ครรภ์แฝด ท้องแฝด อาการ - Multiple Pregnancy, Symptoms and Signs

การตั้งครรภ์แฝด ท้องแฝด (Multiple Pregnancy)

ตั้งครรภ์แฝด ท้องลูกแฝด (Multiple Pregnancy) คือ การตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาต่าง ๆ ในการตั้งครรภ์

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ตั้งครรภ์แฝด ท้องแฝด

การตั้งครรภ์แฝด หรือ ท้องลูกแฝด (Multiple Pregnancy) เป็นการตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน ขึ้นไป ยิ่งมีทารกในครรภ์มากเท่าไร ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

การตั้งครรภ์แฝดเกิดขึ้นได้อย่างไร

การตั้งครรภ์แฝด เกิดขึ้นได้ 2 วิธี ได้แก่

  • ไข่ 1 ใบปฏิสนธิแล้วเกิดการแบ่งตัวก่อนฝังตัวในโพรงมดลูก เกิดเป็นแฝดแท้
  • ไข่ 2 ใบขึ้นไปที่ปฏิสนธิกับอสุจิคนละตัวในเวลาเดียวกัน เกิดเป็นแฝดเทียม

ในการตั้งครรภ์แฝดสามขึ้นไป ทารกในครรภ์จะเป็นได้ทั้งแฝดแท้ แฝดเทียม หรือผสมกันไป ซึ่งเกิดได้เมื่อมีไข่ที่ปฏิสนธิมากกว่า 1 ใบ

แฝดแท้จะมีเพศเดียวกันตลอดจริงหรือไม่

ในเมื่อแฝดแท้เกิดจากไข่ใบเดียวกัน จึงมีสารพันธุกรรมที่เหมือนกัน ทำให้มีเพศเดียวกันเสมอ โดยเพศของทารกในครรภ์จะกำหนดโดยชนิดของเซลล์อสุจิที่ปฏิสนธิกับไข่ ซึ่งเซลล์อสุจิแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เซลล์ที่มีโครโมโซม X และเซลล์ที่มีโครโมโซม Y หากไข่ ซึ่งมีโครโมโซม X เสมอ ปฏิสนธิกับอสุจิที่มีโครโมโซม X ตัวอ่อนจะเป็นเพศหญิง หากปฏิสนธิกับอสุจิที่มีโครโมโซม Y ตัวอ่อนก็จะเป็นเพศชาย

สาเหตุหรือปัจจัยที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แฝด

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดมีหลายประการ เช่น

  • ผู้หญิงอายุ 35 ปี จะมีโอกาสสูงที่จะตั้งครรภ์ลูกแฝดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพไข่
  • มีแฝดในครอบครัว
  • ใช้ยากระตุ้นการตกไข่
  • การรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) เพราะแพทย์อาจพิจารณาใส่ตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัวเข้าไปในมดลูก

สัญญาณของการตั้งครรภ์แฝดมีอะไรบ้าง

อาการที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์แฝดอาจมากกว่าการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว อาการที่อาจส่งสัญญาณว่ากำลังตั้งครรภ์แฝด ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง
  • มีระดับฮอร์โมนเอชซีจี (hCG หรือ Human Chorionic Gonadotrophin) สูงกว่าค่ามาตรฐาน

ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์แฝด มีอะไรบ้าง

การตั้งครรภ์แฝดมักจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากกว่าการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ตั้งครรภ์แฝดจะพบกับปัญหาในการตั้งครรภ์เสมอไป ตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์แฝด ได้แก่

  • คลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์แฝด ครรภ์แฝดมีแนวโน้มจะคลอดก่อนกำหนดมากกว่าการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว
  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โดยอาจเกิดได้ตั้งแต่หลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และผู้ที่ตั้งครรภ์แฝดจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ทารกคนเดียว
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีสาเหตุมาจากปริมาณฮอร์โมนจากรกมากกว่าครรภ์ปกติ
  • ภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เป็นภาวะที่เด็กในครรภ์เจริญเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักตัวตอนเกิดต่ำ มีผู้ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดเกือบครึ่งหนึ่งที่มีภาวะแทรกซ้อนนี้
  • แฝดแท้ที่ใช้รกเดียวกัน อาจเกิดภาวะที่คนหนึ่งซีดและอีกคนหนึ่งเลือดเข้ม (Twin-anemia-polycythemia Sequence) กล่าวคือ เด็กคนหนึ่งจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ ขณะที่อีกคนจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินไป หรือ Twin-twin Transfusion Syndrome (TTTS)

วิธีดูแลตัวเองให้แข็งแรงขณะตั้งครรภ์แฝด ต้องทำอย่างไร

สิ่งสำคัญสำหรับสตรีตั้งครรภ์แฝด คือ การได้รับสารอาหารเพียงพอ โดยให้เน้นการรับประทานโปรตีนและดื่มน้ำให้มาก พยายามทานอาหารให้ได้แคลอรี่ต่อวันให้เพิ่มขึ้นที่ 300 แคลอรีต่อทารกในครรภ์ 1 คน รับประทานธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรพักผ่อนอย่างเพียงพอเพื่อช่วยคลายความเครียดที่เกิดขึ้น และพบแพทย์เป็นประจำเพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับการดูแลที่ดีที่สุด

ออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ - Exercises during a multiple pregnancy

ขณะตั้งครรภ์แฝดสามารถออกกำลังกายได้ไหม

ส่วนใหญ่แล้วการออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์แฝดสามารถทำได้ ให้เน้นการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและกระชับรูปร่าง การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่

  • ว่ายน้ำ
  • โยคะสำหรับคนท้อง
  • การเดิน

แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

วิธีคลอดสำหรับครรภ์แฝดเป็นอย่างไร

ปัจจัยที่แพทย์จะพิจารณาเพื่อแนะนำคุณแม่ว่าควรคลอดวิธีใด ได้แก่ สุขภาพของแม่ สุขภาพของทารกในครรภ์ ตำแหน่งของทารกในครรภ์ รวมถึงอายุครรภ์

วิธีคลอดมี 2 วิธี ได้แก่

  1. คลอดทางช่องคลอด
    สำหรับครรภ์แฝดคู่ แม้ทารกแฝดคนแรกจะอยู่ในท่ากลับหัวเพื่อเตรียมคลอด และคลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้ แต่แฝดอีกคนอาจไม่อยู่ในท่ากลับหัว ต้องทำการผ่าคลอด การคลอดทางช่องคลอดจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะอาจเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นกับทารกแฝดได้ โดยความเสี่ยงในการคลอดทางช่องคลอดที่อาจเกิดขึ้นได้คือสายสะดือย้อย
  2. การผ่าตัดทำคลอด (Cesarean section) แพทย์มักจะเลือกวิธีผ่าท้องทำคลอดเมื่อ 
    • แฝดมากกว่า 2 คน
    • ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
    • สตรีตั้งครรภ์มีภาวะทางสุขภาพบางประการที่ทำให้คลอดธรรมชาติไม่ได้
    • ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต (Fetal distress)
    • ทารกแฝดอยู่ในถุงน้ำเดียวกัน (Monoamniotic twin)

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค

การตั้งครรภ์แฝด มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและปัญหาต่าง ๆ มากกว่าการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว เช่น การคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก ดังนั้น แนะนำให้ผู้ตั้งครรภ์แฝดพบแพทย์เป็นประจำเพื่อติดตามสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 05 ส.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    รศ.นพ. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย   เรืองแก้วมณี

    นพ. ศุภชัย เรืองแก้วมณี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    ผศ.นพ. ศักนัน มะโนทัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. มงคล จันทาภากุล

    นพ. มงคล จันทาภากุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Laparoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    พญ. กมลภัทร วิจักขณ์พันธ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    รศ.นพ. บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    พญ. ศรพิณ อามาตย์ทัศน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    นพ. นพดล ไชยสิทธิ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    นพ.   วรชัย ชื่นชมพูนุท

    นพ. วรชัย ชื่นชมพูนุท

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. ดำรง ตรีสุโกศล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    พญ. ศศิวรรณ สุทัสน์มาลี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    พญ. มัฏฐวัณณ์ จามิกร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    ผศ.นพ. ธีระภัทร เจริญวิทย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
    Obstetrics and Gynecology, Maternal and Fetal Medicine, Fetal Anomalies, Fetal Cardiology