สาเหตุ อาการ การตรวจและวิธีรักษากระจกตาอักเสบ  - Symptoms, Causes and Diagnosis of Keratitis

กระจกตาอักเสบ (Keratitis)

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) คือการอักเสบของกระจกตา โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อก็ได้ ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการ เช่น ปวดตา ตาแดง ตาบวม หรือน้ำตาไหล การทำความสะอาดคอนแทกเลนส์อย่างเหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะกระจกตาอักเสบ คืออะไร?

กระจกตาอักเสบ (Keratitis) คือการอักเสบของกระจกตา โดยอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ซึ่งภาวะกระจกตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือเชื้อปรสิต

ภาวะกระจกตาอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ มีสาเหตุหลายอย่างเช่น การบาดเจ็บโดยตรงต่อกระจกตาจากการสวมใส่คอนแทกเลนส์นานเกินไป การมีวัตถุแปลกปลอมฝังที่กระจกตา หรือการอักเสบจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

กระจกตาอักเสบ มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

สาเหตุของภาวะกระจกตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ

  • เชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด
  • เชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรคงูสวัด หรือ เริม โดยภาวะกระจกตาอักเสบจากเริมมักเกิดขึ้นซ้ำได้ 
  • เชื้อรา
  • เชื้อปรสิต เช่น เชื้ออะแคนทามีบา ซึ่งทำให้เกิดภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้ออะแคนทามีบา มักพบในคนที่ใส่คอนแทกเลนส์ว่ายน้ำ

สาเหตุของภาวะกระจกตาอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

  • การได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาเนื่องจากการผ่าตัด อุบัติเหตุ หรือ ขนตาข่วนกระจกตา
  • การใส่คอนแทกเลนส์นานเกินไป
  • มีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
  • ดวงตาสัมผัสกับรังสียูวีมากเกินไป
  • ความผิดปกติของเปลือกตาเช่นเปลือกตาม้วนเข้า หรือมี โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (SLE) เช่น กลุ่มอาการโจเกรน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งมักมีอาการตาแห้งร่วมด้วย ส่งผลให้กระจกตาอักเสบ
  • ภาวะขาดวิตามินเอ

กระจกตาอักเสบ มีอาการอย่างไร?

  • ตาแดง ปวดตา
  • น้ำตาไหล มีขี้ตา
  • ลืมตาไม่ขึ้นเพราะรู้สึกปวดหรือระคายเคืองตา
  • มองเห็นได้ไม่ชัดหรือการมองเห็นลดลง
  • แพ้แสง
  • รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา

กระจกตาอักเสบ มีอาการอย่างไร?

เป็นกระจกตาอักเสบ เมื่อไรที่ควรพบแพทย์?

ผู้ป่วยควรรีบนัดพบจักษุแพทย์หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น การได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีจะส่งผลให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพ การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่ล่าช้าเกินไปโดยเฉพาะในรายที่มีการติดเชื้อรุนแรง อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่ส่งผลต่อการมองเห็นอย่างถาวร

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้กระจกตาอักเสบ มีอะไรบ้าง?

  • ใส่คอนแทกเลนส์นานเกินไป ทำให้ดวงตาได้รับบาดเจ็บและติดเชื้อได้ง่าย
  • ทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อคอนแทกเลนส์ไม่เพียงพอ
  • ใส่คอนแทกเลนส์ขณะอยู่ในสระว่ายน้ำ อ่างอาบน้ำ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
  • ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ตาแห้ง 
  • ดวงตาได้รับบาดเจ็บ รวมถึงการบาดเจ็บจากการผ่าตัด

กระจกตาอักเสบ มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

  • การตรวจดวงตาภายนอกด้วยกล้องจุลทรรศน์ Slit-lamp โดยแพทย์อาจแต้มสีฟลูออเรสซีนบนดวงตาเพื่อให้มองเห็นความผิดปกติที่กระจกตาได้ชัดเจนขึ้น
  • การตรวจในห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์อาจเก็บตัวอย่างน้ำตา ขี้ตาและเซลล์กระจกตาส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตรวจวิเคราะห์อย่างเหมาะสม

กระจกตาอักเสบ มีวิธีการรักษาอย่างไร?

ภาวะกระจกตาอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ

  • ภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย: การรักษาหลักของภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ การใช้ยาหยอดตาปฏิชีวนะ ความถี่ของการใช้ยาหยอดตาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ ซึ่งผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องหยอดวันละ 4 ครั้ง หรืออาจบ่อยถึงทุก ๆ 30 นาทีในชั่วโมงแรก ๆ บางรายอาจต้องตื่นมาหยอดตาในเวลากลางคืน และในบางรายแพทย์อาจให้รับประทานยาปฏิชีวนะควบคู่กัน
  • ภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อรา: การรักษาภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อรา ได้แก่ การใช้ยาต้านเชื้อราหยอดตา ร่วมกับการรับประทานยาต้านเชื้อราควบคู่กันในบางราย
  • ภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัส: การใช้ยาหยอดตาหรือยารับประทานต้านเชื้อไวรัส มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อไวรัส นอกจากนี้การใช้น้ำตาเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
  • ภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้ออะแคนทามีบา: การรักษาภาวะกระจกตาอักเสบจากเชื้อปรสิตอะแคนทามีบา  ได้แก่ การใช้ยาหยอดตาต้านเชื้อปรสิต เชื้ออะแคนทามีบาเป็นเชื้อที่ทนทานต่อยา ตอบสนองต่อการรักษาช้า ทำให้ใช้เวลาในการรักษานานหลายเดือน ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา 
    หากภาวะกระจกตาอักเสบไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาหรือกระจกตาได้รับความเสียหายถาวรจนกระทบต่อการมองเห็น จักษุแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

ภาวะกระจกตาอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค นอกจากการรักษาตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะกระจกตาอักเสบแล้ว การใช้น้ำตาเทียมจะช่วยบรรเทาอาการและกระตุ้นให้แผลและการอักเสบที่กระจกตาดีขึ้น

หลังการรักษาภาวะกระจกตาอักเสบ นานแค่ไหนอาการจึงจะดีขึ้น?

อาการมักจะดีขึ้นภายใน 1-2 วันหลังจากเริ่มรักษา ในรายที่รุนแรงอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้นกว่าที่อาการจะดีขึ้น

กระจกตาอักเสบมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

  • กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือส่งผลให้เกิดแผลเป็นที่กระจกตา
  • กระจกตาติดเชื้อเรื้อรังหรือเป็นซ้ำ มักพบในกลุ่มที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • การมองเห็นแย่ลงชั่วคราวหรือถาวร
  • สูญเสียการมองเห็นถาวร

วิธีป้องกันกระจกตาอักเสบ - Keratitis

กระจกตาอักเสบมีวิธีการป้องกันอย่างไร?

การดูแลคอนแทคเลนส์มีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะกระจกตาอักเสบ

  • ถอดคอนแทกเลนส์ก่อนเข้านอน
  • ล้างทำความสะอาดและเช็ดมือให้แห้งก่อนสัมผัสคอนแทกเลนส์
  • ดูแลเก็บรักษาคอนแทกเลนส์ตามคู่มือ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่เหมาะสำหรับประเภทของคอนแทกเลนส์
  • เปลี่ยนคอนแทกเลนส์ใหม่เมื่อถึงกำหนด
  • เปลี่ยนตลับเก็บคอนแทกเลนส์ทุก 3-6 เดือน
  • ทิ้งน้ำยาแช่คอนแทกเลนส์ในตลับทุกครั้งหลังทำความสะอาดเลนส์ ไม่ควรเทน้ำยาใหม่ผสมกับน้ำยาเก่าในตลับ
  • หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทกเลนส์ขณะว่ายน้ำ

การป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากภาวะกระจกตาติดเชื้อไวรัส

แม้ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันภาวะกระจกตาติดเชื้อไวรัสได้ทั้งหมด การปฏิบัติตามมาตรการดังต่อไปนี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดหรือแพร่กระจายโรคได้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา เปลือกตา หรือผิวหนังรอบดวงตาขณะที่เป็นโรคเริม เว้นแต่ว่าล้างมือทำความสะอาดอย่างหมดจด
  • ใช้ยาหยอดตาตามที่จักษุแพทย์สั่งให้เท่านั้น
  • ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์ เพื่อเข้ารักษากระจกตาอักเสบ

นัดพบแพทย์ทันทีที่มีอาการที่กังวลใจ โดยก่อนพบแพทย์ผู้ป่วยควรงดใส่คอนแทกเลนส์หรือใช้ยาหยอดตา จดบันทึกอาการที่มี ยาที่ใช้และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่กำลังรับประทาน และคำถามที่ต้องการถามแพทย์
ตัวอย่างคำถาม ได้แก่

  • สาเหตุของอาการคืออะไร?
  • จำเป็นต้องมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมหรือไม่?
  • แพทย์แนะนำให้รักษาด้วยวิธีใด มีการรักษาแบบอื่น ๆ หรือไม่?
  • เมื่อไรอาการถึงจะดีขึ้น?

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรเตรียมตอบคำถามที่แพทย์อาจจะถาม ดังต่อไปนี้  

  • เริ่มมีอาการเมื่อไร?
  • มีอาการในตาทั้ง 2 ข้างหรือไม่?
  • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง ได้รับบาดเจ็บที่ดวงตาเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่?
  • ใส่คอนแทกเลนส์หรือไม่?
  • ใส่คอนแทกเลนส์ระหว่างว่ายน้ำหรือไม่?
  • ปกติดูแลรักษาคอนแทกเลนส์อย่างไร?
  • กำลังรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอยู่หรือไม่?
  • เพิ่งเปลี่ยนเครื่องสำอางหรือไม่?

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกระจกตาอักเสบ

  • ภาวะกระจกตาอักเสบ ต่างจากภาวะม่านตาอักเสบอย่างไร?
    ความแตกต่างระหว่างภาวะกระจกตาอักเสบและภาวะม่านตาอักเสบอยู่ที่ตำแหน่งที่เกิดการอักเสบ โดยอาการของโรคทั้งสองนั้นมีความคล้ายคลึงกัน แต่ภาวะม่านตาอักเสบจะเกิดอาการอักเสบที่ผนังลูกตาชั้นกลาง

    ผนังลูกตาชั้นกลาง ได้แก่ ม่านตา เนื้อเยื่อคอรอยด์ เนื้อเยื่อซิลิอะรีบอดี ส่วนภาวะกระจกตาอักเสบจะส่งผลต่อกระจกตา ซึ่งเป็นชั้นเนื้อเยื่อใสที่ปกคลุมม่านตา

    ทั้งนี้โรคตาแดงก็ทำให้เกิดอาการตาแดงได้ เนื่องจากมีการอักเสบที่เยื่อบุตา ในบางรายหากอาการรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบที่กระจกตาได้เช่นกัน ในรายที่อาการอักเสบเกิดขึ้นที่กระจกตาและเยื่อบุตา จะเรียกรวมว่า เยื่อบุตาและกระจกตาอักเสบ

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

เช่นเดียวกับโรคของดวงตาประเภทอื่น ๆ การเข้ารับการรักษาภาวะกระจกตาอักเสบตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นสำคัญ ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสมหากมีอาการปวดตา พร้อมกับมีอาการตาแดง บวม ลืมตาไม่ขึ้น หรือมองเห็นไม่ชัด เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้องและทันท่วงที

กระจกตาอักเสบ - Keratitis Infographic Th

บทความโดย

  • พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน
    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน จักษุแพทย์ผู้ชำนยาญการด้านจักษุวิทยากระจกตา และจักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ

เผยแพร่เมื่อ: 03 เม.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    ศ.พญ. งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    รศ.พิเศษ นพ. ภาคภูมิ คัมภีร์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    การผ่าตัดต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกหลังทำเลสิก, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์ชนิดพิเศษ, ใส่คอนแทคเลนส์, โรคกระจกตาโก่ง, การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสายตาเลือนรางและเทคโนโลยีช่วยการมองเห็น
  • Link to doctor
    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    พญ. สุภาวดี เอื้อจงมานี

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ภาวะสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคต่อมไขมันที่เปลือกตาอุตตัน, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ.   ณัฐรินทร์   ภูษิตโภยไคย

    พญ. ณัฐรินทร์ ภูษิตโภยไคย

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    Ophthalmology, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    รศ. นพ. ปริญญ์ โรจนพงศ์พันธุ์

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดต้อกระจก, ต้อกระจก, โรคต้อหิน, การผ่าตัดต้อกระจกในผู้ป่วยที่มีอาการม่านตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    พญ. มณฑิรา เจิมจุติธรรม

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, Ophthalmology, โรคต้อเนื้อ, โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  • Link to doctor
    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    พญ. วิมลรัตน์ ประทีปะเสน

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    พญ. มาริสา เตชะจงจินตนา

    พญ. มาริสา เตชะจงจินตนา

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ
    การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, ภาวะสายตาผิดปกติ
  • Link to doctor
    รศ.พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    รศ.พญ. วรรณรัตน์ สาธิตพิฐกุล

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคตาแห้งและโรคกระจกตา, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, ต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    พญ. อุษณีย์ เหรียญประยูร

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคต้อเนื้อและการผ่าตัดโดยใช้กาวชีวภาพ, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาโดยใช้สเต็มเซลล์, การผ่าตัดต้อกระจก
  • Link to doctor
    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    พญ. ฐิติมา หวังเจริญ

    • จักษุวิทยา
    • จักษุวิทยากระจกตา
    • จักษุวิทยาผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ (LASIK & SMILE pro)
    • โรคของกระจกตา
    โรคตาแห้งและโรคผิวกระจกตา, โรคทางกระจกตาและตาส่วนนอก, โรคกระจกตาโก่ง, การผ่าตัดต้อกระจก, การผ่าตัดลอกต้อเนื้อโดยไม่เย็บ, การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ, การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา