อาการ สาเหตุ การป้องกัน และการรักษาโรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)

โรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)

โรคลมแดดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่อาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง กระทั่งทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน

โรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด) คืออะไร?

อากาศที่ร้อนจัดในหลายพื้นที่ของประเทศไทยและประเทศในเขตร้อน ทำให้เราต้องเฝ้าระวังภาวะลมแดดโดยเมื่อออกกําลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในสภาพอากาศร้อนชื้น และดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อนชื้นมาก การถ่ายเทของอากาศไม่ดี จะทำให้อุณหภูมิร่างกายของเราเพิ่มสูงขึ้นจนอาจเป็นลมแดดได้ โดยเฉพาะในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดดแม้ว่าจะไม่ได้ทํากิจกรรมที่ใช้แรงก็ตาม

โรคลมแดดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่อาจนําไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น อวัยวะภายในได้รับความเสียหายหรือล้มเหลว หรือแม้กระทั่งทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

ประเภทของฮีทสโตรก

  • โรคลมแดดที่เกิดจากการออกกำลัง (Exertional heatstroke) เกิดจากการออกกําลังกายอย่างหนักในสภาพอากาศร้อน
  • โรคลมแดดที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลัง (Nonexertional or classic heatstroke) เกิดจากการที่ต้องอยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้นเป็นเป็นเวลานาน ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคเรื้อรังมักจะไวต่อการเป็นโรคลมแดดประเภทนี้

อาการของโรคลมแดด

  • เมื่ออุณหภูมิร่างกายที่วัดจากภายในร่างกาย เช่น ผ่านทางทวารหนักสูงตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • พฤติกรรมหรือสภาพจิตใจเปลี่ยนไป เช่น สับสนเฉียบพลัน หงุดหงิดฉุนเฉียว พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ ชัก หรือโคม่า
  • หากเป็นโรคลมแดดจากอากาศร้อน ผิวจะแห้งและร้อน
  • หากเป็นโรคลมแดดจากการออกกําลังกายอย่างหนัก ผิวจะแห้งและชื้นเล็กน้อย
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ผิวหนังแดงขึ้น
  • หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบถี่
  • ปวดหัวตุบ ๆ

อาการของโรคลมแดด

ควรไปพบแพทย์เมื่อใด

เมื่อพบคนที่เป็นลมแดด หรือสงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะที่คล้ายเป็นโรคลมแดด ควรโทรติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลและกู้ภัย ขณะที่รอความช่วยเหลืออยู่นั้น ควรทำให้อุณหภูมิร่างกายของผู้ที่เป็นลมแดดเย็นลงโดยทันที โดยการพาเข้าที่ร่มหรือด้านในตึก หากสวมเสื้อหลายชั้นควรถอดเสื้อชั้นนอกออก ใช้น้ำแข็งประคบหรือวางผ้าชุบน้ำลงบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ หรือฉีดน้ำรดตัว หรือนำผู้ป่วยลงแช่น้ำเย็น

สาเหตุของโรคลมแดด

  • อากาศร้อนชื้น
  • ออกกําลังกายหรือใช้แรงมากขณะที่อยู่ในสภาพอากาศร้อน
  • สวมเสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศหรือหนา ทำให้เหงื่อไม่สามารถระเหยออกได้ อุณหภูมิของร่างกายจึงไม่สูงขึ้น
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดฮีทสโตรก

  • อายุ ในเด็กเล็ก ระบบประสาทส่วนกลางยังพัฒนาไม่เต็มที่ และในผู้สูงอายุ ระบบประสาทส่วนกลางเริ่มเสื่อม อีกทั้งยังเป็นวัยที่มักไม่ค่อยดื่มน้ำหากไม่มีใครเตือน จึงทำให้คน 2 วัยนี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดดมากกว่าคนวัยอื่น
  • สัมผัสกับอากาศร้อนหรือแสงแดดแรงอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อน
  • การออกกําลังกายที่ต้องใช้กําลังมากเป็นเวลานาน เช่น การวิ่งมาราธอน การเล่นฟุตบอล และการฝึกทหาร
  • ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว ยารักษาความดัน (beta-blockers) ยาต้านเศร้า หรือยาสำหรับผู้ที่มีสมาธิสั้น
  • มีประวัติเป็นโรคลมแดดหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคอ้วน


ภาวะแทรกซ้อน

หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคลมแดดอาจทําให้อวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ไต หรืออวัยวะอื่น ๆ บวมและได้รับความเสียหายถาวร หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต

ป้องกันโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก

โรคลมแดดสามารถป้องกันได้ โดยเราสามารถอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนได้อย่างปลอดภัยหากทําตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่บริเวณอากาศร้อนจนเกินไป โดยเฉพาะหากเกิน 40 องศาเซลเซียส
  • ปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป สวมหมวกปีกกว้าง และแว่นกันแดด ทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2 ชั่วโมงหรือถี่กว่านั้นหากเหงื่อออกหรือว่ายน้ำ
  • สวมเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าเบาบาง ระบายอากาศได้ดี และไม่รัด
  • ดื่มน้ำบ่อย ๆ
  • งดทํากิจกรรมหนัก ๆ หรือออกกําลังกายในสภาพอากาศร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรออกกำลังกายในตอนเช้าตรู่หรือตอนเย็นแทน
  • หากเพิ่งเดินทางไปถึงประเทศที่มีอากาศร้อนจัด ควรใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อย ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อนมีแนวโน้มที่จะป่วยจากอากาศร้อน
  • ไม่ปล่อยให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในรถที่จอดทิ้งไว้ในที่ที่อากาศร้อนเพราะอุณหภูมิในรถอาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 11 องศาเซลเซียสภายใน 10 นาที การจอดรถในที่ร่มหรือเปิดหน้าต่างรถไม่ช่วยให้ไม่เป็นโรคลมแดด
  • ระมัดระวังหากกําลังรับประทานยาบางชนิดหรือมีโรคประจำตัวที่อาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการโรคลมแดด


การตรวจวินิจฉัย

โรคลมแดดมักจะแสดงอาการชัดเจน แต่แพทย์อาจให้ตรวจเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอวัยวะและตัดสาเหตุอื่น ๆ ทิ้ง

  • การวัดอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนัก เป็นวิธีที่แม่นยำกว่าการวัดอุณหภูมิทางปากและหน้าผาก
  • การตรวจเลือด เพื่อประเมินความเสียหายของอวัยวะภายในโดยการตรวจสอบระดับก๊าซในเลือด รวมถึงสารเกลือแร่ในเลือด ค่าตับ ไต การวัดการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจว่าไตและกล้ามเนื้อมีความเสียหายหรือไม่ อาการป่วยจากอากาศร้อนมักจะทําให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น
  • การตรวจกล้ามเนื้อ เพื่อดูว่ามีภาวะกล้ามเนื้อสลายหรือกล้ามเนื้อได้รับความเสียหายหรือไม่
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายสมอง ถ้าสงสัยว่าอาการที่เป็น เกิดจากภาวะอื่นของสมอง

การรักษาโรคลมแดด

การรักษาโรคลมแดด

แพทย์จะทำการลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยเพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดต่อสมองและอวัยวะสําคัญ

  • การแช่น้ำเย็นเพื่อลดอุณหภูมิและลดความเสี่ยงที่อวัยวะจะได้รับความเสียหายหรือเสียชีวิต
  • เทคนิคการระบายความร้อนลดอุณหภูมิ ด้วยการพ่นละอองน้ำเย็นลงบนร่างกายขณะที่เป่าลมจากพัดลมเพื่อทำให้เกิดการระเหยที่เร็วขึ้นและทำให้ผิวเย็นลง
  • การใช้ผ้าห่อน้ำแข็งห่มตัวและประคบน้ำแข็งลงบนคอ หลัง รักแร้ และขาหนีบ
  • แพทย์อาจให้รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อให้ผู้ป่วยหยุดสั่นจากการลดอุณหภูมิร่างกายโดยวิธีข้างต้น เพราะการที่ร่างกายสั่นจะทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้การรักษาที่ทำไปแล้วนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร


การรักษาตัวเองที่บ้าน

หากเป็นลมแดด ควรโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน เพราะการพยายามลดอุณหภูมิร่างกายเองนั้นอาจไม่สำเร็จ ระหว่างรอความช่วยเหลือนั้น ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำ

หากเริ่มมีอาการอ่อนเพลียหรือไม่สบายตัวจากอากาศร้อน ซึ่งยังไม่นับเป็นภาวะฉุกเฉิน ควรพยายามลดอุณหภูมิของร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้อาการเป็นมากกว่าเดิม โดยทำได้ตามวิธีดังนี้

  • ลดอุณหภูมิของร่างกายด้วยการเช็ดตัวด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ฉีดน้ำเย็นรดตัว ร่วมกับใช้พัดหรือพัดลม
  • อาบน้ำฝักบัวหรือแช่น้ำเย็น หากอยู่กลางแจ้งอาจแช่ตัวในลําธารหรือแม่น้ำ
  • นั่งในที่ร่ม หรือสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ เช่น ห้างสรรพสินค้า
  • ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มผสมเกลือแร่เพื่อชดเชยเกลือและน้ำที่สูญเสียไป
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัดเพราะอาจทําให้ปวดท้อง และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะไปรบกวนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

บทความโดย
พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด

แพทย์อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
ประวัติแพทย์

บทความโดย

  • พญ. รพีพรรณ  รัตนวงศ์นรา มอร์ด
    พญ. รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ

เผยแพร่เมื่อ: 05 เม.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, การจัดการโรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีและการปฏิบัติตัว, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    รศ.พญ. สิริอร วัชรานานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อในเวชบำบัดวิกฤต, โรคติดเชื้อหลังปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก, โรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อราลุกลามหรือไวรัส
  • Link to doctor
    รศ.พญ. มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ

    รศ.พญ. มาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน, โรคติดเชื้อแทรกซ้อนหลังปลูกถ่ายอวัยวะ, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็ง/ มะเร็งโรคเลือด
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    ผศ.นพ. ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, การติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ รวมทั้งโรคแทรกซ้อน, วัคซีน, โรคติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง, โรคติดเชื้อทางเขตร้อน