ตึงขาหนีบ สาเหตุ รักษาอาการปวดขาหนีบ - Causes and treatment for Groin Strains

ปวดขาหนีบ (Groin Strains)

อาการปวดขาหนีบ เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อขาหนีบ พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นนักกีฬา อาการปวดขาหนีบจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบยืดตัวมากเกินไปจนเกิดการฉีกขาด สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบ แพทย์จะตรวจร่างกายหรือใช้วิธีต่าง ๆ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


อาการปวดขาหนีบ ตึงขาหนีบ

อาการปวดขาหนีบ ตึงขาหนีบ (Groin Strains) เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อขาหนีบ พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นนักกีฬา อาการปวดขาหนีบจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบยืดตัวมากเกินไปจนเกิดการฉีกขาด สำหรับการตรวจวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบ แพทย์จะตรวจร่างกายหรือใช้วิธีต่าง ๆ เช่น การทำอัลตราซาวด์ เอกซเรย์ หรือ MRI

ปวดขาหนีบ คืออะไร?

อาการปวดขาหนีบ หรือ ตึงขาหนีบ เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อขาหนีบ พบได้บ่อยในนักกีฬา อาการปวดขาหนีบจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบยืดมากเกินไปจนเกิดการฉีกขาด กล้ามเนื้อขาหนีบประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กล้ามเนื้อท้องน้อย (Lower Abdominal Muscles)
  • กล้ามเนื้องอสะโพก (Iliopsoas muscles)
  • กล้ามเนื้อที่ใช้กางและหุบขา (Adductor muscles)

กล้ามเนื้อ 3 กลุ่มนี้ทำหน้าที่ยึดโยงท้องน้อยกับต้นขา

เพื่อให้เห็นภาพว่าอาการปวดขาหนีบเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งที่ควรทราบก่อนคือ กล้ามเนื้อโดยทั่วไปฉีกขาดได้อย่างไร กล้ามเนื้อแต่ละมัดเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของเส้นใยกล้ามเนื้อหลายๆ เส้น ที่ยืดและหดเพื่อทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะยืดหยุ่นมาก แต่หากกล้ามเนื้อถูกใช้งานมากเกินไป อาจทำให้ยืดจนเกินขีดจำกัด ทำให้ฉีกขาดได้

อาการปวดขาหนีบมีกี่ประเภท?

อาการปวดขาหนีบ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการกล้ามเนื้อฉีก แบ่งได้เป็น 3 ระดับตามความรุนแรง

  • อาการปวดขาหนีบระดับ 1 จะมีอาการไม่มาก
  • หากมีอาการรุนแรงขึ้นจะเรียกว่าระดับ 2
  • อาการปวดขาหนีบรุนแรงจะนับเป็นระดับ 3

ปวดขาหนีบมีสาเหตุเกิดจากอะไร?

อาการปวดขาหนีบ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบยืดตัวเกิดขีดจำกัดจนเสียหายหรือฉีกขาด สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อยืดตัวมากเกินไปมีทั้งอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา แรงที่กระทำต่อขาหนีบโดยตรง และอาการบาดเจ็บซ้ำซาก (Repetitive Strain Injury หรือ RSI) หรือการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง (Microtrauma) นอกจากนี้ กีฬาอย่างฮอกกี้ ฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล หรือบาสเกตบอลยังทำให้เสี่ยงที่จะเจ็บขาหนีบด้วย

ปวดขาหนีบมีอาการอย่างไร?

อาการปวดขาหนีบจะรู้สึกเหมือนมีอะไรมาเสียบที่ขาหนีบ เมื่อเคลื่อนไหวบางท่าอาจทำให้รู้สึกเจ็บมากขึ้น อาการโดยรวมของการปวดขาหนีบ ได้แก่

  • เจ็บขาหนีบ ปวดต้นขาด้านใน
  • ขยับขาหรือสะโพกลำบาก
  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง ตึง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • บวม

อาการปวดขาหนีบมีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

แพทย์อาจตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยอาการปวดขาหนีบ โดยจะทำการตรวจกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบ รวมถึงสอบถามเกี่ยวกับอาการที่มี และกิจกรรมหลังสุดที่ทำก่อนจะเกิดอาการปวด นอกจากตรวจร่างกายแล้ว อาจใช้วิธีอื่น ๆ เช่น

  • อัลตราซาวด์
  • เอกซเรย์
  • MRI

เพื่อตรวจดูกล้ามเนื้อว่ามีการฉีกขาด บาดเจ็บ กระดูกหัก หรือมีเลือดออกภายในหรือไม่

อาการปวดขาหนีบ มีวิธีการรักษาอย่างไร?

หากปวดขาหนีบ สามารถปฏิบัติตามหลักการ RICE เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ หลักการ RICE ประกอบไปด้วย

  • R-Rest พักผ่อน: เลี่ยงไม่ให้กล้ามเนื้อที่ขาหนีบบาดเจ็บด้วยการหยุดทำกิจกรรมบางอย่างที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บ
  • I-ICE น้ำแข็ง: ในวันแรกที่มีอาการ ให้ประคบเย็นหรือใช้น้ำแข็งประคบประมาณ 10 ถึง 15 นาทีทุกชั่วโมง โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหรือผ้าเช็ดทั่ว ๆ ไปห่อถุงน้ำแข็ง อย่าประคบถุงน้ำแข็งไปที่ผิวโดยตรง หลังพ้นวันแรกไปแล้ว ประคบน้ำแข็งได้ทุก ๆ 3 – 4 ชั่วโมง
  • C-Compression รัด: อาการบวมที่เกิดขึ้นบรรเทาได้ด้วยการรัดเพื่อลดการไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อขาหนีบที่บาดเจ็บ วิธีการรัดทำได้ด้วยการพันผ้า หรือใส่กางเกงรัดกล้ามเนื้อ
  • E-Elevation ยก: หากทำได้ ให้ยกขาและร่างกายท่อนล่างไว้เหนือระดับหัวใจ สามารถใช้หมอน ผ้าห่ม หรือเบาะรองนั่งหนุนขาได้
    สามารถใช้ไม้ค้ำยันหรือไม้เท้าในช่วงวันแรก ๆ ได้เพื่อช่วยเดินหรือเคลื่อนไหว

การรักษาอาการปวดขาหนีบ โดยการผ่าตัดได้หรือไม่?

ถึงแม้แพทย์มักจะไม่รักษาอาการปวดขาหนีบด้วยการผ่าตัด แต่ผู้ที่มีอาการปวดระดับ 3 อาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดหรือเพื่อยึดเส้นเอ็นที่หลุดเข้ากับกระดูก แนะนำให้พบแพทย์เพื่อปรึกษาว่าการผ่าตัดประเภทใดจะช่วยรักษาอาการได้

ปวดขาหนีบใช้ยารักษาได้หรือไม่?

แพทย์อาจสั่งยากลุ่ม NSAID (เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน) เพื่อลดอาการปวดบวม ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วันโดยไม่ปรึกษาแพทย์

ปวดขาหนีบ มีวิธีการป้องกันอย่างไร?

สิ่งที่ช่วยป้องกันการปวดขาหนีบได้คือ การวอร์มอัพร่างกาย ทำกิจกรรมเบา ๆ เพื่อเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อก่อนจะออกกำลัง นอกจากนี้ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อขาและแกนกลางลำตัวยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และป้องกันอาการบาดเจ็บได้

ปวดขาหนีบ ใช้เวลาพักฟื้นนานหรือไม่?

ช่วงเวลาพักฟื้นจากการปวดขาหนีบจะอยู่ที่ว่าอาการรุนแรงแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว อาการปวดขาหนีบระดับ 1 และ 2 จะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 1 – 2 เดือน ขณะที่อาการปวดขาหนีบรุนแรง หรือระดับ 3 จะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 4 เดือนหรือมากกว่า

เมื่อมีอาการปวดขาหนีบ คุณควรพบแพทย์หรือไปแผนกฉุกเฉินเมื่อใด?

ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีที่เกิดอาการปวดรุนแรงบริเวณขาหนีบ หรือเมื่อรักษาที่บ้านเป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์แล้วแต่ยังรู้สึกปวดอยู่ ในกรณีที่มีเลือดออกบริเวณขาหนีบ เคลื่อนไหวขาหรือสะโพกไม่ได้ ผิวบริเวณขาหนีบเปลี่ยนสี หรือขารู้สึกชา ให้รีบไปแผนกฉุกเฉินทันที

ควรถามอะไรบ้างขณะพบแพทย์ เพื่อรักษาเกี่ยวกับอาการปวดขาหนีบ?

เมื่อเข้าพบแพทย์ ควรถามว่าอาการปวดขาหนีบที่เป็นอยู่ระดับใด วิธีรักษาที่แนะนำคืออะไร คาดว่าจะใช้เวลาพักฟื้นนานเท่าไร รวมถึงควรเลี่ยงทำกิจกรรมอะไรบ้างขณะพักฟื้น

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวอาการปวดขาหนีบ

  • อาการปวดขาหนีบกับกล้ามเนื้อขาหนีบฉีกขาดเหมือนกันหรือไม่?
    อาการปวดขาหนีบ กล้ามเนื้อขาหนีบยืด หรือกล้ามเนื้อขาหนีบฉีกขาด ทั้งหมดล้วนเป็นอาการเดียวกัน รักษาด้วยวิธีเดียวกัน
  • ถ้าปวดขาหนีบ เดินต่อได้หรือเปล่า?
    ถ้าเป็นขาหนีบระดับ 1 ยังสามารถเดินต่อได้ แต่แนะนำว่าไม่ควรวิ่งหรือออกกำลังกายขณะพักฟื้น เพราะการเล่นกีฬาหรือออกกำลังก่อนกล้ามเนื้อจะหายดีอาจเพิ่มโอกาสเจ็บซ้ำ
  • ปวดขาหนีบ เหมือนกับโรคไส้เลื่อนนักกีฬาหรือเปล่า?
    ทั้งสองอาการแตกต่างกัน อาการปวดขาหนีบมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อขาหนีบยืดมากเกินไปหรือฉีกขาด ขณะที่โรคไส้เลื่อนนักกีฬาเกิดจากเส้นเอ็นที่ยึดกล้ามเนื้อท้องกับเชิงกรานขาดหรืออ่อนแอลง

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

อาการปวดขาหนีบ เป็นอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อขาหนีบ ถึงแม้อาการนี้จะพบได้บ่อยในผู้เล่นกีฬาฮอกกี้หรือฟุตบอล แต่ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ การรักษาอาการปวดขาหนีบมีทั้งการรักษาด้วยตนเองด้วยหลักการ RICE การรับประทานยา และการผ่าตัด ช่วงเวลาพักฟื้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ สิ่งสำคัญคือการพักฟื้นให้เต็มที่ ไม่ควรรีบกลับมาออกกำลังหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ เร็วเกินไป เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 01 เม.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ถาวร ศิษยนเรนทร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    เวชศาสตร์การกีฬา, ผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อและการบาดเจ็บทางกีฬา