อาการ สาเหตุ และการรักษาประจำเดือนมามากผิดปกติ - Heavy Menstrual Bleeding: Symptoms and Treatment

ประจำเดือนมามากผิดปกติ (Heavy Menstrual Bleeding)

ประจำเดือนมามากผิดปกติ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเสียเลือดประจำเดือนมากกว่า 80 มิลลิลิตร ในระหว่างรอบเดือนหรือมีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ประจำเดือนมามากผิดปกติ

ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ (หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ Menorrhagia) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเสียเลือดประจำเดือนมากกว่า 80 มิลลิลิตร (5-6 ช้อนโต๊ะ) ในระหว่างรอบเดือนหรือมีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน ซึ่งโดยปกติแล้วในรอบเดือนหนึ่ง ผู้หญิงมักเสียเลือดอยู่ที่ 40 มิลลิลิตร (2-3 ช้อนโต๊ะ) ในช่วง 4-8 วัน ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจาง รู้สึกเหนื่อย ร่างกายอ่อนเพลีย

ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีอาการอย่างไร

  • ปวดท้องน้อย
  • มีประจำเดือนนานกว่า 7 วัน
  • มีเลือดประจำเดือนออกมามากกว่า 80 มิลลิลิตร (ปริมาณประจำเดือนปกติอยู่ที่ 35-40 มิลลิลิตร)
  • มีเลือดประจำเดือนออกมาเป็นก้อนขนาดใหญ่กว่าเหรียญ 5 บาท
  • มีอาการของภาวะเลือดจาง เช่น หายใจไม่ทัน เหนื่อยอ่อน
  • ต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยไม่ว่าจะแบบแผ่นหรือแบบสอดทุกชั่วโมง อย่างน้อย 2 ชั่วโมงติดกัน

ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีอาการอย่างไร - Heavy Menstrual Bleeding

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

เมื่อประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง มีเลือดออกนอกรอบเดือน มีเลือดออกผิดปกติ หรือเลือดออกหลังเข้าวัยหมดระดู ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

ประจำเดือนมามากผิดปกติ เกิดจากสาเหตุอะไร

  • ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล: ฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจนเตอโรน จะทำหน้าที่ควบคุมรอบเดือนของคนเรา การที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือโรคต่าง ๆ เช่น ภาวะไข่ไม่ตก โรคต่อมไทรอยด์ หรือ กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาจส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ
  • ก้อนไม่เป็นมะเร็งในมดลูก: ติ่งเนื้อในมดลูก เนื้องอกมดลูก มดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจทำให้เซลล์ในมดลูกเติบโตผิดปกติ ทำให้ประจำเดือนมามาก
  • ก้อนมะเร็งในมดลูก: ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว มะเร็งมดลูกมะเร็งปากมดลูกส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้ประจำเดือนมามากได้
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม โรคพยาธิในช่องคลอด และภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบเรื้อรัง
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์: ภาวะเลือดออกมากระหว่างตั้งครรภ์เป็นสัญญาณเตือนของการแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก รอยบุ๋มในแผลผ่าตัดคลอดบุตร 
  • โรคต่าง ๆ: ประจำเดือนที่มามากผิดปกติอาจเกี่ยวข้องกับโรคเลือดทางพันธุกรรม เช่น โรค Von Willebrand และโรคอื่น ๆ เช่น โรคตับ โรคไต ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และภาวะผิดปกติของเกล็ดเลือด
  • การใช้ยา: ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาแอสไพริน การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน ยารักษาโรคมะเร็งเต้านม เช่น Tamoxifen ยาคุมกำเนิดแบบรับประทานและแบบฉีด ห่วงอนามัยคุมกำเนิด อาจส่งผลให้มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก

การตรวจวินิจฉัยประจำเดือนมามากผิดปกติ - How is heavy menstrual bleeding diagnosed?

ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

  • การสอบประวัติและการตรวจร่างกาย แพทย์จะสอบถามอาการ ตรวจร่างกายและตรวจภายใน
  • การตรวจเลือด แพทย์อาจให้ตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับธาตุเหล็กในร่างกาย เพื่อประเมินว่ามีภาวะโลหิตจาง โรคไทรอยด์ และโรคเลือดหรือไม่
  • การตรวจแปบเสมียร์ ช่วยวินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อ การอักเสบ หรือข้อบ่งชี้ของโรคมะเร็งหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด เพื่อประเมินอวัยวะและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกราน
  • การตรวจ Sonohysterogram หรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและน้ำเกลือ ช่วยตรวจวินิจฉัยเยื่อบุผนังของมดลูก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติในโพรงมดลูกได้แม่นยำกว่าการตรวจอัลตราซาวนด์ตามปกติ
  • การตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งและความผิดปกติของเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
  • การตรวจ MRI ช่วยให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยได้ว่ามีโครงสร้างภายในของมดลูกมีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่
  • การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก เป็นการตรวจช่องคลอด ปากมดลูก และมดลูก เพื่อหาติ่งเนื้อ พังผืด และความผิดปกติอื่น ๆ ซึ่งแพทย์สามารถทำการผ่าตัดได้ในเวลาเดียวกัน
  • การเพาะเชื้อ เพื่อดูว่ามีการติดเชื้อในมดลูกหรือไม่

ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีวิธีการรักษาอย่างไร

วิธีการรักษาที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค อายุ ประวัติสุขภาพ การตอบสนองของร่างกายต่อยา และความต้องการของผู้ป่วย สูตินรีแพทย์จะแนะนำทางเลือกการรักษาที่เหมาะกับอาการและการวางแผนมีบุตรของผู้ป่วย

ยา

  • กลุ่มยา NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟนหรือแอสไพริน ช่วยบรรเทาการหดตัวของกล้ามเนื้อและภาวะประจำเดือนมามาก
  • ยาเม็ดคุมกำเนิด วงแหวนคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • การบำบัดด้วยฮอร์โมน ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนในร่างกายให้สมดุล ลดปริมาณประจำเดือน แพทย์มักแนะนำวิธีนี้ให้กับผู้ที่ประจำเดือนมามากเนื่องจากภาวะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
  • ยาต้านการสลายลิ่มเลือด เช่น tranexamic acid ช่วยชะลอการไหลของเลือดได้อย่างรวดเร็ว
  • ยากระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน Gonadotropin ช่วยหยุดหรือลดภาวะเลือดออกได้ชั่วคราว โดยยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่

การผ่าตัด

  • การส่องกล้องผ่าตัดโพรงมดลูก
  • การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก
  • การใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือด เพื่อยับยั้งเลือดไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงก้อนเนื้องอก
  • การทำลายเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกทั้งหมดหรือบางส่วน มักแนะนำให้ทำหมันด้วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงหากผู้ป่วยตั้งครรภ์ เพราะหัตถการดังกล่าวอาจเป็นอันตรายต่อตัวอ่อนที่กำลังเติบโต
  • การตัดมดลูก

วิธีการรักษาแบบใดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละท่าน - Heavy Menstrual Bleeding

วิธีการรักษาแบบใดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละท่าน

โดยปกติแล้วแพทย์มักแนะนำวิธีการรักษาโดยการรับประทานยา

หากผู้ป่วยวางแผนที่จะมีบุตรภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า แพทย์อาจให้รับประทานกลุ่มยา NSAIDs หรือยาต้านการสลายลิ่มเลือด อย่างไรก็ตามกลุ่มยา NSAIDs นั้นอาจมีประสิทธิภาพด้อยกว่าการรักษาด้วยฮอร์โมน

หากผู้ป่วยวางแผนที่จะมีบุตรในอนาคตแต่ไม่เร็ว ๆ นี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน ห่วงอนามัยคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว หรือยาคุมกำเนิดชนิดฉีดที่มีฮอร์โมนโพรเจสตินอย่างเดียว

สำหรับผู้ที่ไม่มีแผนจะมีบุตร สามารถรับประทานยาตามที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยยาคุมกำเนิดแบบมีฮอร์โมนและยาต้านการสลายลิ่มเลือดจะมีประสิทธิภาพการรักษาดีที่สุด

หากการรับประทานยาไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยการผ่าตัด

การป้องกันประจำเดือนมามากผิดปกติ

การป้องกันภาวะประจำเดือนมามากผิดปกตินั้นทำไม่ได้ หากมีอาการที่น่าสงสัย ควรเข้ารับคำปรึกษากับสูตินรีเวชเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสมและเข้ารับการรักษาเพื่อจัดการกับอาการที่มี

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • จดบันทึกอาการที่มีและยาที่กำลังรับประทานอยู่
  • เขียนรายการคำถามที่ต้องการถามแพทย์ เช่น
  • อะไรคือสาเหตุของอาการ
  • จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
  • อาการประจำเดือนมามากผิดปกติเป็นอาการชั่วคราวหรือไม่
  • มีวิธีการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง
  • หากมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้ว ควรจัดการกับโรคอย่างไร

เตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์อาจถาม

  • เริ่มมีอาการเมื่อไร
  • อาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการมาโดยตลอด
  • อาการที่มีนั้นรุนแรงหรือไม่
  • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง

คำถามที่ถามบ่อย

  • ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือไม่
    ปกติแล้วภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่การเสียเลือดมากเกินไปนั้นอาจเป็นอันตราย หากประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง อย่างน้อย 2 ชั่วโมงติดกัน ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย
  • เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปริมาณประจำเดือนที่มีในแต่ละเดือนนั้นปกติ
    เมื่อมีประจำเดือน การเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมงถือเป็นเรื่องปกติ หากต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยกว่านั้นหรือต้องใส่ผ้าอนามัย 2 แผ่นในเวลาเดียวกัน อาจถือได้ว่าประจำเดือนมามาก

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

ภาวะประจำเดือนมามากอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หากอาการส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาและบรรเทาอาการ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. นเรศร สุขเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery