อาการ สาเหตุ วิธีการวินิจฉัยและการรักษา กล้ามเนื้อฉีกขาด - Muscle strains- Symptoms, Causes, Diagnose, Treatment

กล้ามเนื้อฉีกขาด

คืออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเส้นใยที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


กล้ามเนื้อฉีกขาด

กล้ามเนื้อฉีกขาดคืออาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเส้นใยที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อกับกระดูก หรือที่เรียกว่าเส้นเอ็น กล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาดหรือยืดเหยียดมากจนเกินไป กล้ามเนื้อฉีกขาดที่เล็กน้อยมักจะดีขึ้นได้โดยการรักษาตัวที่บ้าน ในขณะที่การรักษากล้ามเนื้อฉีกขาดที่รุนแรงอาจต้องอาศัยยาบางชนิด การทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัดซ่อมแซม

กล้ามเนื้อฉีกขาด มีอาการอย่างไร

ผู้ที่มีกล้ามเนื้อฉีกขาดอาจพบสัญญาณและอาการที่แตกต่างกันไปตามความรุนแรง เช่น

  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดหรือแข็งกดเจ็บ
  • การเคลื่อนไหวที่จำกัด
  • รอยแดงหรือช้ำ
  • บวม

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์?

โดยปกติกล้ามเนื้อฉีกขาดสามารถรักษาและดีขึ้นได้ด้วยการรักษาตัวที่บ้าน อย่างไรก็ตามหากอาการแย่ลงหรือมีอาการปวดชาหรือมีการเหน็บชาจนทนไม่ได้แนะนำให้พบแพทย์

กล้ามเนื้อฉีกขาด มีสาเหตุเกิดจากอะไร

กล้ามเนื้อฉีกขาดอย่างรุนแรงหรือเรื้อรังมักเกิดจากเหตุการณ์บางอย่าง เช่น การยกของหนักหรือการบาดเจ็บซ้ำ ๆ

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการกล้ามเนื้อฉีกขาด

ความเสี่ยงของกล้ามเนื้อฉีกขาดจะเพิ่มขึ้นในผู้ที่เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เช่น ฟุตบอล ชกมวย และมวยปล้ำ กีฬาประเภทต่างๆอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาดในบริเวณที่แตกต่างกัน เช่น

  • กีฬาที่มีการออกตัวและกระโดดอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ขาและข้อเท้า
  • กีฬาที่มีการใช้มือคว้า อาจเพิ่มโอกาสในการบาดเจ็บที่มือ
  • กีฬาที่มีการขว้างปา อาจทำให้ข้อศอกได้รับบาดเจ็บ

กล้ามเนื้อฉีกขาด มีวิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาอาการบางอย่าง เช่น อาการบวมและกดเจ็บ รวมถึงบริเวณที่ปวด ซึ่งอาจสามารถระบุถึงความเสียหายได้ แพทย์อาจใช้การทำอัลตราซาวนด์เพื่อแยกประเภทของการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน

กล้ามเนื้อฉีกขาด มีวิธีการรักษาอย่างไร

โดยปกติอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถรักษาได้ที่บ้าน คุณอาจต้องดูแลตนเองทันทีด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • การพักผ่อน - หลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่อาจทำให้เเกิดหรือเพิ่มความเจ็บปวด บวม หรือไม่สบายตัว
  • การประคบเย็น - ใช้ถุงน้ำแข็งหรือแผ่นความเย็นประคบบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บทันที เป็นเวลา 15-20 นาที ทุก ๆ สองถึงสามชั่วโมง โดยเฉพาะในช่วงสองถึงสามวันแรกของการบาดเจ็บ
  • การพันผ้ารัด - พันรัดบริเวณที่บาดเจ็บด้วยผ้าพันแผลที่ยืดหยุ่นเพื่อหยุดอาการบวม
  • การยกบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ - ยกบริเวณที่บาดเจ็บขึ้นเหนือระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม

นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาอาการปวด และแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความแข็งแรงของข้อหรือแขนขาที่ได้รับบาดเจ็บ ทั้งนี้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดซ่อมแซมโดยเฉพาะในผู้ที่มีเส้นเอ็นฉีกขาด

การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์

ก่อนการนัดหมายคุณอาตเตรียมข้อมูลบางอย่าง เช่น

  • อาการที่เกิดขึ้น
  • ปัญหาทางการแพทย์ที่มี
  • ยา วิตามิน และอาหารเสริมทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่
  • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูล เช่น

  • ลักษณะการเคลื่อนไหวระหว่างเกิดการบาดเจ็บ
  • เสียงหรือความรู้สึก คล้ายเสียงเปาะหรือดังแหลม
  • จุดเริ่มต้นของอาการ
  • การรักษาที่ได้กระทำก่อนการพบแพทย์
  • การบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้น

เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    พญ. อลิศรา อารีราชการัณย์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    นพ. อนุชาต ลลิตวงศ์ชัย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    เวชศาสตร์การกีฬา, ผ่าตัดส่องกล้องโรคข้อและการบาดเจ็บทางกีฬา
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    นพ. ธีระ โรจน์พรประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ถาวร ศิษยนเรนทร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา