ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Hashimoto’s Disease) อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง - Hashimotos disease

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Hashimoto’s Disease)

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือโรคฮาชิโมโตะ เกิดขึ้นจากความบกพร้องของระบบภูมิคุ้มกันที่ส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ทำให้เกิดอาการอักเสบ

แชร์

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง

โรคฮาชิโมโตะ หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง เกิดขึ้นจากความบกพร้องของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ ที่ฐานของลำคอ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ ทั้งนี้ต่อมไทรอยด์เป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนที่สอดคล้องกับการทำงานหลายอย่างของร่างกาย

การอักเสบของต่อมไทรอยด์มักทำให้ต่อมไทรอยด์ที่ทำงานไม่ปกติ ผู้หญิงในวัยกลางคนมักได้รับผลกระทบจากโรคนี้มากที่สุด อย่างไรก็ตามภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ในทุกวัย ในการวินิจฉัยโรคนั้น แพทย์อาจตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ การให้ฮอร์โมนทดแทนคือหนึ่งในวิธีการรักษาโดยทั่วไปสำหรับภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง

อาการภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง

สัญญาณและอาการของภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง อาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงแรก อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นโรคอาจมีอาการบวมที่คอด้านหน้าหรือคอพอก ทั้งนี้อาการอักเสบนี้มักเกิดขึ้นอย่างช้าๆเ มื่อเวลาผ่านไปจะก่อให้เกิดความเสียหายเรื้อรังของต่อมไทรอยด์ และทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดลดลง สัญญาณและอาการอื่น ๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง อาจรวมถึง

  • ปวดเมื่อยในบริเวณข้อ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงอาจมีอาการตึงกล้ามเนื้อร่วมด้วย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผิวซีดและแห้ง
  • เหนื่อยง่าย
  • รู้สึกหนาวง่าย
  • ท้องผูก
  • ใบหน้าบวม
  • เล็บเปราะ
  • ผมร่วง
  • เกิดการขยายของลิ้น
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เลือดออกมากผิดปกติเมื่อมีประจำเดือน และมีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น
  • ประสิทธิภาพในการจำหมดลง
  • อาการซึมเศร้า


เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรปรึกษาแพทย์หากคุณสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ใบหน้าซีดและบวม ผิวแห้ง ท้องผูก หรือเหนื่อยล้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งนี้อาจเพิ่มความตระหนักถึงโรคนี้หาก

  • เคยได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
  • เคยได้รับการรักษาด้วยยาต้านไทรอยด์และไอโอดีน หรือการบำบัดด้วยกัมมันตภาพรังสี
  • เคยได้รับการรักษาด้วยรังสีที่ศีรษะ คอ หรือหน้าอกส่วนบน
  • มีความดันโลหิตสูง
  • กำลังได้รับการบำบัดด้วยฮอร์โมนสำหรับภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ

สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง เป็นความผิดปกติของระบบภูมิต้านทาน โดยแอนติบอดีที่สร้างขึ้นโดยระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายต่อมไทรอยด์ โดยไม่ทราบสาเหตุ อย่างไรก็ดีเชื่อว่าไวรัสและแบคทีเรียอาจเป็นตัวกระตุ้นที่อาจเป็นไปได้ เช่นเดียวกับข้อบกพร่องทางพันธุกรรม นอกจากนี้เพศ อายุ และการถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการพัฒนาการของภาวะนี้ได้อีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังประกอบไปด้วย

  • อายุ ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังมีแนวโน้มที่จะเกิดกับคนในวัยกลางคนมากกว่าวัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย
  • เพศ ผู้หญิงที่ความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังได้มากกว่าผู้ชาย
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่สมาชิกครอบครัวมีประวัติของภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวได้มากขึ้นตามไปด้วย
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีเคยมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิต้านทานอื่น ๆ มักมีแนวโน้มที่จะเป็นภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังได้มากขึ้น
  • วิธีการบำบัดด้วยรังสี ผู้ที่เคยได้รับการบำบัดด้วยรังสี มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังได้

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆในร่างกายได้ เช่น

  • อาการคอพอก ต่อมไทรอยด์ที่อักเสบจะขยายใหญ่ขึ้นและมักทำให้เกิดอาการคอพอกขึ้นซึ่งอาจส่งผลต่อการกลืนหรือการหายใจ
  • ความผิดปกติของหัวใจ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากระดับคอเลสเตอรอลที่มีไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) มีปริมาณสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจโตและหัวใจล้มเหลว
  • ปัญหาสุขภาพจิต ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ รวมถึงความต้องการทางเพศที่เพิ่มขึ้น อาจเกิดขึ้นได้ในบางกรณี
  • ภาวะมิกซีดีมา (Myxedema) ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังอาจนำไปสู่ภาวะมิกซีดีมา ซึ่งเป็นภาวะที่หายากทำให้เกิดอาการง่วงนอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการหมดสติอย่างรุนแรง ผู้ที่มีภาวะมิกซีดีมา อาจรู้สึกไวต่อความเย็นมากขึ้น เกิดภาวะกดประสาท ภาวะติดเชื้อ หรือปัญหาอื่น ๆ อันเป็นส่งสัญญาณถึงการเกิดของภาวะ โดยคนไข้จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที
  • ความพิการของของทารกแรกเกิด ทารกที่เกิดกับสตรีที่มีภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังที่ไม่ได้รับการรักษา มักจะมีปัญหาสุขภาพมากกว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่มีสุขภาพดี ปัญหาสุขภาพของทารกอาจรวมถึงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ สมองและไต ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังที่วางแผนตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียด

การวินิจฉัยภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือ โรคฮาชิโมโตะ

หลังจากสังเกตุอาการแล้ว แพทย์อาจทำการทดสอบบางอย่างเพื่อวัดระดับฮอร์โมนไทรอยด์และฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) โดยการทดสอบนี้อาจรวมถึงการทดสอบฮอร์โมนและการทดสอบแอนติบอดี

การรักษาต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง

การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง อาจรวมถึงการสังเกตอาการและการใช้ยาในระยะยาว ทั้งนี้การรักษาอาจรวมถึง:

  • ฮอร์โมนสังเคราะห์ การรักษาอาจรวมถึงการบำบัดทดแทนฮอร์โมนด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ หากภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังทำให้เกิดการขาดฮอร์โมนไทรอยด์
  • การตรวจสอบผลของปริมาณยาที่ใช้ การได้รับยาในปริมาณที่ถูกต้องมีความสำคัญมาก โดยแพทย์จะทำการตรวจสอบปริมาณยาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของยา โดยปริมาณและการใช้ยาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพอาการของคนไข้

เตรียมตัวเพื่อพบแพทย์

ก่อนพบแพทย์คนไข้อาจเตรียมตัวโดยการ

  • ระวังข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย
  • จดบันทึกอาการและสัญญาณที่พบ
  • ทำรายการข้อมูลส่วนบุคคลรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น รอบเดือน ความต้องการทางเพศ และเพศสัมพันธ์
  • จดรายการยาและอาหารเสริมทั้งหมดที่บริโภคอยู่
  • ทำรายการคำถามที่ต้องการถามแพทย์

ระหว่างการพบแพทย์ แพทย์อาจทำการถามคำถามเกี่ยวกับข้อมูลดังต่อไปนี้

  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในปัจจุบัน
  • อาการที่กำลังประสบ
  • จุดเริ่มต้นของอาการ
  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตลอดจนพฤติกรรม ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
  • สุขภาพจิตในช่วงนี้
  • การรักษาที่อาจเคยทดลองมาก่อนหน้า
  • ประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคต่อมไทรอยด์

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    พญ. ณิชกานต์ หลายชูไทย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมหมวกไต, ความผิดปกติของแคลเซียมและกระดูก, อินซูลินปั๊ม, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, ไขมันในเลือดสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    นพ. ธีรวุฒิ คลังเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    พญ. ศศิภัสช์ ช้อนทอง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคความผิดปกติของต่อมหมวกไต, โรคทางเมแทบอลิก, ความดันโลหิตสูงจากภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อ, ความผิดปกติ แปรปรวนของสภาวะสารน้ำและเกลือแร่, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคต่อมใต้สมอง, โรคไทรอยด์, เนื้องอกและมะเร็งต่อมไทรอยด์
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    นพ. อมรพรรณ เลิศฤทธิ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    พญ. ปฐมา จรรย์แสง ผ่องสุวรรณ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    ไทรอยด์ และมะเร็งไทรอยด์
  • Link to doctor
    นพ. วิน ภาคสุข

    นพ. วิน ภาคสุข

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป