Jaundice in Newborns Banner

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด (Jaundice in Newborns)

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด

แชร์

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน


ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนด (ก่อน 38 สัปดาห์) โดยมีสาเหตุมาจากการที่ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์เต็มที่ จึงไม่สามารถกำจัดสารบิลิรูบิน (bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาการของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ได้แก่ อาการตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งมักปรากฎอาการในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมักไม่รุนแรงและหายได้เองเมื่อการพัฒนาของตับสมบูรณ์ ระดับบิลิรูบินที่สูงมากอาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อภาวะสมองได้รับความเสียหายแต่มักพบได้น้อยมาก

อาการของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

  • ตัวเหลือง
  • ตาเหลือง
  • ใต้ลิ้นเหลือง

สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในแสงธรรมชาติ และทดสอบได้โดยการใช้นิ้วกดลงบนจมูกหรือหน้าผากของทารก หากผิวยังเหลือง นั่นแสดงว่าทารกมีภาวะตัวเหลือง

Jaundice in newborns: healty baby and baby with severe jaundice

สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

  • ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง
  • ภาวะเลือดออก
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด
  • การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • ภาวะเลือดของแม่และบุตรไม่เข้ากัน
  • ตับทำงานผิดปกติ
  • โรคท่อน้ำดีตีบตันในทารก
  • ภาวะขาดเอนไซม์
  • การสลายของเม็ดเลือดแดง

ปัจจัยเสี่ยภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

  • คลอดก่อนกำหนด: ทารกที่คลอดก่อนกำหนด นั่นคือก่อนอายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์ จะยังไม่พัฒนาไม่เต็มที่ ซึ่งจะยังไม่สามารถย่อยสารบิลิรูบินได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับทารกที่คลอดตามกำหนด นอกจากนี้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักรับประทานนมและขับถ่ายน้อยกว่า ทำให้ร่างกายขจัดสารบิลิรูบินออกได้ช้า ทำให้เสี่ยงที่จะตัวเหลือง
  • รอยช้ำจากการคลอด: ทารกที่มีรอยช้ำจากการคลอดมีความเสี่ยงที่จะมีสารบิริลูบินในเลือดสูง
  • หมู่เลือดไม่เข้ากัน: หากหมู่เลือดของมารดาแตกต่างจากบุตร บุตรอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกสลายในทารกแรกเกิด ซึ่งทำให้ระดับบิลิรูบินสูง จนเกิดภาวะตัวเหลืองได้

วิธีการตรวจวินิจฉัยภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

  • การตรวจร่างกาย
  • การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับสารบิลิรูบิน
  • การตรวจวัดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง

เมื่อไรควรพบแพทย์

วันที่ 3 และวันที่ 7 หลังคลอดเป็นช่วงที่ระดับบิลิรูบินสูงที่สุด ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์ หากทารกมีอาการดังต่อไปนี้

  • ตัวเหลือง โดยเฉพาะในบริเวณตาขาว ท้อง แขนและขา
  • ซึมลงหรือป่วย
  • น้ำหนักไม่ขึ้นหรือไม่ยอมดูดนม
  • ร้องไห้ผิดปกติหรือเสียงสูงเหมือนเจ็บปวด
  • อาการอื่น ๆ เช่น อาเจียน ท้องเสีย หายใจลำบาก หรือมีพฤติกรรมที่แปลกออกไป

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

หากทารกมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะตัวเหลือง แพทย์จะนัดให้มาตรวจเพิ่มเติม เมื่ออยู่ที่บ้านควรหมั่นสังเกตอาการและเตรียมตอบคำถามเหล่านี้

  • ทารกรับประทานนมแม่หรือไม่ วันละกี่ครั้ง
  • ทารกปัสสาวะวันละกี่ครั้ง
  • มีสัญญาณหรืออาการป่วยใด ๆ หรือไม่
  • สีผิวหรือตาขาวของทารกเปลี่ยนไปหรือไม่

บิดาหรือมารดาสามารถจดคำถามที่ต้องการถามแพทย์เพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ภาวะตัวเหลืองเกิดจากอะไร
  • จำเป็นต้องตรวจอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
  • แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยวิธีใด
  • อาการที่เป็นอยู่รุนแรงหรือไม่

วิธีการรักษา ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองที่ไม่รุนแรงนั้นสามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่ถ้าทารกได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะตัวเหลืองปานกลางถึงรุนแรง ควรเข้ารับการรักษา ดังต่อไปนี้

  • การรักษาด้วยการส่องไฟ เป็นการใช้แสงสีฟ้าขาวจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อปรับเปลี่ยนรูปร่างและโครงสร้างโมเลกุลของสารบิลิรูบิน เพื่อให้ร่างกายสามารถขับสารดังกล่าวออกทางปัสสาวะและอุจจาระ
  • การถ่ายเลือด หากทารกมีภาวะตัวเหลืองรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่น

การดูแลที่บ้าน

การให้นมแม่บ่อย ๆ จะช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารเพียงพอและป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวลด ยิ่งบริโภคนมแม่บ่อย ก็ยิ่งขับถ่ายบ่อย ช่วยให้ขจัดสารบิลิรูบินได้ไวขึ้น

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 08 ก.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. สันติ ปุณณะหิตานนท์

    ผศ.นพ. สันติ ปุณณะหิตานนท์

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
    Pediatrics, Pediatrics Neonaltal and Perinatal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ฝ้าย สายสมร

    พญ. ฝ้าย สายสมร

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
    Pediatrics, Pediatrics Neonaltal and Perinatal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. วิมลมาศ พรหมสาขา ณ สกลนคร

    พญ. วิมลมาศ พรหมสาขา ณ สกลนคร

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
    Pediatrics Neonaltal and Perinatal Medicine, Breastfeeding, Mastitis, Lactation Consultation
  • Link to doctor
    พญ. อาริยา ประดับมุขศิริ

    พญ. อาริยา ประดับมุขศิริ

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
    Pediatrics, Pediatrics Neonaltal and Perinatal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

    พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
    General Pediatrics, Pediatrics Vaccination, Breastfeeding, Mastitis, Lactation Consultation, Preterm, Twin