Kyphosis

หลังค่อม (Kyphosis)

หลังค่อม (Kyphosis) เกิดจากการที่หลังส่วนบน (บริเวณช่วงอก) โค้งมาด้านหน้า มีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังที่โค้ง ทำให้มีปัญหาในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ปัญหาในระบบย่อยอาหาร เป็นต้น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะหลังค่อม (Kyphosis) คืออะไร

ภาวะหลังค่อม (Kyphosis) เกิดจากการที่หลังส่วนบน (บริเวณช่วงอก) โค้งมาด้านหน้า โดยมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังที่โค้ง หลังที่ค่อมไม่มากอาจไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่อาจส่งผลให้ลุกยืนลำบาก ส่วนในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้รู้สึกเจ็บและหายใจลำบากได้ วิธีรักษาภาวะหลังค่อมจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุ ระดับความรุนแรง ประเภทของภาวะหลังค่อม ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย และปัญหาเรื่องการหายใจ

หลังค่อม มีกี่ประเภท

หลังค่อม แบ่งออกเป็นประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • หลังค่อมจากการทรงท่าที่ไม่ถูกต้อง (Postural Kyphosis): ภาวะหลังค่อมประเภทนี้เป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในวัยรุ่น ประเภทนี้เป็นผลมาจากการทรงท่า (การอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง) ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่ยึดกระดูกสันหลังให้อยู่กับที่นั้นถูกยืดออก อย่างไรก็ดี ภาวะหลังค่อมประเภทนี้ไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด
  • โรคกระดูกสันหลังโก่งในเด็ก (Scheuermanns Kyphosis): เป็นโรคที่กระดูกสันหลังมีรูปทรงลิ่มแทนที่จะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ยังไม่ทราบว่าสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้คืออะไร กระดูกสันหลังที่มีรูปทรงเป็นลิ่มจะทำให้สันหลังโค้งงอไปด้านหน้า ส่งผลให้หลังค่อม โรคกระดูกสันหลังโก่งในเด็กอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวดได้ โดยเฉพาะเมื่อยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน
  • หลังค่อมแต่กำเนิด (Congenital Kyphosis): ภาวะหลังค่อมประเภทนี้เป็นภาวะที่เด็กประสบตั้งแต่แรกเกิด โดยมีสาเหตุมาจากกระดูกสันหลังพัฒนาไม่สมบูรณ์ขณะอยู่ในมดลูก อาการจะรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ภาวะหลังค่อมแต่กำเนิดรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ช่วยป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้
  • กระดูกต้นคอโก่ง (Cervical Kyphosis): ประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังส่วนต้น หรือส่วนที่อยู่ใต้ศีรษะโค้งไปด้านหน้าแทนที่จะโค้งไปด้านหลัง
  • หลังค่อมมากกว่าปกติ (Hyper-kyphosis): ประเภทนี้เป็นภาวะที่หลังค่อมมากกว่า 50 องศา พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • หลังค่อมจากข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดชิด (Ankylosing spondylitis): เป็นโรคในกลุ่มโรคข้อกระดูกสันหลังและข้อระยางค์อักเสบ (Spondyloarthropathy หรือ Spondyloarthritis) ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดสะโพกหรือปวดหลังเรื้อรัง

หลังค่อม เกิดจากสาเหตุอะไร

หลังค่อม เกิดจากการที่รูปทรงของกระดูกสันหลังกลายเป็นทรงลิ่มมากขึ้น โดยปัจจัยที่ทำให้รูปทรงของกระดูกสันหลังผิดปกติ ได้แก่

  • กระดูกหัก: กระดูกสันหลังที่โค้งงออาจมีสาเหตุมาจากการแตกหัก ตัวอย่างเช่น ภาวะกระดูกสันหลังยุบตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด
  • ภาวะกระดูกพรุน: เมื่อภาวะกระดูกพรุนส่งผลให้กระดูกสันหลังแข็งแรงน้อยลง กระดูกสันหลังอาจโค้งได้ โดยเฉพาะหากกระดูกสันหลังเกิดการยุบตัวด้วย
  • หมอนรองกระดูกเสื่อม: หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นเหมือนเบาะรองรับกระดูกสันหลัง หากหมอนรองกระดูกเหล่านี้เสื่อมลง ภาวะหลังค่อมอาจรุนแรงขึ้น
  • ปัญหาอื่น ๆ: ภาวะหลังค่อมในเด็กอาจสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ เช่น โรคหนังยืดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) ทั้งนี้ พันธุกรรมยังอาจมีส่วนในการก่อให้เกิดภาวะหลังค่อมแต่กำเนิดด้วย

Kyphosis

หลังค่อม มีอาการอย่างไร

อาการที่พบได้ทั่วไปของภาวะหลังค่อม ได้แก่

  • หลังส่วนบนโค้ง
  • คอยื่น
  • ไหล่ห่อ
  • กล้ามเนื้อแฮมสตริงตึง

ภาวะหลังค่อมรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • ทรงตัวไม่อยู่
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กลั้นอุจจาระไม่อยู่
  • เหนื่อยล้ามาก
  • หายใจติดขัด หายใจถี่
  • ขาชาหรืออ่อนแรง
  • ไหล่และหลังติดแข็งหรือเจ็บ

ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหลังค่อม

  • มีปัญหาในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน: ภาวะหลังค่อมสัมพันธ์กับอาการกล้ามเนื้อหลังอ่อนแรงและปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลุกจากเก้าอี้หรือเดิน นอกจากนี้ยังทำให้มีปัญหาในการขับรถ และเงยหน้ามองได้ลำบาก
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร: เมื่อหลังค่อมมากจนไปบีบลำไส้ อาจทำให้เกิดปัญหา เช่น กรดไหลย้อนและกลืนลำบากได้
  • ปัญหาเรื่องรูปลักษณ์: ผู้ที่มีหลังค่อมอาจรู้สึกไม่พึงพอใจกับรูปร่างตัวเอง

หลังค่อมจะกลายเป็นกระดูกสันหลังคดได้หรือไม่?

ภาวะหลังค่อม จะไม่กลายเป็นภาวะกระดูกสันหลังคด แม้ภาวะทั้งสองจะส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังเหมือนกัน แต่ภาวะหลังค่อมเกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังโค้งนูน ขณะที่ภาวะกระดูกสันหลังคดเกิดเมื่อกระดูกสันหลังโค้งไปด้านซ้ายหรือขวา

หลังค่อม มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร?

แพทย์อาจสั่งตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • เอกซเรย์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์: วิธีนี้ช่วยตรวจดูว่ากระดูกสันหลังผิดรูปหรือไม่ และช่วยตรวจว่ากระดูกสันหลังโค้งกี่องศา
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI): MRI เป็นการใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็ก ใช้ตรวจว่ากระดูกไขสันหลังติดเชื้อหรือมีเนื้องอกหรือไม่
  • การตรวจเส้นประสาท: ในผู้ที่มีอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย แพทย์อาจสั่งให้ตรวจว่ามีการกดทับเส้นประสาทหรือไม่
  • ตรวจวัดความหนาแน่นกระดูก: วิธีนี้ใช้เพื่อตรวจว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ หรืออีกนัยหนึ่งคือ ตรวจว่ากระดูกแข็งแรงมากน้อยเพียงใด

หลังค่อม มีวิธีการรักษาอย่างไร?

วิธีที่ใช้รักษาภาวะหลังค่อมจะแตกต่างไปตามสาเหตุ ความรุนแรง ประเภทของภาวะหลังค่อม รวมถึงอายุและสุขภาพของผู้ป่วยหลังค่อม รักษาได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  • ยา: ยาแก้ปวดและยารักษาโรคกระดูกพรุนช่วยบรรเทาอาการหลังค่อมได้ ทั้งนี้ ยาที่ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกแข็งแรงจะป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังแตกหักมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจทำให้หลังค่อมมากขึ้น
  • ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายที่เน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่หลังอาจช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กระดูกสันหลังและแก้อาการปวดหลังได้
  • ที่พยุงหลัง: เด็กวัยกำลังโตที่กระดูกสันหลังโค้งมากกว่า 65 องศา การใส่ที่พยุงหลังจะช่วยแก้ภาวะหลังค่อมและป้องกันไม่ให้หลังโค้งไปมากกว่าเดิมได้
  • ผ่าตัด: การผ่าตัดช่วยลดความโค้งของกระดูกสันหลังได้ โดยวิธีผ่าตัดที่นิยมใช้รักษาคือ การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal Fusion) อย่างไรก็ดี ผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดรักษาภาวะหลังค่อมได้ ต้องเป็นภาวะสันหลังค่อมตั้งแต่เกิดหรือเป็นโรคกระดูกสันหลังโก่งในเด็ก โดยกระดูกสันหลังต้องโค้งมากกว่า 75 องศา หรือยังมีอาการปวดหลังแม้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัดมาแล้ว

หลังค่อม มีวิธีการป้องกันอย่างไร?

ภาวะหลังค่อมบางประเภทป้องกันไม่ได้ แต่วิธีต่อไปนี้ช่วยป้องกันภาวะหลังค่อมจากการทรงท่าที่ไม่ถูกต้องได้

  • ลดหรือรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • มีการทรงท่าที่ถูกต้อง
  • บริหารกล้ามเนื้อท้องและหลังให้แข็งแรง
  • สำหรับเด็ก ให้ใช้กระเป๋าล้อลากหรือกระเป๋าที่มีทรงแข็งแรงใส่สัมภาระและหนังสือเรียนตอนไปเรียน

ควรพบแพทย์เมื่อใด?

หากสังเกตได้ว่าท่าทางการนั่งหรือยืนของคุณหรือของลูกผิดปกติอย่างเห็นได้ชัดโดยมีสาเหตุมาจากหลังที่ค่อมผิดปกติ ให้รีบปรึกษาแพทย์ และไปที่แผนกฉุกเฉินหากมีอาการหายใจติดขัด

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

หลังค่อม ที่ไม่รุนแรงไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันหรือก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ และสามารถรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตาม จะดีกว่าถ้าเข้ารับการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะแย่ลง ภาวะหลังค่อมรักษาได้ด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด แต่หากไม่ได้ผล จึงจะพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัด และถึงแม้จะเข้ารับการรักษาแล้ว แนะนำให้ปฏิบัติตัวตามแนวทางป้องกันต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดภาวะหลังค่อมซ้ำ

Kyphosis Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 19 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    นพ. เทวเจษฎา ภาเรือง

    • ศัลยกรรมประสาท
    • ศัลยกรรมไขสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง