การป้องกันข้อไหล่ติด - Frozen shoulder prevention

การป้องกันข้อไหล่ติด

วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการเกิดแขนบวม ทำได้โดยขณะที่ผู้ป่วยนอนพักอยู่ที่ห้องพักฟื้นหรือในหอผู้ป่วย จะต้องให้ผู้ป่วยนอนพักในท่าที่เหมาะสม

แชร์

การป้องกันข้อไหล่ติด

การป้องกันข้อไหล่ติด วันรุ่งขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัดและดมยาสลบ สามารถลุกขึ้นนั่งได้ และผู้ป่วยจะสามารถเริ่มใช้แขนข้างนั้นปฏิบัติภารกิจประจำวันตามปกติได้ เช่น แปรงฟัน หวีผม ตักอาหารเข้าปาก และ กลัดกระดุมเสื้อเป็นต้น หลังจากนั้นอีก 5 - 7 วัน ผู้ป่วยควรเริ่มออกกายบริหารโดยเริ่มทำช้าๆก่อนแล้วจึงค่อยๆ ทำบ่อยขึ้นและแรงขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถใช้แขนข้างนั้นได้เหมือนก่อนผ่าตัด หลังจากกลับบ้านแล้วผู้ป่วยควรต้องออกกายบริหารอยู่เรื่อยๆ มิฉะนั้นไหล่จะติดได้เช่นกัน แม้ในระยะแรกจะไม่มีไหล่ติดเลยก็ตาม

การเกิดแขนบวมเกิดจากทางเดินของน้ำเหลืองที่บริเวณรักแร้ถูกทำลายไปโดยการผ่าตัดหรือฉายแสง ทำให้น้ำเหลืองจากแขนไหลกลับสู่หัวใจได้ไม่สะดวกเหมือนเดิมจึงมีน้ำเหลืองคั่งอยู่บริเวณแขนข้างนั้น แขนจึงบวมขึ้นเรื่อยๆ ถ้าบวมมากจะดูน่าเกลียด และในบางครั้งอาจเจ็บปวด และติดเชื้อได้ง่าย หากแขนบวมมากๆ จะไม่มีวิธีการรักษาให้หายได้เด็ดขาดแต่สามารถทำให้แขนที่บวมยุบลงได้บ้าง โดยงดใช้แขนทำงานชั่วคราว ยกแขนสูงและนวด วิธีที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการเกิดแขนบวม ทำได้โดยขณะที่ผู้ป่วยนอนพักอยู่ที่ห้องพักฟื้นหรือในหอผู้ป่วย จะต้องให้ผู้ป่วยนอนพักในท่าที่เหมาะสม คือ ให้ต้นแขนของผู้ป่วยกางทำมุม 90 องศากับลำตัวหนุนให้ข้อศอกอยู่สูงกว่า หรืออยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ และงอปลายแขนให้ตั้งฉากกับต้นแขน โดยให้ปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะหรือทางปลายเท้าของผู้ป่วยก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ต้องหนุนปลายแขนและมือให้อยู่ในระดับสูงกว่าข้อศอกเล็กน้อย เพื่อทำให้น้ำเหลืองไหลกลับเข้าสู่หัวใจสะดวกขึ้น

เผยแพร่เมื่อ: 16 ก.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สุขุม งามกิติเดชากุล

    นพ. สุขุม งามกิติเดชากุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สุนิคม ศุภอักษร

    นพ. สุนิคม ศุภอักษร

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament), ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ ข้อเข่า และข้อสะโพก, Shoulder Problems (Pain, Stiffness, Dislocation, Rotator Cuff Tear, Arthritis)
  • Link to doctor
    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Trauma Surgery