อาการ สาเหตุ การรักษาและป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว - Heart failure: Symptoms, Causes, Treatment and Prevention

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure)

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) มีสาเหตุเกิดจากหัวใจได้รับความเสียหาย และอ่อนแอลง ทำให้ห้องหัวใจขยายตัวใหญ่ขึ้น หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจห้องล่างแข็งตัว จนคลายตัวรับเลือดเข้ามาได้ไม่พอ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เลือดไหลกลับหัวใจคั่งในร่างกาย มีน้ำคั่งปอด ทำให้หายใจหอบเหนื่อย โดยปกติแล้วภาวะหัวใจล้มเหลวมักเริ่มเกิดขึ้นที่หัวใจห้องซ้ายที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ อันได้แก่หัวใจห้องล่างซ้าย แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นที่ห้องล่างขวาได้ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต การได้รับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยยืดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

  1. ภาวะหัวใจล้มเหลวที่หัวใจห้องซ้าย มักเกิดที่หัวใจห้องซ้าย ส่งผลให้น้ำคั่งในปอด ทำให้หายใจหอบเหนื่อย
  2. ภาวะหัวใจล้มเหลวที่หัวใจห้องขวา เกิดที่หัวใจห้องขวา ส่งผลให้น้ำคั่งในช่องท้อง ขา และเท้า ทำให้เกิดอาการบวม
  3. หัวใจล้มเหลวที่เกิดร่วมกับการบีบตัวของหัวใจห้องซ้ายล่างลดลง เกิดจากการที่หัวใจห้องซ้ายบีบตัวได้ไม่แรงพอ ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ
  4. ภาวะหัวใจล้มเหลวจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่คลายตัวได้ตามปกติ หัวใจห้องซ้ายไม่สามารถคลายตัวได้เต็มที่ในจังหวะคลายตัว ทำให้เลือดเข้าสู่หัวใจได้ไม่เต็มที่ 

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีกี่ระยะ?

(อ้างอิง New York Heart Association (NYHA) classification)

  • ระยะที่ 1: หัวใจล้มเหลวระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ 
  • ระยะที่ 2: หัวใจล้มเหลวระยะที่ 2 ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า หายใจหอบเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง แต่ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้โดยไม่มีปัญหาใด ๆ
  • ระยะที่ 3: หัวใจล้มเหลวระยะที่ 3 ผู้ป่วยจะทำกิจวัตรประจำวันได้ยากลำบาก
  • ระยะที่ 4: หัวใจล้มเหลวระยะที่ 4 เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อย แม้ว่าจะไม่ได้ออกกำลังใด ๆ

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีสาเหตุเกิดจากหัวใจได้รับความเสียหาย และอ่อนแอลง ทำให้ห้องหัวใจขยายตัวใหญ่ขึ้น หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอ หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจห้องล่างแข็งตัว จนคลายตัวรับเลือดเข้ามาได้ไม่เพียงพอ

อาการหัวใจล้มเหลว - symptoms of heart failure

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีอาการอย่างไร?

เมื่อมีภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยอาจจะค่อย ๆ มีอาการหรือมีอาการฉับพลัน เช่น

  • หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรมหรือนอนราบ
  • เหนื่อยล้า
  • มีอาการบวมที่ช่องท้อง ข้อเท้า ขา หรือเท้า
  • หัวใจเต้นเร็วหรือไม่เป็นจังหวะ
  • ความทนทานต่อการทำกิจกรรมลดลง
  • หายใจมีเสียงหวีด ไอติดต่อกัน มีเสมหะ
  • บวมน้ำ
  • ไม่อยากอาหาร
  • คลื่นไส้
  • ความกระฉับกระเฉงลดลง
  • สับสน ไม่มีสมาธิ
  • เจ็บหน้าอก

เมื่อมีอาการหัวใจล้มเหลว เมื่อไรที่ควรพบแพทย์?

ควรไปพบแพทย์หากอาการแย่ลง มีอาการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามมา หรือน้ำหนักขึ้นมากกว่า 2-3 กิโลกรัมภายใน 2-3 วัน อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าโรคหัวใจแย่ลง

หากมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนแรงมาก หมดสติ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือหายใจหอบเหนื่อย ควรโทร 1669 หรือควรรีบให้คนข้างตัวพาไปโรงพยาบาลทันที เพื่อพบแพทย์แผนกฉุกเฉิน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีอะไรบ้าง?๋

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากหัวใจล้มเหลวมีอะไรบ้าง?

  • ไตล้มเหลว
  • ตับล้มเหลว
  • ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีวิธีตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

  • การซักประวัติว่ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่
  • การตรวจร่างกาย เพื่อดูว่ามีเสียงฟู่ที่หัวใจหรืออาการบวมในช่องท้องหรือขาบ้างหรือไม่
  • การตรวจเลือดเพื่อประเมินว่ามีระดับโปรตีน B-type natriuretic peptide (BNP) หรือ N-terminal pro-BNP (NT-proBNP) ซึ่งผลิตโดยหัวใจหรือไม่ หากระดับโปรตีนสูงขึ้น แสดงว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG/EKG) เพื่อดูว่าจังหวะการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วเกินไปหรือไม่ 
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อสร้างภาพหัวใจเพื่อตรวจวินิจฉัยขนาดห้องของหัวใจ การสูบฉีดเลือดของหัวใจ และดูการทำงานของลิ้นหัวใจ
  • วัดค่าการบีบตัวของหัวใจ (Ejection fraction) เพื่อวัดปริมาณการสูบฉีดเลือดออกมาจากหัวใจเป็นเปอร์เซนต์ โดยอัตราที่เหมาะสมอยู่ที่ 50% หรือมากกว่า 
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (EST)
  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • การตรวจ MRI หัวใจ 
  • ฉีดสีสวนหัวใจ (CAG) เพื่อหาบริเวณหลอดเลือดที่อุดตัน  
  • การตัดชิ้นส่วนกล้ามเนื้อหัวใจไปตรวจหาชนิดของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีวิธีการรักษาอย่างไร?

การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและการใช้ยารักษา

การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและการใช้ยา สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องรับประทานยาหลายขนาน ขึ้นอยู่กับอาการและสาเหตุของโรค แพทย์อาจให้ปรับเปลี่ยนขนาดยาตามความเหมาะสม หากอาการกำเริบ ควรรีบเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที 

การผ่าตัดหัวใจ และทำหัตถการอื่น ๆ 

  • การผ่าตัดบายพาสหัวใจ
    หากภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากการที่หลอดเลือดหัวใจอุดตัน แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดบายพาส โดยแพทย์อาจนำเอาหลอดเลือดบริเวณหน้าอก แขน หรือขามาทำทางเบี่ยงที่หัวใจ ทำให้เลือดไหลเข้าสู่กล้ามเนื้อหัวใจได้สะดวกขึ้น 
  • การผ่าตัดซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
    ในกรณีที่ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากการที่ลิ้นหัวใจได้รับความเสียหาย แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบผ่าตัดเปิดหรือผ่าตัดแผลเล็ก (MIS)
  • เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ Implantable Cardioverter-Defibrillator (ICD)
    เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ICD ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลว คอยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ตรวจจับการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ และปรับการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
  • เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ Cardiac Resynchronization Therapy (CRT)
    เครื่อง Cardiac Resynchronization Therapy หรือ Biventricular Pacing เป็นเครื่องมือที่ใช้รักษาผู้ที่หัวใจห้องล่างบีบตัวไม่สัมพันธ์กัน โดยเครื่องจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องล่างทั้ง 2 ห้องเพื่อให้หัวใจบีบตัวสัมพันธ์กันและสูบฉีดเลือดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งแพทย์อาจให้ใช้คู่กับเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ
  • เครื่องพยุงการทํางานของหัวใจ Ventricular Assist Device (VAD)
    เครื่องพยุงการทํางานของหัวใจ VAD ช่วยทำการสูบฉีดส่งเลือดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่รอเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจหรือเป็นการรักษาถาวรสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะได้
  • การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
    ในรายที่อาการรุนแรงและการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจากผู้บริจาคอวัยวะ ซึ่งแพทย์ต้องทำการประเมินความเสี่ยงเปรียบเทียบกับข้อดีก่อนทำหัตถการ เพราะใช่ว่าทุกคนจะเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้

ภาวะหัวใจล้มเหลว มีวิธีการป้องกันอย่างไร?

  • หมั่นสังเกตอาการ
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง 
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม หัวใจต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำหนักตัวมากขึ้น หากน้ำหนักขึ้น 1 กิโลกรัมภายใน 1 วัน หรือขึ้น 2 กิโลกรัมภายใน 1 สัปดาห์ นั่นอาจหมายถึงมีน้ำคั่งในร่างกายและอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยา  
  • เลิกสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ขยับร่างกาย ไม่เนือยนิ่ง
  • ก่อนเริ่มรับประทานยาหรืออาหารเสริมใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

วิธีการใช้ชีวิตเมื่อมีภาวะหัวใจล้มเหลว - Lifestyle management when having heart failure.

วิธีการใช้ชีวิตเมื่อมีภาวะหัวใจล้มเหลว

  • สื่อสารกับแพทย์อยู่เสมอ หากมีเรื่องที่กังวลใจ หากรู้สึกแย่ลงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อแพทย์จะได้ปรับการรักษาให้เหมาะสม
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หากมีผลข้างเคียงควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาบรรเทาปวดไอบูโปรเฟนและนาพรอกเซน เนื่องจากจะไปเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ตรวจสอบน้ำหนักตัวหลังตื่นนอน หลังรับประทานอาหารเช้า และหลังปัสสาวะ หากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นสัญญาณของการสะสมของของเหลว
  • ตรวจความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยบอกได้ว่าการรักษาได้ผลหรือไม่
  • ขอความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การทำอาหาร การขับรถ เป็นต้น

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • หากทำได้ควรพาเพื่อนหรือคนในครอบครัวมาด้วยเพื่อช่วยจดจำข้อมูลต่าง ๆ ที่แพทย์ชี้แจ้ง
  • จดบันทึกอาการที่มี ประวัติสุขภาพของครอบครัว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ยาที่กำลังรับประทาน ความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงในชีวิต รวมถึงคำถามที่ต้องการสอบถามแพทย์
    ตัวอย่างคำถาม  
    • สาเหตุของอาการคืออะไร?
    • จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมหรือไม่?
    • มีวิธีการรักษาประเภทใดบ้าง?
    • มีข้อจำกัดเรื่องการรับประทานอาหารหรือไม่?
    • ยังคงออกกำลังกายหรือมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?
    • โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่?
    • หากมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ควรจัดการกับอาการอย่างไร?

นอกจากนี้ผู้ป่วยสามารถจดคำตอบของคำถามที่แพทย์อาจจะถามได้ล่วงหน้า

  • อาการเกิดขึ้นเมื่อไร
  • มีอาการตลอดเวลาหรือเป็น ๆ หาย ๆ 
  • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 28 ก.พ. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ