการรักษา

สำหรับการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้แนะนำรักษาโดยการผ่าตัดยึดกระดูก หรือเปลี่ยนใส่ข้อสะโพกเทียมขึ้นกับลักษณะของกระดูกที่หัก โดยงานวิจัยปัจจุบันสนับสนุนว่าการผ่าตัดภายใน 24 - 48 ชั่วโมง จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่า ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตและช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงเป็นเวลานาน  

การรักษาที่ล่าช้าจะส่งผลให้ผู้ป่วยนอนติดเตียง และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมา เช่น แผลกดทับ ติดเชื้อทางเดินหายใจ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และลิ่มเลือดอุดตันที่ขา ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต    

เป้าหมายหลักของการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ คือ ทำให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนปกติก่อนที่จะเกิดกระดูกหัก รักษาภาวะกระดูกพรุน และป้องกันการล้มซ้ำในอนาคต

บทความโดย

  • นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เฉพาะทางการผ่าตัดต่อกระดูกและเปลี่ยนข้อเทียม

เผยแพร่เมื่อ: 02 ก.ย. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    พญ. ซายน์ เมธาดิลกกุล

    พญ. ซายน์ เมธาดิลกกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroplasty, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. ชวนนท์ สุมนะเศรษฐกุล

    นพ. ชวนนท์ สุมนะเศรษฐกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
  • Link to doctor
    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    Arthroplasty, Hand and Microsurgery, Ultrasound Guided Trigger Finger Release
  • Link to doctor
    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ณัฐเดช เมฆรุ่งจรัส

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Minimally Invasive Joint Replacement