ขั้นตอนการรักษาโดยการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope - Endoscopic Spine Surgery

ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope แผลเล็ก หายเร็ว

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope คือ วิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย (MIS) ขนาดแผลผ่าตัดเล็ก 8-10 มม. เพียง 1 แผล ผ่านการส่องกล้องเพื่อรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังและร้าวลงขา

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope คือ วิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย (MIS) ขนาดแผลผ่าตัดเล็ก 8-10 มม. เพียง 1 แผล ผ่านการส่องกล้องเพื่อรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังและร้าวลงขา ปวดสะโพก เหน็บชา แขนขาอ่อนแรง จากสาเหตุหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ หรือโรคกระดูกสันหลังเสื่อม การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope มีขนาดแผลผ่าตัดเล็กมาก ช่วยลดการเสียเลือด ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก ใช้เวลาพักฟื้นที่ รพ. สั้นเพียง 1 คืนเท่านั้น และให้ผลการรักษาอาการปวดหลังเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผล

ทำไมต้องผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope เป็นเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่พัฒนาขึ้นจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบดั้งเดิมที่เปิดแผลผ่าตัดเป็นแนวยาวกึ่งกลางหลังเพื่อเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูก (Open Laminectomy) ทำให้เสียเลือดมาก มีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ที่หายช้า มีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และกระดูกมาก ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูนาน และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ใช้การเปิดแผลผ่าตัดขนาดเล็กมากเพื่อทำการสอดกล้องขนาดเล็กพิเศษพร้อมคีมที่สามารถตัดและนำหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทหรือสิ่งกดทับออกจากตำแหน่งที่ปวดได้ ส่วนปลายกล้องติดเลนส์กำลังขยายสูงและสายใยแก้วส่องสว่าง นำทางอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับจอภาพแบบ Real-time ทำให้แพทย์มองเห็นตำแหน่งของสิ่งกดทับได้อย่างชัดเจน ช่วยให้การผ่าตัดมีความปลอดภัย แม่นยำ ลดการเสียเลือด และช่วยลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และกระดูก รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ภาพแสดงอาหารหมดรองกระดูกทับเส้นประสาท - Herniated disc

ผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope รักษาโรคอะไร

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องกล้อง Endoscope สามารถรักษาโรคดังต่อไปนี้

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังจากอายุที่มากขึ้น การใช้งานอย่างหนัก การมีน้ำหนักตัวมาก หรือจากกรรมพันธุ์ ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังที่เชื่อมระหว่างข้อต่อกระดูกเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งและปลิ้นทับเส้นประสาทหรือกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดแขน ปวดคอ ปวดสะโพกร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง มีอาการเหน็บชา ปวดหลังขณะก้มยกของ หรือยืนตัวตรง หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทเรื้อรังอาจทำให้มีอาการแขนขาชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีปัญหาในการขับถ่าย
  • โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis) เกิดจากการตีบแคบของโพรงกระกระดูกสันหลัง ลักษณะเป็นโพรงทอดตัวยาวตามแนวกระดูกสันหลังและรวมถึงหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อที่เกิดการเสื่อมสภาพจากการใช้งานหนัก อายุที่มากขึ้น หรือจากโรคกระดูกสันหลังคด การเสื่อมสภาพทำให้อวัยวะเหล่านี้ขยายใหญ่ขึ้นและไปกดเบียด หรือกดทับไขสันหลังและเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดหลังอย่างมากขณะยืน เดิน หรือแอ่นหลังมาก ๆ และอาจมีอาการปวดหน่วง เหน็บชา กล้ามเนื้อแขน ขา และเท้าอ่อนแรง โดยมากพบได้ในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc) เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลังหรือข้อต่อจากอายุที่มากขึ้น การใช้งานอย่างหนัก การยกของหนัก อุบัติเหตุ หรือกรรมพันธุ์ โดยพบได้ในผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการปวดหลังรุนแรง มีอาการหลังตึงหรือหลังแข็ง ปวดหลังลงสะโพกและร้าวลงขา มีอาการเหน็บชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปวดหลังอย่างมากเมื่อนั่งนาน ๆ ยืนนาน ๆ หรือเดินนาน ๆ

ข้อบ่งชี้ การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

ข้อบ่งชี้ การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  • ปวดหลังอย่างมาก ปวดหลังรุนแรง ปวดหลังเรื้อรังไม่หาย
  • ปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะบักและร้าวไปที่คอ หัวไหล่ หรือแขน
  • ปวดหลังลงสะโพกและร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
  • มีอาการหลังแข็ง หลังตึง คอเอียง ขยับตัวลำบาก
  • รู้สึกแสบร้อน คันยุบยิบ ปวดแปล๊บเหมือนมีหนามทิ่มตำ
  • ระยะการเคลื่อนไหวลดลง เดินลำบาก ทรงตัวไม่ได้ คล้ายจะหกล้ม
  • ปวดหลังขณะยืนตัวตรง หรือยืนนาน ๆ นั่ง นาน ๆ หรือเดินนาน ๆ
  • กระดิกนิ้วเท้าไม่ได้ กระดกข้อเท้าไม่ขึ้น ยืดเหยียดเท้าไม่ได้
  • มีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง แขน ขา มือและเท้าอ่อนแรง
  •  มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่าย อุจจาระหรือปัสสาวะลำบาก
  • รักษาด้วยการทานยา หรือทำกายภาพบำบัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น
  • ปวดหลังโอดโอยทุกวันจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

การวินิจฉัยก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope - the diagnosis before having endoscopic spine surgery

การวินิจฉัยก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

แพทย์จะทำการวินิจฉัยก่อนการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันผ่านกล้อง Endoscope โดยการซักประวัติ เกี่ยวกับอาการปวดหลัง เช่น ปวดตรงไหน ปวดอย่างไร ระยะเวลาที่ปวด มีอาการชาหรือมีอวัยวะอ่อนแรงหรือไม่ มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายหรือไม่ น้ำหนักลดและ/หรือมีไข้ร่วม รวมทั้งเคยเป็นมะเร็งหรือไม่ และทำการตรวจร่างกาย รวมทั้งตรวจทางรังสีวิทยาภาพถ่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้

  • การทำ CT-scan (Computed tomography scan) เป็นการตรวจโครงสร้างของกระดูกสันหลังทั้งหมด ทั้งหมอนรองกระดูกสันหลัง ข้อต่อ กล้ามเนื้อยึดเกาะกระดูกสันหลัง ตรวจขนาด รูปร่าง โพรงกระดูกสันหลังเพื่อหาความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท ถุงน้ำข้อต่อทับเส้นประสาท รวมทั้งอาการบาดเจ็บภายใน เช่น กระดูกหัก กระดูกแตก กระดูกผิดรูป รวมทั้งการติดเชื้อ
  • การทำ CT myelogram (CT myelogram) เป็นการตรวจทางรังสีวินิจฉัยของระบบประสาทไขสันหลังภายในช่องไขสันหลัง โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในช่องน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจดูพยาธิสภาพภายในหรือนอกช่องไขสันหลัง หากมีหมอนรองกระดูกเคลื่อนหลุดออกจากตำแหน่ง จะสามารถมองเห็นเงาแหว่ง (Filling defect) ในภาพตัดขวางของผลการตรวจได้อย่างชัดเจน
  • การทำ MRI (Magnetic resonance imaging) เป็นการตรวจโครงสร้างของกระดูกสันหลังและไขสันหลังแบบ 3 มิติเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความละเอียดคมชัดโดยรวมถึงข้อต่อกระดูกสันหลัง โพรงประสาทสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง เส้นประสาทไขสันหลัง เพื่อหาความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ หรือถุงน้ำจากข้อต่อกระดูกทับเส้นประสาท

หลักการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  1. เพื่อแก้ไขการกดทับ (Decompression) โดยการเร่งระบายสิ่งกดทับระบบประสาทไขสันหลัง หรือเส้นประสาทไขสันหลังออกโดยเร็วที่สุด เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
  2. ทำให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคง (Surgical stabilization) คือการสร้างความแข็งแรง มั่นคงให้โครงสร้างกระดูกสันหลัง เช่น หากมีกระดูกสันหลังส่วนเอวหลวมหรือเคลื่อนที่ แพทย์จะทำการเชื่อมกระดูกสันหลังหรือข้อต่อเข้าด้วยกันด้วยโลหะดามกระดูกและสกรูเพื่อให้กระดูกสันหลังมีความแข็งแรง มั่นคง ไม่หลุดหลวมหรือขยับไปมา
  3. เพื่อแก้ไขภาวะผิดรูปของกระดูกสันหลัง (Deformity correction) คือ การแก้ไขโครงสร้างกระดูกผิดรูป เช่น การแก้ไขการคดงอของกระดูกคอ หรือแก้ไขกระดูกสันหลังคดที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง และลำตัวเอียงเสียสมดุล 

ขั้นตอนการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

ขั้นตอนการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

การผ่าตัดกระดูกสันผ่านกล้อง Endoscope รพ. เมดพาร์คใช้มาตรฐานสากล (Gold standard) ในการผ่าตัดโดยคำนึงความปลอดภัยของผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ พร้อมทั้งลดอาการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อยให้ที่สุด และช่วยให้กลับไปชีวิตได้เร็วที่สุด โดยศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง endoscope เพื่อคีบหมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพหรือสิ่งกดทับเส้นประสาทออกและเร่งขจัดแรงกดทับและลดอาการปวดหลัง พร้อมทั้งปรับสมดุลโครงสร้างกระดูกสันหลังและข้อต่อให้มีความแข็งแรง มั่นคง ไม่หลุดหลวม

ขั้นตอนก่อนการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  • ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์ แพทย์จะขอให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดงดยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ยา Aspirin ยา Ibuprofen ยา Naproxen ยา Plavix และยาสมุนไพรทุกชนิด ผู้ที่ทานยา Warfarin เข้าแอดมิดที่ รพ. ล่วงหน้า 3-4 วัน เพื่อให้ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดชนิดที่ออกฤทธิ์สั้นชนิดอื่นแทน
  • งดการสูบบุหรี่ก่อนและหลังการการผ่าตัด เนื่องจากบุหรี่อาจทำให้กระดูกเชื่อมติดกันช้าลง ลดความหนาแน่นของมวลกระดูก และเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหลังการผ่าตัด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก่อนการผ่าตัด เพื่อลดและควบคุมน้ำหนักตัว และช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

ขั้นตอนระหว่างการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  • ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์จะทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope โดยเปิดแผลผ่าตัดขนาด 8-10 มม. 1 แผล (Single portal) เพื่อสอดกล้อง endoscope กำลังขยายสูงขนาดเล็ก 7.9 มม. เข้าทางทางด้านหลัง (Intralaminar approach) หรือทางด้านข้าง (Extraforaminal approach) ของกระดูกสันหลัง โดยใช้ระบบสารน้ำหล่อเลี้ยงช่วยในการผ่าตัด กล้อง Endoscope จะเชื่อมเข้ากับจอภาพด้านนอกเพื่อช่วยให้ศัลยแพทย์มองเห็นภาพภายในได้อย่างชัดเจนและสามารถคีบหมอนรองกระดูกสันหลัง เนื้อเยื่อ หรือกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกไป โดยการผ่าตัดจะใช้ระยะเวลา 1-2 ชั่วโมง โดยประมาณ

ขั้นตอนหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  • แพทย์จะให้ยาแก้ปวดเพื่อระงับความปวด โดยอาการต่าง ๆ รวมถึงอาการชาจะค่อย ๆ หายไป
  • ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถลุกขึ้นนั่ง ยืน เดิน และทำกิจกรรมที่ไม่หนักได้ทันทีหลังการผ่าตัด 1-2 ชม. 
  • นักกายภาพบำบัดจะช่วยทำกายภาพเพื่อช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูร่างกาย และสอนการเคลื่อนไหวร่างกายให้ปลอดภัย
  • แพทย์จะให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดพักฟื้นที่ รพ. 1 คืน เพื่อสังเกตอาการและประเมินผลหลังการรักษา หากไม่มีความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อน ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  • ผู้เข้ารับการผ่าตัดใส่เสื้อพยุงหลัง (L-S support) เพื่อจำกัดการทำกิจกรรม และช่วยให้เนื้อเยื่อสมานตัวได้เร็ว
  • งดการยกของหนัก ก้มตัว หรือบิดหมุนตัว 1 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
  • แพทย์จะทำนัดเพื่อตัดไหม 2 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด
  • อาการเจ็บปวดต่าง ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ 
  • สามารถกลับไปทำงานและทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติได้ภายใน 1-4  สัปดาห์

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope พักฟื้นกี่วัน - the recovery time for endoscopic spine surgery

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope พักฟื้นกี่วัน

โดยทั่วไป ผู้เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์ จึงสามารถกลับไปทำงานและออกกำลังกายได้ตามปกติ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงร่างกายของแต่ละบุคคล

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การมีเลือดออกหลังการผ่าตัด ถุงหุ้มเส้นประสาทฉีกขาด หรือการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบในอัตราส่วนที่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับอาการปวดหลังที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope มีอัตราความสำเร็จแค่ไหน

จากผลการสำรวจผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ที่ผ่าตัดไปแล้ว 2 ปี พบว่าร้อยละ 95 รู้สึกพึงพอใจในผลการรักษาเป็นอย่างดี อาการปวดหลัง สะโพก และขาลดลงเป็นอย่างมาก รวมถึงสามารถยืนเหยียดตัวตรงได้ ก้าวขาเดินได้กว้างขึ้น ขึ้น-ลงรถหรือบันไดได้ดีขึ้น รวมถึงสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น

ข้อดีของการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope - the benefit of endoscopic spine surgery

ข้อดีของการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope

  • เทคนิคแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว (MIS): การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบแผลเล็กเข้าทางด้านหลัง หรือทางด้านข้างเพียง 1 แผลเท่านั้น โดยมีขนาดแผลผ่าตัดที่เล็กมากเพียง 8-10 มม. ทำให้เจ็บน้อย พักฟื้นสั้น และฟื้นตัวเร็ว
  • แม่นยำ (Precise): การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope ใช้อุปกรณ์ที่ติดกล้องพร้อมเลนส์ (Lens optic under fluid) ที่มีความละเอียดคมชัดสูงระดับ HD ช่วยให้เห็นตำแหน่งหมอนรองกระดูกหรือสิ่งกดทับเส้นประสาทได้อย่างชัดเจน ช่วยให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำและตรงจุดถึงร้อยละ 99
  • ปลอดภัย (Safe): การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope มีขนาดแผลเล็กมาก น้อยกว่า 1 ซม. ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดและหมอนรองกระดูกได้เป็นอย่างดี ทั้งยังลดการเสียเลือด ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อโดยรอบ และกระดูกลงได้มาก
  • ระยะเวลาพักฟื้นสั้น (Short recovery time): ผู้ที่ทำการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope จะใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการที่ รพ. สั้นเพียง 1 คืนเท่านั้น และสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป โดยจะใช้เวลาพักฟื้นต่อที่บ้านเพียง 1-4 สัปดาห์เท่านั้น ต่างจากการผ่าตัดแบบดั้งเดิมที่มีแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนานกว่า 1 ปี
  • ประหยัดค่ารักษาพยาบาล (Cost effectiveness): การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope เป็นการผ่าตัดที่นอน รพ. เพียง 1 คืน เท่านั้น เพื่อให้แพทย์สังเกตอาการ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ผู้เข้ารับการผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในการนอน รพ. ลงได้เป็นอย่างมาก 

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope รพ. เมดพาร์ค - Endoscopic Spine Surgery at MedPark Hospital

การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดรักษาหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบทับเส้นประสาท ถุงน้ำจากข้อต่อทับเส้นประสาท และโรคกระดูกสันหลังคดที่มีความยากซับซ้อนด้วยวิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope แบบแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวไว โดยการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ระบบ AI ที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ ลดการเสียเลือด ลดอาการบาดเจ็บ และลดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงใช้ระยะเวลาพักฟื้นสั้น ช่วยแก้ไขการกดทับของระบบประสาทไขสันหลังได้อย่างตรงจุด 

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและภาพบำบัด รพ. เมดพาร์ค นำโดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้เข้ารับการผ่าตัดร่วมกันแบบบูรณาการ ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมเฉพาะบุคคลเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อได้เร็ว พร้อมทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อให้กับผู้เข้ารับการผ่าตัดได้หายจากอาการปวดหลัง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติเป็นอย่างดี

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 25 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    • ศัลยกรรมประสาท
    • ศัลยกรรมไขสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง