การรักษาโรคหลอดเลือดสมองวิธี Mechanical thrombectomy

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองวิธี Mechanical thrombectomy

Mechanical thrombectomy คือ การรักษาภาวะหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันเฉียบพลันด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยขณะทำหัตถการแพทย์จะใส่สายหรือท่อเล็กๆเข้าไปในหลอดเลือดแดงและฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือดแดงสมอง

แชร์

การรักษาโรคหลอดเลือดสมองวิธี Mechanical thrombectomy

Mechanical thrombectomy คือ การรักษาภาวะหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันเฉียบพลันด้วยเครื่องเอกซเรย์ โดยขณะทำหัตถการแพทย์จะใส่สายหรือท่อเล็กๆเข้าไปในหลอดเลือดแดง และฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองและบริเวณคอพร้อมๆกับการถ่ายภาพเอกซเรย์บริเวณนั้น และใช้วิธีการเพื่อนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมองหรือบริเวณคอออกมา

กระบวนการรักษาด้วยวิธีการนี้ มี 5 ขั้นตอนหลัก

  1. การสอดสาย (Catheter) แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการสอดสายเข้าไปซึ่งมักเป็นบริเวณขาหนีบ ข้อมือ หรือข้อพับแขน จากนั้นฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณผิวหนัง เมื่อท่านรู้สึกชาแพทย์จะสอดสายเข้าไปในหลอดเลือดแดง ซึ่งอาจทำให้ท่านรู้สึกอึดอัดเหมือนถูกกดทับบริเวณนั้น สายที่ถูกสอดเข้าไปในหลอดเลือดแดงจะปรากฏบนจอเอกซเรย์ (เหมือนจอโทรทัศน์)
  2. การฉีดสารทึบรังสี เมื่อสอดสายเข้าไปอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว แพทย์จะทำการฉีดสารทึบรังสีผ่านสายเข้าไป โดยภาพจะปรากฏบนจอแสดงภาพเอกซเรย์และถูกบันทึกไว้ ขณะฉีดสารทึบรังสีท่านจะรู้สึกอุ่นๆ อยู่ข้างในหลอดเลือด (เป็นอยู่ประมาณ 2-3 วินาที) ในบางท่านอาจ ต้องมีการฉีดสารทึบรังสีและถ่ายภาพเอกซเรย์หลายครั้ง เพื่อให้การตรวจดูหลอดเลือดโดยละเอียด
  3. การรักษาด้วยการนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมองออกมา แพทย์จะสอดสายเข้าไปในหลอดเลือดแดงและวางตำแหน่งบริเวณที่หลอดเลือดอุดตัน วิธีการนำเอาลิ่มเลือดออกมาแพทย์อาจใช้สายสวนหลอดเลือดขนาดกลางดูดออกโดยตรงหรือวางขดลวดแล้วดึงออกมาพร้อมกับลิ่มเลือด

ในบางกรณีที่หลอดเลือดสมองตีบหรือผนังฉีกขาด แพทย์อาจทำการขยายหลอดเลือดสมองด้วยบอลลูนหรือใส่ขดลวด (Stent) บริเวณหลอดเลือดที่มีปัญหา

  1. ถอนสายออก หลังจากการตรวจหลอดเลือดเสร็จสมบูรณ์ แพทย์จะถอนสายออกจากหลอดเลือดแดง ซึ่งการถอนสายออกนี้ไม่เจ็บ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการกดบริเวณหลอดเลือดที่ถูกสอดสายเข้าไป ประมาณ 10-15 นาที
  2. ผู้ป่วยที่ได้รับเฉพาะการฉีดยาชาเฉพาะที่ จะย้ายไปสังเกตอาการต่อที่ห้องสังเกตอาการหลังผ่าตัดเป็นเวลา 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยปกติดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะย้ายไปสังเกตอาการต่อที่หอผู้ป่วย

ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับเฉพาะการฉีดยาชาเฉพาะที่และยาระงับประสาท จะย้ายไปสังเกตอาการต่อที่ห้องสังเกตอาการหลังผ่าตัดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยปกติดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะย้ายไปสังเกตอาการต่อที่หอผู้ป่วย

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีการนี้

ปัจจุบันเป็นการรักษามาตรฐานสากลสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลัน ที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษา

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

  1. ภาวะเลือดออก
  2. ภาวะติดเชื้อ
  3. เกิดการบาดเจ็บต่อหลอดเลือด
  4. ปฏิกิริยาต่อสารทึบรังสี
  5. การอุดตันของหลอดเลือดอย่างเฉียบพลัน ถ้าเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมองอาจทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตได้ แต่อุบัติการณ์เกิดน้อยมาก
  6. ปฏิกิริยาต่อยานอนหลับที่ให้ทางหลอดเลือด


การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการ

  1. ผู้ป่วยและญาติควรทราบถึงวิธีการรักษา ผลดีของการรักษา รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึ่งประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการรักษา
  2. ผู้ป่วยจะได้รับการสอบถามประวัติการแพ้ยา อาหารทะเล และโรคต่างๆ
  3. เอกซเรย์ปอด, ตรวจเลือด โดยเฉพาะค่าการทำงานของไตและการเข็งตัวของเลือด, กรณีผู้ป่วยอายุ> 35 ปี ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  4. ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น Aspirin, Plavix, Warfarin ควรแจ้งให้แพทย์รับทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะเลือดออกและต้องกดแผลนานกว่าปกติ
  5. งดอาหารและน้ำดื่มก่อนการตรวจ 6 ชั่วโมง
  6. ผู้ป่วยจะได้รับการโกนขนบริเวณขาหนีบที่จะสอดสายสวนหลอดเลือด
  7. ผู้ป่วยต้องเซ็นใบยินยอมเพื่อรับการตรวจรักษา


การปฏิบัติตัว/การดูแลหลังการรักษา

  1. เข้ารับการรักษาต่อในห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU)
  2. นอนราบ ห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  3. ถ้ามีอาการชาหรือเย็น หรือซีดบริเวณแขนหรือขาที่ได้รับการสอดสาย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทันที
  4. พันผ้าพันแผลไว้ 8 ชั่วโมง ถ้ามีเลือดออกควรนอนลงและแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทันที
  5. ถ้าไม่พบความผิดปกติใดๆ ใน 8 ชั่วโมง แพทย์อาจพิจารณาให้ท่านสามารถกลับบ้านได้
  6. ควรพักผ่อน 24 ชั่วโมงภายหลังการตรวจ
  7. แพทย์จะให้สารน้ำทางสายน้ำเกลือ และตรวจดูแผลที่ทำหัตถการในช่วง 2-3 วันหลังทำว่าไม่มีแผลบวมแดงร้อน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการฟักฟื้น อาจเกิดปฏิกิริยากับสารทึบรังสี (Delayed Contrast Reaction)


ทางเลือกอื่นในการรักษา

การให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันตามข้อบ่งชี้ แต่ในกรณีที่ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ ยาละลายลิ่มเลือดอาจไม่สามารถละลายลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดสมองได้หมด ทำให้ผู้ป่วยยังคงมีอาการของอัมพฤกษ์อัมพาตและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสมองขาดเลือดได้

เอกสารอ้างอิง

  1. org. Catheter Angiography. Available from: https://www.radiologyinfo.org/en/info.cfm?pg=angiocath [Accessed 22 May 2020]
  2. Acute Stroke Management in the Era of Thrombectomy. Edgar A. Samaniego

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 11 ก.ค. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

    ผศ.นพ. มณฑล ว่องวันดี

    • ประสาทวิทยา
    ภาวะสมองเสื่อม, โรคปวดศีรษะ, ไมเกรน, โรคหลอดเลือดสมอง, อาการสั่น, โรคพาร์กินสัน, อาการเวียนศีรษะ, บ้านหมุน
  • Link to doctor
    พญ. เพชรพลอย ภูวคีรีวิวัฒน์

    พญ. เพชรพลอย ภูวคีรีวิวัฒน์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    ฝังเข็ม, โรคหลอดเลือดสมอง, ฉีดยาและฝังเข็มลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
  • Link to doctor
    นพ. ปโยธร เดชะรินทร์

    นพ. ปโยธร เดชะรินทร์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
  • Link to doctor
    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.

    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.

    • ประสาทวิทยา
    • โรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต)
    • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
    โรคทางสมองและระบบประสาท, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคความผิดปกติของหลอดเลือดสมองและคอ, โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง , ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง คอและไขสันหลังจากโรคหรืออุบัติเหตุ