electrocardiography การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG, ECG

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)

เป็นการตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจที่รวดเร็ว ไม่เจ็บ และไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย โดยการติดแผ่นขั้วไฟฟ้าหรือเซนเซอร์ที่บริเวณหน้าอก แขน และขา

แชร์

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG) เป็นการตรวจคลื่นกระแสไฟฟ้าจากหัวใจที่รวดเร็ว ไม่เจ็บ และไม่รุกล้ำเข้าไปในร่างกาย แพทย์จะทำการติดแผ่นขั้วไฟฟ้าหรือเซนเซอร์ที่บริเวณหน้าอก แขน และขาของผู้ได้รับการตรวจขณะที่กำลังนอนราบหรือออกกําลังกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าจากตัวคุมจังหวะหัวใจตามธรรมชาติ (sinoatrial node) ดูอัตราการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ซึ่งจะแสดงผลเป็นรูปคลื่น

ใครบ้างที่ต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG)

ผู้ที่ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้แก่ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้

  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
  • ใจสั่น
  • เหนื่อย
  • วิงเวียนศีรษะ
  • อ่อนเพลีย

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบอกอะไรได้บ้าง

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจ วินิจฉัยอาการหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หรือภาวะโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะขาดเลือด หัวใจโต หรือการนําไฟฟ้าผิดปกติ และช่วยประเมินว่าผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ หากผู้ป่วยเคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจวาย ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเริ่มทานยารักษาโรคหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยบอกได้ว่าหัวใจทำงานเป็นปกติอยู่หรือไม่

อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติอาจไม่สามารถตรวจพบภาวะการเต้นหัวใจผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เช่น

  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ไว้เพื่อติดตามดูคลื่นกระแสไฟฟ้าของหัวใจเป็นเวลา 1 - 2 วัน
  • เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย (Cardiac event recorder) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผู้ป่วยต้องกดปุ่มที่เครื่องเมื่อมีอาการ

หลังทราบผลตรวจแล้ว แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วยว่ามีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • หัวใจวาย
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
  • การไหลเวียนโลหิตหัวใจไม่ดี

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจช่วยตรวจประเมินหัวใจและการเต้นของหัวใจ และช่วยในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม เป็นการตรวจที่ง่ายและมีความเสี่ยงต่ำ ผู้ป่วยบางรายอาจจะรู้สึกระคายเคืองผิวหนังจากการติดแผ่นขั้วไฟฟ้าเท่านั้น

บทความโดย

  • MedPark Hospital Logo
    นพ. วุฒิพงศ์ วุฒิพฤกษ์ อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ชำนาญการด้านการสวนหัวใจและหลอดเลือด

เผยแพร่เมื่อ: 21 ธ.ค. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ