ตรวจ MRA สร้างภาพหลอดเลือด ระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย - Magnetic Resonance Angiography (MRA)

ตรวจ MRA (Magnetic Resonance Angiography)

ตรวจ MRA คือ การตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิต โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ซึ่งช่วยในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งหรือลิ่มเลือดอุดตัน

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ตรวจ MRA (Magnetic Resonance Angiography)

ตรวจ MRA คือ การตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิต โดยที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย (non-invasive technique) ซึ่งช่วยในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งหรือลิ่มเลือดอุดตัน ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้สารเปรียบเทียบความชัด (gadolinium-based MR contrast agents) ร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความคมชัดของภาพและการตรวจวินิจฉัยอย่างแม่นยำ

MRA คืออะไร

MRA คือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการช่วยสร้างภาพหลอดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิตออกมาเป็นภาพ 2 มิติหรือ 3 มิติ ซึ่งเทคนิคการตรวจนี้จะช่วยในตรวจหาความผิดปกติของหลอดเลือด

MRA ต่างจาก Computed Tomographic Angiography (CTA) อย่างไร

ทั้ง MRA และ CTA ต่างเป็นการตรวจหลอดเลือดโดยที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย แต่มีความแตกต่างกันในบางประเด็น ดังนี้

  • CTA เป็นการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้รังสีในการสร้างภาพ การตรวจด้วย CTA มักใช้ระยะเวลาสั้นกว่า MRA และจำเป็นต้องใช้สารทึบรังสี (Iodinated contrast agents) ซึ่งแตกต่างจากสารเปรียบเทียบความชัดที่ใช้ในการตรวจ MRA
  • MRA ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสร้างภาพ จึงไม่มีการใช้รังสีในการตรวจ อย่างไรก็ดี การตรวจนี้จะใช้เวลานานกว่าการตรวจ CTA และไม่จำเป็นต้องใช้สารเปรียบเทียบความชัดในทุกราย ขึ้นกับการดุลยพินิจของรังสีแพทย์

การเลือกใช้วิธี MRA หรือ CTA ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ทางคลินิก และดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา 

MRA ต่างจาก Magnetic Resonance Imaging (MRI) อย่างไร

MRI คือการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุในการสร้างภาพอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในร่างกายโดยละเอียด ภาพที่ได้มีความละเอียดสูง

MRA ถือเป็นเทคนิคหนึ่งของการตรวจ MRI ที่เน้นการสร้างภาพของหลอดเลือดและระบบไหลเวียนโลหิต เพื่อวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดโป่งพอง หรือการตรวจหาก้อนเนื้องอกในหลอดเลือด

MRA ต่างจาก Magnetic Resonance Imaging (MRI) อย่างไร

เมื่อไรที่ควรเข้ารับการตรวจ MRA  

แพทย์จะทำการตรวจ MRA เพื่อวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคหลอดเลือด เช่น

  • ภาวะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด (Aortic dissection)
  • โรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurysm)
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด (Vascular thrombosis)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติเอวีเอ็ม (Arteriovenous malformation)
  • โรคหลอดเลือดตีบ (Artery stenosis)
  • ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) 
  • โรคหัวใจแต่กำเนิด (Congenital heart disease)

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนเข้ารับการตรวจ MRA

ก่อนเข้ารับการตรวจ MRA

กรุณาแจ้งแพทย์ให้ทราบ ดังนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • มีประวัติแพ้ยา
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต
  • มีสิ่งแปลกปลอมฝังในร่างกาย เช่น ลิ้นหัวใจ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุกสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ ขดลวดหรือคลิปหนีบบริเวณที่หลอดเลือดสมองโป่งพอง อุปกรณ์ให้ยาใต้ผิวหนัง (Port-A-Cath) อวัยวะเทียม ท่อต่าง ๆ (stent) ทันตกรรมประดิษฐ์ที่ทำจากโลหะ หรือมีรอยสักที่ใช้หมึกสักลายผสมโลหะ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีการประเมินว่าหากมีสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ สามารถเข้ารับการตรวจได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • การตรวจ MRA ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ใส่ประสาทหูเทียม
  • หากกลัวที่แคบ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อจะมีการเตรียมยาระงับความรู้สึก
  • ไม่สวมใส่เครื่องประดับใด ๆ และเลี่ยงการขับขี่รถยนต์ด้วยตัวเองในวันตรวจ

ระหว่างเข้ารับการตรวจ MRA

  • ผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นชุดที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้
  • ขณะอยู่ในห้องตรวจ ผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นต้องนอนนิ่งๆ เพื่อความคมชัดของภาพ โดยระหว่างการตรวจท่านจะได้ยินเสียงดังจากตัวเครื่องซึ่งจะมีที่อุดหูให้ใส่เพื่อลดเสียงดัง หากระหว่างที่อยู่ในเครื่อง MRI ท่านมีความรู้สึกไม่สบาย ท่านสามารถกดปุ่มเพื่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา ในการตรวจบางประเภทอาจจะมีการฉีดสารเปรียบเทียบความชัดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ

หลังเข้ารับการตรวจ MRA

  • รังสีแพทย์จะตรวจดูรูปภาพเพื่อหาความผิดปกติของหลอดเลือด แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติมหากจำเป็น
  • หลังการตรวจ หากมีอาการผิดปกติควรแจ้งเจ้าหน้าที่ เช่น อาการแพ้สารเปรียบเทียบความชัด

การตรวจ MRA มีความเสี่ยงอะไรบ้าง

การตรวจ MRA เป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย (non-invasive technique) และถือเป็นการตรวจที่ปลอดภัย อย่างไรก็ดี ขณะฉีดสารเปรียบเทียบความชัดทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย เวียนศีรษะ หรือ ปวดท้อง หรือเกิดอาการแพ้สารเปรียบเทียบความชัดซึ่งพบน้อยมากได้ ในผู้ป่วยโรคไตชนิดรุนแรงอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ nephrogenic systemic fibrosis ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการได้รับสารเปรียบเทียบความชัดได้

การตรวจ MRA อันตรายหรือไม่

การตรวจ MRA เป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการได้รับรังสี X-ray และบางการตรวจสามารถตรวจวินิจฉัยโดยไม่ต้องใช้สารเปรียบเทียบความชัดทางหลอดเลือดดำได้

คำถามที่มักถามบ่อย

  • การตรวจ MRA จำเป็นต้องใช้สารเปรียบเทียบความชัด (Gadolinium-based MR contrast agents) หรือไม่
    การตรวจ MRA ไม่จำเป็นต้องใช้สารเปรียบเทียบความชัดเสมอไป แต่บางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้สารเปรียบเทียบความชัดเพื่อเพิ่มความชัดเจนของภาพ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยยิ่งขึ้น
  • การตรวจ MRA ใช้เวลานานเท่าไร
    ตรวจ MRA จะใช้เวลาตรวจโดยประมาณ 20-60 นาที ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และโรคที่แพทย์สั่งตรวจ

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตรวจ MRA ช่วยให้แพทย์เห็นภาพหลอดเลือดในร่างกายอย่างละเอียด ตรวจพบความผิดปกติของหลอดเลือด วินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม ช่วยติดตามผลการรักษาโรคหลอดเลือด และประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 09 ธ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. อาภารัตน์ สกุลจันทร์

    พญ. อาภารัตน์ สกุลจันทร์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. รวิสรา เลิศไพศาล

    พญ. รวิสรา เลิศไพศาล

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. พินพร เจนจิตรานันท์

    พญ. พินพร เจนจิตรานันท์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. นิทรา  ปิยะวิเศษพัฒน์

    ผศ.พญ. นิทรา ปิยะวิเศษพัฒน์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    Thoracic Imaging
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยาโรคทรวงอก, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องสร้างภาพในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, อัลตร้าซาวนด์
  • Link to doctor
    พญ. นิยตา จิตรภาษย์

    พญ. นิยตา จิตรภาษย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. นภิศา บุนนาค

    พญ. นภิศา บุนนาค

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. มณทนีย์ พึ่งพงษ์

    พญ. มณทนีย์ พึ่งพงษ์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    นพ. ศิโรช วงศ์ไวศยวรรณ

    นพ. ศิโรช วงศ์ไวศยวรรณ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธรรมนูญ เรืองชัยจตุพร

    ผศ.นพ. ธรรมนูญ เรืองชัยจตุพร

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    ภาพวินิจฉัยกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    พญ. พัชรี หงษ์สมาทิพย์

    พญ. พัชรี หงษ์สมาทิพย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีรศักดิ์ ผิวปลั่ง

    ผศ.นพ. ธีรศักดิ์ ผิวปลั่ง

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, ภาพวินิจฉัยในเด็ก
  • Link to doctor
    พญ. ปิยพร บุญศิริคำชัย

    พญ. ปิยพร บุญศิริคำชัย

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง