ผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก เหมาะกับใคร ผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก, ประโยชน์ ขั้นตอนdkiผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก - Minimally Invasive Heart Surgery, Who is Suitable for Minimally Invasive Heart Surgery?

การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก (Minimally Invasive Heart Surgery)

การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก คือเทคนิคการรักษาโรคหัวใจอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์ผ่าตัดหัวใจผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็กขนาดเพียง 2-3 นิ้ว เสียเลือดน้อย เจ็บปวดน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก (Minimally Invasive Heart Surgery)

การผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก คือเทคนิคการรักษาโรคหัวใจอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้แพทย์ผ่าตัดหัวใจผ่านแผลผ่าตัดขนาดเล็กขนาดเพียง 2-3 นิ้ว ซึ่งสามารถรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดหัวใจแบบเดิมหรือแบบเปิดแล้ว นอกจากแผลผ่าตัดจะเล็กลง ความจำเป็นในการให้เลือดน้อยกว่า ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่า และฟื้นตัวได้เร็ว เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี

ใครเหมาะกับการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก?

ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจทุกคนจะสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กได้ แพทย์จะทำการพูดคุย ประเมินและตัดสินใจร่วมกับผู้ป่วยว่าการผ่าตัดแบบใดที่เหมาะสมกับสุขภาพและโรค โดยโรคที่สามารถทำการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กได้นั้น ได้แก่ การผ่าตัดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นระรัว การผ่าตัดเพื่อรักษารูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบน (Atrial septal defect) และการผ่าตัดเนื้องอกที่หัวใจ

ใครเหมาะกับการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก-Who is Suitable for Minimally Invasive Heart Surgery?

ผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กนั้นมีความเสี่ยงพอ ๆ กันกับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด อันได้แก่ การเสียเลือด การติดเชื้อ หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย หลอดเลือดสมอง หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต

ในบางกรณี แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาจากการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กเป็นผ่าตัดหัวใจแบบเปิด หากปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากกว่า

ประโยชน์ของการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก

ประโยชน์ของการผ่าตัดหัวใจแผลเล็กนั้นมีมากมาย ผู้เข้ารับการรักษาจะมีรอยแผลผ่าตัดที่เล็กลง มีแผลเป็นขนาดเล็กลง  ความจำเป็นในการให้เลือดน้อยกว่า พึ่งพาการใช้ท่อหายใจระยะเวลาสั้นกว่า หลังการผ่าตัดผู้ป่วยรู้สึกปวดน้อยกว่า พักฟื้นในโรงพยาบาลน้อยกว่า ฟื้นตัวเร็วกว่า และมีความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า

เตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก - Minimally Invasive Heart Surgery

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก

  • อาหารและยา: ควรสอบถามแพทย์ว่ายังสามารถรับประทานยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำได้หรือไม่ ต้องงดน้ำหรืออาหารนานเท่าไรก่อนเวลาผ่าตัด
  • เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว: ไม่ทาเล็บหรือใส่เครื่องประดับของมีค่ามาที่โรงพยาบาล ถอดคอนแทกเลนส์ ตุ้มหู แว่นตา ฟันปลอม เครื่องช่วยฟังก่อนเข้ารับการผ่าตัด นำเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้ง่ายมาเปลี่ยนในวันที่จะกลับไปพักฟื้นที่บ้าน
  • ครอบครัว: ควรพูดคุยกับครอบครัวเรื่องสภาพร่างกาย อาการของโรค การเข้ารับการรักษาตัวและพักฟื้นที่โรงพยาบาล การพักฟื้นที่บ้าน โดยปกติแล้วผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในช่วงที่กลับไปพักฟื้นที่บ้าน

ขั้นตอนการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก

  1. ก่อนการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก
    เจ้าหน้าที่จะทำการโกนขนหน้าอก และทำความสะอาด ฆ่าเชื้อบริเวณที่จะทำการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

  2. ระหว่างการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก
    แพทย์จะทำการกรีดแผลผ่าตัดขนาดเล็กบริเวณระหว่างซี่โครงบริเวณหน้าอก เพื่อสอดสายติดกล้องเข้าไปภายในเพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นอวัยวะภายในได้  เครื่องปอดและหัวใจเทียมจะช่วยพยุงชีพผู้ป่วย โดยทำหน้าที่แทนหัวใจและปอดระหว่างการผ่าตัด
    ศัลยแพทย์จะสอดกล้องวิดีโอขนาดเล็ก ที่เรียกว่ากล้อง Thoracoscope เข้าไปยังรอยกรีดแผลผ่าตัดรอยหนึ่งระหว่างกระดูกซี่โครง จากนั้นจะทำการผ่าตัดหัวใจ โดยใช้เครื่องมือขนาดเล็กผ่านรอยแผลอีกรอย
  3. หลังการผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก
    ผู้เข้ารับการรักษาจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในหอผู้ป่วยวิกฤติ ผู้ป่วยจะได้รับสารน้ำและยาผ่านทางหลอดเลือด ได้รับออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจน หรือ ทางท่อช่วยหายใจทางจมูก ปัสสาวะและสารน้ำอื่น ๆ จะถูกระบายผ่านทางสายยาง โดยผู้ป่วยจะพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยวิกฤติเป็นเวลา 2 วัน

    หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะย้ายไปยังห้องในหอผู้ป่วยปกติ ทีมแพทย์และพยาบาลจะหมั่นตรวจสัญญาณชีพ สังเกตสัญญาณการติดเชื้อ จัดการอาการปวดหลังผ่าตัด ช่วยให้คนไข้ขยับตัว และสอนวิธีการหายใจแบบใช้กระบังลมและการไอเพื่อกำจัดเสมหะออกจากทางเดินหายใจ และจะพักฟื้นในโรงพยาบาลอีก 3-5 วัน

    ก่อนกลับบ้าน เจ้าหน้าที่จะอธิบายวิธีการปฏิบัติตนขณะที่พักฟื้นอยู่ที่บ้าน ซึ่งจะรวมไปถึงการเฝ้าระวังการติดเชื้อ การดูแลทำความสะอาดแผลผ่าตัด การรับประทานยา และการจัดการกับอาการปวดและไม่สบายตัว ผู้ป่วยอาจสอบถามแพทย์ว่าเมื่อไรถึงสามารถกลับไปขับรถ ทำงาน หรือออกกำลังกายได้

การพักฟื้นหลังผ่าตัดหัวใจแผลเล็ก ควรทำอย่างไร?

หลังการผ่าตัด ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำเพื่อประเมินการทำงานของหัวใจ ขณะเดียวกันผู้ป่วยควรดำเนินชีวิตที่ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และจัดการกับความเครียดที่มี สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ ควรเลิกหรือหยุดสูบบุหรี่ หรือหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบ นอกจากนี้การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจก็ช่วยให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 16 พ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ศ.คลินิก นพ. เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์

    ศ.คลินิก นพ. เกรียงชัย ประสงค์สุกาญจน์

    • ศัลยศาสตร์
    • การผ่าตัดโรคหัวใจและทรวงอก
    โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี

    นพ. ประดิษฐ์ชัย ชัยเสรี

    • ศัลยศาสตร์
    • การผ่าตัดโรคหัวใจและทรวงอก
    การผ่าตัดหัวใจและปอด
  • Link to doctor
    นพ. สุพิชฌาย์ วงศ์มณี

    นพ. สุพิชฌาย์ วงศ์มณี

    • ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
    • การผ่าตัดโรคหัวใจและทรวงอก
    • กุมารศัลยศาสตร์หัวใจและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    Cardiothoracic Surgery, Coronary Artery Bypass Grafting, การใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO), การผ่าตัดหัวใจ, ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ, การผ่าตัดโรคหัวใจในเด็ก, ผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่, ผ่าตัดปอดแบบแผลเล็ก, โรคมะเร็งปอด, ผ่าตัดเนื้องอกในปอด, มะเร็งปอดที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น, ภาวะปอดรั่ว, ภาวะหนองขังในปอด, Mediastinal Tumor, เนื้องอกต่อมไทมัสและเนื้องอกผนังทรวงอก, ผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องแบบใส่หลอดเลือดเทียมผ่าเส้นเลือด, ผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องอกแบบใส่หลอดเลือดเทียมผ่าเส้นเลือด, ภาวะเหงื่อออกมือ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. บุลวัชร์ หอมวิเศษ

    ผศ.นพ. บุลวัชร์ หอมวิเศษ

    • ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    • การผ่าตัดโรคหัวใจและทรวงอก
    ผ่าตัดปอดแบบแผลเล็ก, โรคมะเร็งปอด, ผ่าตัดเนื้องอกในปอด, Metastatic Lung Lesions, ภาวะปอดรั่ว, Empyema Thoracic, Pleural Effusion, Mediastinal Tumor, Chest Wall Tumor, Lung Volume Reduction Surgery, Surgery for Chronic Thromboembolism Pulmonary Hypertension (CTEPH), Minimally Invasive Cardiac Surgery, Heart and Lung Transplantation