ส่องกล้องตรวจท่อน้ำดี และตับอ่อน (ERCP) ขั้นตอน ข้อดี อาการบ่งชี้ - ERCP: Procedure, Benefits, Indications symptoms

ERCP ส่องกล้องท่อน้ำดี และตับอ่อน ขั้นตอน ข้อดี อาการบ่งชี้

ERCP ส่องกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อน คือ การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้องผ่านทางปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาการ ลำไส้เล็กส่วนต้น จนถึงรูเปิดร่วมของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ERCP ส่องกล้องท่อน้ำดี และตับอ่อน

ERCP ส่องกล้องท่อน้ำดีและตับอ่อน  คือ การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อนโดยการส่องกล้องผ่านทางปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาการ ลำไส้เล็กส่วนต้น จนถึงรูเปิดร่วมของท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน และฉีดสารทึบรังสี ถ่ายภาพเอกเรย์ขึ้นจอ เพื่อตรวจหาโรคหรือความผิดปกติของทางเดินน้ำดีและตับอ่อน เช่น นิ่วในท่อน้ำดี นิ่วในท่อตับอ่อน ท่อน้ำดีรั่วหรือท่อตับอ่อนรั่ว รวมถึงเนื้องอกหรือมะเร็งในท่อทางเดินน้ำดีหรือตับอ่อน สาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรงตรงลิ้นปี่ ดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง คลื่นไส้ และอาเจียน ERCP ส่องกล้องท่อน้ำดี และตับอ่อน ช่วยกำจัดนิ่วในท่อน้ำดีออกได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่าตัด สามารถรักษาโรคดีซ่านให้หายขาดได้ และช่วยตรวจหาเนื้องอก พังผืด หรือมะเร็งตับอ่อนได้อย่างรวดเร็ว นำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทันท่วงที

นิ่วในท่อน้ำดีและท่อตับอ่อน มีสาเหตุจากอะไร

อาการบ่งชี้ที่ควรตรวจ ERCP

  • ปวดท้องด้านขวาบน ใต้ชายโครงขวา และ/หรือร้าวไปด้านหลัง
  •  จุกแน่นตรงลิ่นปี่ ปวดเสียดท้อง
  • ดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ปัสสาวะสีชา ปัสสาวะสีเข้ม
  • อุจจาระสีขาว อุจจาระสีซีด

โรคที่ตรวจ วินิจฉัย และ/หรือรักษาได้ด้วยวิธี ERCP

  • โรคในระบบทางเดินน้ำดี
    • นิ่วในท่อน้ำดี 
    • ท่อน้ำดีตีบตัน
    • พังผืดท่อน้ำดี 
    • ท่อน้ำดีรั่ว 
    • ท่อน้ำดีอักเสบ 
    • ติดเชื้อในท่อน้ำดี
    • ท่อน้ำดีอุดตัน
    • หูรูดท่อน้ำดีผิดปกติ 
    • เนื้องอกท่อน้ำดี 
    • มะเร็งท่อน้ำดี 
    • ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ
  • โรคในตับอ่อน
    • นิ่วในท่อตับอ่อน
    • ท่อตับอ่อนตีบแคบ
    • ตับอ่อนอักเสบ
    • ซีสต์หรือเนื้องอกที่ตับอ่อน
    • มะเร็งตับอ่อน

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจท่อน้ำดี และตับอ่อน ERCP

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจท่อน้ำดี และตับอ่อน ERCP

การส่องกล้องตรวจท่อน้ำดี และตับอ่อน ERCP รพ. เมดพาร์ค ยึดมาตรฐานสากล (Gold standard) ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลสำเร็จในการรักษาเป็นสำคัญ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะพักฟื้นที่ รพ. หลังการตรวจอย่างน้อย 24 ชม. เพื่อให้แน่ใจว่าปราศจากภาวะแทรกซ้อน และจะสามารถกลับบ้านได้ในวันถัด เมื่อมีผลการตรวจร่างกายเป็นปกติ

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ ERCP

  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา อาหารทะเล สารทึบรังสี ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าเพื่อให้แพทย์ปรับเปลี่ยนเป็นสารทึบรังสีชนิดพิเศษ
  • งดการทานยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin หรือ Plavix อย่างน้อย 7 วัน
  • งดอาหาร งดบุหรี่ และเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 6-8 ชม. แต่สามารถจิบน้ำเป็นระยะได้
  • ผู้ที่สวมฟันปลอมทั้งปากหรือบางส่วน รวมถึงรีเทนเนอร์จัดฟันชนิดถอดได้ ให้ถอดออกก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ในวันตรวจ ให้ผู้เข้ารับการตรวจพาญาติสายตรงที่สามารถเซ็นใบยินยอมให้แพทย์ทำการรักษาต่อได้ในกรณีที่มีความจำเป็น หรือตรวจพบความผิดปกติ

ขั้นตอนระหว่างการตรวจ ERCP

  • วิสัญญีแพทย์จะพิจารณาให้ยาชาเฉพาะที่ ยาพ่นคอ หรือยาระงับความรู้สึก ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลและดุลยพินิจของแพทย์
  • แพทย์ และพยาบาลจะสวมยางกันฟันให้ผู้รับการตรวจ และจัดท่านอนตะแคงข้าง
  • แพทย์จะสอดกล้อง Endoscope ที่สามารถโค้งงอได้ ส่วนปลายติดเลนส์กำลังขยายสูงและใยแก้วนำแสงผ่านเข้าทางปาก ลงสู่หลอดอาหาร กระเพาะอาการ และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงรูเปิดร่วมของท่อน้ำดีและตับอ่อน
  • แพทย์จะทำการสอดสายเข้าไปในรูเปิดเพื่อฉีดสารทึบรังสี และถ่ายภาพเอกเรย์ขึ้นจอภาพ ในหลาย ๆ มุม เพื่อตรวจหาโรค หรือความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน รวมถึงบริเวณที่มีการตีบแคบหรืออุดตัน
  • หากแพทย์ตรวจพบรูเปิดทางเดินท่อน้ำดีตีบแคบ หรือทางเดินน้ำดีเคลื่อนไหวผิดปกติ แพทย์จะตัดขยายรูเปิดทางเดินน้ำดีออกให้กว้าง และใส่ท่อระบายน้ำดีคาไว้ให้น้ำดีระบายออกสู่ลำไส้เล็ก เพื่อลดอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง
  • หากแพทย์ตรวจพบนิ่วในทางเดินน้ำดี แพทย์จะกำจัดนิ่วออกโดยการใช้ลวดชนิดพิเศษ สวนเข้าไปที่ส่วนปลายของกล้อง Endoscope เพื่อไปเกี่ยว หรือคล้องเอานิ่วออกจากท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน โดยอาศัยกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ นิ่วจะตกลงสู่ลำไส้เล็กและจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านการขับถ่ายออกทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • อีกวิธีหนึ่ง แพทย์จะกำจัดนิ่วออกโดยการใช้บอลลูนดันนิ่วในทางเดินน้ำดีขึ้นมา โดยการแทงส่วนปลายของกล้อง Endoscope ให้ทะลุอีกด้านหนึ่งของก้อนนิ่ว จากนั้นจึงขยายส่วนปลายของกล้องให้กางออกเป็นบอลลูน และค่อย ๆ ถอยกล้องออก เพื่อดันนิ่วที่ติดอยู่กับบอลลูนให้เคลื่อนออกมาจากท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อน ให้ตกลงสู่ลำไส้เล็กและถูกขับถ่ายออกไป
  • ในกรณีที่การรักษามีความซับซ้อน เช่น นิ่วตกลงไปในถุงน้ำดี มีนิ่วเป็นจำนวนมาก พบพังผืด หรือชื้นเนื้อต้องสงสัย แพทย์จะพิจารณารักษาต่อทันทีด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องนิ่วในถุงน้ำดี (Laparoscopic cholecystectomy: LC) หรือการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
  • เมื่อการส่องกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อนเสร็จสิ้น แพทย์จะค่อย ๆ ดึงกล้องกลับออกมา ถอดยางกันฟันออก จัดท่าให้ผู้รับการตรวจนอนหงาย ทำการอบอุ่นร่างกาย ตรวจประเมินอาการและตรวจสัญญาณชีพเป็นระยะ โดยการตรวจการตรวจรักษานี้จะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม.

ขั้นตอนหลังการตรวจ ERCP

  • แพทย์จะให้ผู้เข้ารับการตรวจพักฟื้นที่ รพ. 24 ชม. เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อในท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับอ่อนที่อาจทำให้เกิดทางเดินน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน หรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน
  • แพทย์จะให้ผู้รับการตรวจงดน้ำและอาหารต่ออีกอย่างน้อย 6-8 ชม. หลังการตรวจ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการผิดปกติใด ๆ เช่น ปวดท้อง จุกเสียดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน หรือมีไข้สูง แพทย์จะให้จิบน้ำ ทานอาหารอ่อน และอนุญาตให้กลับบ้านได้
  • แพทย์จะนัดหมายวันและเวลาเพื่อเข้ามาติดตามอาการหลังการตรวจ

ผลข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อนของการตรวจ ERCP

ผลข้างเคียงทั่วไปจากการส่องกล้องตรวจท่อน้ำดี และตับอ่อน ERCP เช่น เจ็บคอเล็กน้อย หรือท้องอืดที่เกิดจากแรงดันลมในการขยายบอลลูน โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวและค่อย ๆ หายไป ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลับ (Acute pancreatitis) พบได้ร้อยละ 3-5 โดยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนภายใน 24 ชม. หลังการส่องกล้อง ซึ่งเกิดจากการมีนิ่วอุดตันในท่อน้ำดีหรือท่อตับอ่อนเป็นเวลานาน โดยแพทย์จะให้การรักษาอย่างต่อเนื่องและตรวจอาการเป็นระยะ โดยอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ หายดีภายใน 2-3 วัน
  • การติดเชื้อ (Infections) พบได้ร้อยละ 5-10 โดยจะมีอาการปวดท้อง และมีไข้ ซึ่งมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการระบายน้ำดีออกจากท่อทางเดินน้ำดีหรือท่อตับ โดยแพทย์จะรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะและเฝ้าระวังอาการจนกว่าจะหายดีเป็นปกติ
  • เลือดออก (Bleeding) พบได้ร้อยละ 2.5-5 โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ต้องงดการทานยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดลงชั่วคราวก่อนทำการตรวจ ซึ่งอาการเลือดออกอาจเกิดจากการตัดขยายกล้ามเนื้อหูรูดทางเดินน้ำดีเพื่อนำนิ่วออก หรือเกิดจากแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น และมักเกิดภายใน 24 ชม. หลังการส่องกล้อง โดยอาการต่างจะค่อย ๆ หายเป็นปกติ เมื่อแพทย์อนุญาตให้ผู้เข้ารับการตรวจ ทานยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดได้ตามเดิม

ข้อดีของการตรวจ ERCP

  • เป็นทั้งการตรวจวินิจฉัยและรักษาในเวลาเดียวกัน ช่วยประหยัดเวลา ประหยัดค่ารักษาพยาบาล
  • มีความปลอดภัยสูง มีความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนต่ำ และมีอัตราความสำเร็จสูงถึงร้อยละ 95
  • ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลผ่าตัด (*ยกเว้นในกรณีที่แพทย์รักษาต่อด้วยการผ่าตัด)
  • รุกล้ำน้อย เจ็บน้อย ไม่เสียเลือดหรือเสียเลือดน้อย
  • เนื้อเยื่อเสียหายน้อย อวัยวะภายในบอบช้ำน้อย
  • ใช้เวลาในการทำหัตถการสั้นเพียง 1-2 ชม. เท่านั้น
  • พักฟื้นสั้น นอน รพ. อย่างน้อย 24 ชม. (ปกติ 1-3 วัน)
  • ฟื้นตัวเร็ว กลับไปทำงานและใช้ชีวิตได้เร็ว
  • ปลอดภัยสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับการผ่าตัด
  • ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้รับการตรวจให้ดีขึ้น
  • ช่วยให้ตรวจพบเนื้องอก พังผืด หรือมะเร็งระยะแรกเริ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การรักษาได้ทันที

ERCP ส่องกล้องท่อน้ำดี และตับอ่อน รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ รพ. เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมอายุรแพทย์และศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับที่มีประสบการณ์ระดับแนวหน้า มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อนที่มีความยากและซับซ้อนโดยการส่องกล้องและการผ่าตัดแบบ MIS แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ด้วยห้องผ่าตัดมาตรฐานสากล โดยการใช้เทคโนโลยีการแพทย์และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ผสานเทคนิคทางการแพทย์ขั้นสูงที่มีความปลอดภัย รวดเร็ว และแม่นยำ ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งให้การดูแลติดตามผลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้ารับการรักษาปราศจากภาวะแทรกซ้อน สามารถฟื้นตัวได้ไว ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 เม.ย. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ภาฤทธิ์ เมฆอรุณกมล

    ผศ.นพ. ภาฤทธิ์ เมฆอรุณกมล

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    การส่องกล้องตัดก้อนเนื้อในทางเดินอาหารถึงชั้นใต้เยื่อบุและชั้นกล้ามเนื้อ, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, การตัดเนื้อเยื่อในลำไส้โดยการส่องกล้อง, ส่องกล้องลำไส้เล็ก, การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง, ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์พร  แจ้งศิริกุล

    พญ. สุรีย์พร แจ้งศิริกุล

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, โรคกรดไหลย้อน, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, การฝึกเบ่งขับถ่าย, ภาวะหลอดอาหารเคลื่อนไหวหรือบีบตัวผิดปกติ, ตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร, ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร, การวัดเวลาการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร, ตรวจการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่, ตรวจการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร
  • Link to doctor
    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    นพ. จรินทร์ โรจน์บวรวิทยา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ภาวะตรวจการทำงานของตับผิดปกติ, ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคกรดไหลย้อน, ภาวะกลืนลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สว่างพงษ์ จันดี

    รศ.นพ. สว่างพงษ์ จันดี

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    ศ.นพ. รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร

    ศ.นพ. รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ใส่ขดลวดในหลอดอาหาร, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทางเดินอาหารส่วนบน, โรคระบบทางเดินอาหารที่ซับซ้อน, การใส่สายระบายน้ำดี, การตัดเนื้อเยื่อในลำไส้โดยการส่องกล้อง, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์

    พญ. เพ็ญประไพ หงษ์ศรีสุวรรณ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, โรคกรดไหลย้อน, โรคลำไส้แปรปรวน, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, โรคริดสีดวงทวาร, โรคไวรัสตับอักเสบ, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, ภาวะตับแข็ง, โรคไขมันพอกตับ
  • Link to doctor
    รศ.นพ.ม.ล. ทยา กิติยากร

    รศ.นพ.ม.ล. ทยา กิติยากร

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคลำไส้อักเสบ, โรคลำไส้แปรปรวน, ส่องกล้องตรวจอัลตราซาวด์ในลำไส้, โรคท้องร่วง, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, โรคท้องผูกเรื้อรัง, ภาวะตรวจการทำงานของตับผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ.  ปณิดา  ปิยะจตุรวัฒน์

    พญ. ปณิดา ปิยะจตุรวัฒน์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคท้องผูกเรื้อรัง, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, โรคลำไส้อักเสบ, โรคลำไส้แปรปรวน, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ส่องกล้องตรวจอัลตราซาวด์ในลำไส้, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, โรคไวรัสตับอักเสบ, ภาวะไขมันเกาะตับ, ส่องกล้องลำไส้เล็ก, ตรวจไขมันพอกตับด้วยไฟโบรสแกน
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    รศ.นพ. สถาพร มานัสสถิตย์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, การติดเชื้อทางเดินอาหาร, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคท้องผูกเรื้อรัง, โรคท้องร่วงเรื้อรังและเฉียบพลัน, โรคท้องร่วง, โรคไวรัสตับอักเสบ, ภาวะลําไส้ดูดซึมผิดปกติ, เนื้องอกและก้อนเนื้อในตับ, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, โรคริดสีดวงทวาร, โรคลำไส้อักเสบ, โรคลำไส้แปรปรวน, ภาวะกลืนลำบาก ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน
  • Link to doctor
    นพ. สันติ  กุลพัชรพงศ์

    นพ. สันติ กุลพัชรพงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    ส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่, โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ภาวะค่าตับที่ผิดปกติ, ภาวะไขมันเกาะตับ, โรคตับอักเสบจากแอลกอฮอล์, โรคไวรัสตับอักเสบ, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร, ปวดท้องเรื้อรังและเฉียบพลัน, ตรวจไขมันพอกตับด้วยไฟโบรสแกน, รักษาก้อนและซีสต์และมะเร็งในตับ, โรคกรดไหลย้อน, ภาวะตับวาย, ภาวะตับแข็ง
  • Link to doctor
    ศ.นพ.  สิน  อนุราษฎร์

    ศ.นพ. สิน อนุราษฎร์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.พญ. รภัส พิทยานนท์

    รศ.พญ. รภัส พิทยานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    การส่องกล้องตัดก้อนเนื้อในทางเดินอาหารถึงชั้นใต้เยื่อบุและชั้นกล้ามเนื้อ, การตัดเนื้อเยื่อในลำไส้โดยการส่องกล้อง, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารขั้นสูง, ส่องกล้องลำไส้เล็ก, การใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง, ส่องกล้องผ่าตัดขยายหลอดอาหาร
  • Link to doctor
    พญ. วราภรณ์ ปัญจวงศ์

    พญ. วราภรณ์ ปัญจวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ส่องกล้องตรวจอัลตราซาวด์ในลำไส้, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, โรคกรดไหลย้อน
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    ผศ.นพ. สยาม ศิรินธรปัญญา

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ธนินี ประสพโภคากร

    พญ. ธนินี ประสพโภคากร

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคตับและโรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ยืนยง เจียงวิริชัยกูร

    นพ. ยืนยง เจียงวิริชัยกูร

    • อายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
    โรคระบบทางเดินอาหารทั่วไป, ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, ส่องกล้องรักษาระบบท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน, โรคตับโต, โรคดีซ่าน, ภาวะตับแข็ง