อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัยและการรักษา ภาวะเต้านมอักเสบ (Matitis)- Symptoms, Causes, Diagnose, Treatment

ภาวะเต้านมอักเสบ (Mastitis)

ภาวะเต้านมอักเสบมักเกิดกับเพศหญิงในช่วงให้นมบุตร (เต้านมอักเสบจากการให้นมบุตร) แต่อาจเกิดในช่วงที่ไม่ได้ให้นมบุตร และยังอาจเกิดกับเพศชายได้ด้วย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เต้านมอักเสบ (Mastitis)

ภาวะเต้านมอักเสบ เกิดขึ้นเมื่อเต้านมมีการติดเชื้อ คนไข้จะมีอาการเจ็บบวมบริเวณเต้านม ผิวหนังเต้านมบวมแดง มีไข้ และอาจมีอาการหนาวสั่นได้

โดยทั่วไปแล้ว ภาวะเต้านมอักเสบมักเกิดกับเพศหญิงในช่วงให้นมบุตร (เต้านมอักเสบจากการให้นมบุตร) แต่อาจเกิดในช่วงที่ไม่ได้ให้นมบุตร และยังอาจเกิดกับเพศชายได้ด้วย

คนไข้ที่มีภาวะเต้านมอักเสบจากการให้นม มักจะมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดูแลเลี้ยงดูบุตร ดังนั้นเพื่อเป็นผลดีสำหรับทั้งแม่และเด็ก ควรใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาควบคู่ไปกับการให้นมบุตรหากพบว่ามีอาการดังนี้

อาการเต้านมอักเสบเป็นอย่างไร

มักจะปรากฏอย่างเฉียบพลันดังนี้

  • เจ็บในเต้านม
  • เต้านมบวม
  • เนื้อเยื่อเต้านมหนาขึ้นจนคลำได้เป็นก้อน
  • มีความรู้สึกเจ็บแสบเวลาให้นมบุตร
  • ผิวหนังบวมแดง
  • รู้สึกมีอาการไม่สบาย
  • มีไข้ 38.3 องศาหรืออาจสูงกว่า

เมื่อไหร่ที่ควรปรึกษาแพทย์

คนไข้ควรเข้ารับการรักษาหากพบว่ามีอาการจากในเต้านมที่ทำให้มีความวิตกกังวล

เต้านมอักเสบ มีสาเหตุเกิดจากอะไร?

สาเหตุหลักที่นำไปสู่อาการอักเสบของเต้านมคือเมื่อน้ำนมเกิดการคั่งสะสมภายในเต้านม หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้ ดังนี้

  • ท่อน้ำนมอุดตัน – เมื่อพบว่าไม่สามารถให้นมบุตรได้จนหมด อาจเกิดจากท่อน้ำนมมีการอุดตัน ซึ่งสามารถนำไปสู่การติดเชื้อได้
  • เชื้อแบคทีเรีย – เชื้อแบคทีเรียอาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางช่องรอยปริของผิวหนังบริเวณหัวนม หรือเมื่อมีท่อน้ำนมที่โป่งตัว แบคทีเรียอาจมาจากการสัมผัสเชื้อจากปากหรือผิวหนังของทารก นอกจากนี้การที่น้ำนมคั่งค้างไม่สามารถไหลได้อย่างปกติ อาจเป็นสาเหตุเสริมให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย

ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเต้านมอักเสบ

  • การเคยมีภาวะเต้านมอักเสบจากการให้นมบุตรในอดีต
  • อาการเจ็บหัวนม หรือภาวะหัวนมปริเป็นแผล ทั้งนี้ในบางกรณีอาจไม่ได้เกิดจากการที่ผิวหนังเกิดรอยแตก
  • การใช้อุปกรณ์รัดเต้านมที่แน่นจนเกินไป เช่น การคาดเข็มขัดนิรภัย หรือการสะพายเป้ รวมถึงการสวมใส่บราที่แน่นจนเกินไป
  • การให้นมบุตรผิดวิธี
  • ความรุ้สึกอ่อนเพลีย หรือมีภาวะความเครียด
  • การขาดสารอาหาร
  • การสูบบุหรี่

ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเต้านมอักเสบ

หากปล่อยภาวะเต้านมอักเสบทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลทำให้ท่อน้ำนมอุดตันซึ่งนำไปสู่การเกิดฝีบริเวณเต้านมได้ โดยเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว คนไข้ควรเข้ารับการรักษาในทันทีที่มีอาการซึ่งอาจมาจากเต้านมอักเสบ

การป้องกันเต้านมอักเสบ มีวิธีการอย่างไร

การป้องกันเต้านมอักเสบ มีวิธีการอย่างไร

เพื่อป้องกันการเกิดเต้านมอักเสบ คนไข้ควรรับคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านการให้นม ซึ่งที่ปรึกษาสามารถให้ข้อแนะนำที่ถูกต้องในการให้นม หรือมีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยในการให้นมบุตรได้ง่ายขึ้น โดยข้อแนะที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเต้านมอักเสบได้ มีดังนี้

  • ในการให้นมบุตรควรตรวจสอบให้น้ำนมไหลออกให้หมด
  • ควรให้นมบุตรข้างใดข้างหนึ่งจนหมด จึงค่อยสลับไปอีกข้างหนึ่ง
  • ปรับเปลี่ยนท่าการให้นมบุตร
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ทำการผูกยึดตัวทารกไว้อย่างดีแล้ว เมื่อจะทำการให้นมบุตร
  • หากคนไข้ติดบุหรี่ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแนวทางการเลิกบุหรี่

เต้านมอักเสบ มีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจสอบอาการที่เกิดขึ้น หรืออาจทำการตรวจน้ำนม เพื่อให้สามารถระบุประเภทยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมในการรักษาได้ ในรายที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง

นอกจากนี้ มะเร็งเต้านมอาจทำให้เกิดการบวมแดงบริเวณเต้านมเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนกับภาวะเต้านมอักเสบ อย่างไรก็ตามมะเร็งเต้านมแบบนี้พบได้น้อยมาก

แพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจ แมมโมแกรมหรืออัลตร้าซาวด์ หรืออาจทำการตรวจทั้ง 2 แบบ หากพบว่าการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหลายขนานแล้วอาการไม่ดีขึ้น และแพทย์อาจต้องทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนไข้ไม่ได้เป็นโรคมะเร็ง

การรักษาเต้านมอักเสบ มีกี่วิธี อะไรบ้าง?

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้รับประทานต่อเนื่องเป็นจำนวน 10 วัน หากพบว่ามีการติดเชื้อ โดยในการรักษาคนไข้จะต้องรับประทานยาให้หมดตามแพทย์สั่งเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และควรปรึกษาแพทย์หากว่าอาการไม่ดีขึ้น
  • การใช้ยาบรรเทาอาการปวดแพทย์อาจแนะนำให้ยาบรรเทาอาการปวด เช่น อะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโพรเฟนในการรักษาเต้านมอักเสบ โดยคนไข้สามารถทำการให้นมบุตรต่อได้แม้ว่ามีอาการเต้านมอักเสบ เนื่องจากการให้นมบุตรจะสามารถรักษาการติดเชื้อได้ ซึ่งหากว่าทารกเข้าสู่ช่วงหย่านมพอดี อาจทำให้อาการที่เป็นหนักขึ้นได้

นอกจากนี้แพทย์อาจทำการส่งตัวคนไข้ต่อไปยังที่ปรึกษาด้านการให้นมเพื่อรับข้อแนะนำเพิ่มเติม ข้อแนะนำเทคนิคในการให้นมบุตรมีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการการทิ้งน้ำนมล้นเต้าไว้เป็นระยะนาน ก่อนให้นมบุตรในครั้งต่อไป
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทารกดูดนมอย่างถูกวิธี ซี่งอาจทำได้ยากหากว่าท่อน้ำนมเกิดการอุดตัน โดยอาจใช้วิธีบีบน้ำนมออกด้วยมือก่อนเริ่มให้นม จะช่วยทำให้การให้นมบุตรง่ายขึ้น
  • ทำการนวดเต้านมขณะที่ทำการปั้มนม – โดยนวดคลึงบริเวณใต้หัวนม
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำนมระบายออกได้หมด – อาจทำการประคบร้อนบริเวณเต้านมก่อนทำการปั้มนม ในกรณีที่คนไข้ไม่สามารถระบายน้ำนมออกได้หมด
  • ในการป้อนนมให้เลือกข้างที่มีอาการก่อน โดยเฉพาะเมื่อทารกหิวจัด
  • การปรับเปลี่ยนท่าการให้นมบุตร

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และเคล็ดลับการดูแลตนเอง

  • หลีกเลี่ยงการทำให้น้ำนมล้นเต้าทิ้งไว้เป็นระยะนานก่อนถึงเวลาให้นมบุตร
  • ทำการประคบเย็นบริเวณเต้านมหลังจากการให้นมบุตร
  • การใช้ยกทรงที่ช่วยในการประคับประคองเต้านม
  • พักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์

หากแพทย์คาดว่าคนไข้มีอาการเต้านมอักเสบ อาจทำการส่งต่อเพื่อรับการรักษาจากสูตินรีแพทย์ หรืออาจส่งต่อเพื่อรับคำแนะนำจากที่ปรึกษาการให้นมบุตร ในกรณีที่คนไข้มีปัญหาเกี่ยวกับการให้นมบุตร

  • จดอาการที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมทั้งอาการที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับเต้านมอักเสบ
  • จดรายการยา วิตามิน หรืออาหารเสริมที่ใช้ในช่วงเวลานั้น
  • จดข้อมูลการเข้ารับการรักษาอื่นๆของตนเอง รวมถึงอาการเจ็บป่วยอื่นๆ
  • จดรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่เด่นชัด หรือภาวะความเครียดที่มี
  • จดคำถามที่จะถามแพทย์

คำถามที่อาจใช้ในการปรึกษาแพทย์ได้ มีดังนี้

  • เราควรรับการรักษาหรือไม่ อาการเต้านมอักเสบจะสามารถหายเองได้หรือไม่
  • เราทำการดูแลรักษาตัวเองที่บ้านได้อย่างไรบ้าง
  • อาการจะสามารถส่งแพร่ไปถึงทารกได้หรือไม่
  • ยาที่ได้รับจะเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่หากใช้ยาควบคู่ไปกับการให้นมบุตร
  • จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาหรือไม่ และต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานเท่าไหร่
  • อาการสามารถเกิดซ้ำได้อีกหรือไม่ มีวิธีป้องกันอย่างไร

ประเด็นที่แพทย์อาจถาม
แพทย์อาจจะถามคนไข้เกี่ยวกับประเด็น ดังนี้

  • คนไข้มีอาการมานานเท่าไหร่ และอาการอักเสบเป็นที่เต้านมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • อาการเจ็บปวดมีความรุนแรงระดับใด
  • คนไข้มีเทคนิคในการให้นมบุตรอย่างไร
  • คนไข้เคยมีอาการเต้านมอักเสบมาก่อนหรือไม่

บทความโดย

  • ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย โอเจริญรัตน์
    ศาสตราจารย์ ดร.นพ. พรชัย โอเจริญรัตน์ ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเต้านมและมะเร็งเต้านม

เผยแพร่เมื่อ: 07 มิ.ย. 2022

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    นพ. กฤษณ์ กิติสิน

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    รศ.พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. นวลพรรณ พลชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    General Surgery
  • Link to doctor
    พญ. จียิน  วรวิทธิ์เวท

    พญ. จียิน วรวิทธิ์เวท

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ตกแต่งเพื่อความงาม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
    Reconstructive Microsurgery, Breast Cosmetic and Reconstruction, Lymphatic Surgery, Facial Paralysis Reconstruction, Facial Reanimation, Endoscopic Carpal Tunnel Release
  • Link to doctor
    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Breast Surgery, Vascular Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. กรวรรณ จันทรจำนง

    พญ. กรวรรณ จันทรจำนง

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
  • Link to doctor
    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast and Thyroid Surgery, Breast Conserving Surgery, Breast Reconstruction with Autologous Flap and Prosthesis, Transaxillary Endoscopic Thyroidectomy
  • Link to doctor
    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    นพ. วรเทพ กิจทวี

    นพ. วรเทพ กิจทวี

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
  • Link to doctor
    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    พญ. รับพร สุขพานิช

    พญ. รับพร สุขพานิช

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Thyroid Surgery, Parathyroid Surgery
  • Link to doctor
    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    นพ. ชินวัตร วิสุทธิแพทย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    General Surgery, Breast Surgery, Laparoscopic Abdominal Surgery, Endoscopic Thyroid Surgery, Surgical Treatment of Gastrointestinal Malignancies, Breast Cancer Surgery
  • Link to doctor
    นพ. จิรัฎฐ์ ธีราประดิษฐ์

    นพ. จิรัฎฐ์ ธีราประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา