อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคลมหลับ, Narcolepsy - Symptoms, Causes and Treatment

โรคลมหลับ

โรคลมหลับ คือ ปัญหาเรื่องการนอนหลับเรื้อรัง ที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ และรู้สึกง่วงนอนโดยฉับพลัน การทำให้ตัวเองรู้สึกตัวตื่นอยู่กลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับ

แชร์

โรคลมหลับ

โรคลมหลับ คือ ปัญหาเรื่องการนอนหลับเรื้อรัง ที่มีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ และรู้สึกง่วงนอนโดยฉับพลัน การทำให้ตัวเองรู้สึกตัวตื่นอยู่กลายเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับ โรคลมหลับมักทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy ซึ่งเป็นการสูญเสียแรงกล้ามเนื้ออย่างเฉียบพลัน เป็นอาการที่ถูกกระตุ้นโดยอารมณ์รุนแรง ปัจจุบันยังไม่พบวิธีรักษาโรคลมหลับ แต่เราสามารถดูแลอาการได้โดยการรับประทานยา การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน และคนรอบข้าง

ปกติเราจะเข้าสู่การนอนหลับผ่านช่วง การนอนหลับตื้น หรือ Non-rapid eye movement (NREM) Stage N1 ซึ่งความถี่คลื่นสมองเริ่มช้าลง ตามด้วยการนอนหลับที่ระดับลึกขึ้น คือ Stage N2 และ N3 แล้วจึงค่อยย้อนทางหลับตื้นขึ้นจนเข้าสู่การหลับแบบ Rapid Eye Movement (REM) ซึ่งเราจะฝันในช่วงนี้ ผู้ป่วยโรคลมหลับจะเข้าสู่การหลับในระดับ REM ทันทีโดยไม่ผ่านช่วงนอนหลับแบบ NREM ไม่ว่าจะเป็นการนอนตอนกลางวันหรือกลางคืน ในขณะที่ตื่นหรือเริ่มง่วงผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบ cataplexy รู้สึกว่าร่างกายเป็นอัมพาตตอนนอน หรือที่เราเรียกว่า ผีอำ และเห็นภาพหลอน ซึ่งคล้ายกับการฝันตอนนอนหลับลึก

ประเภทของโรคลมหลับ

  • โรคลมหลับประเภทที่ 1 เป็นโรคลมหลับพร้อมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy
  • โรคลมหลับประเภทที่ 2 เป็นโรคลมหลับที่ไม่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง


อาการของ
โรคลมหลับ

  • อาการง่วงนอนมากผิดปกติ ทําให้ผู้ป่วยหลับได้ทุกที่ทุกเวลา โดยอาจผล็อยหลับไปในขณะที่ทำงานหรือคุยอยู่โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า หลังจากตื่นนอนผู้ป่วยจะรู้สึกสดชื่น แต่ในไม่ช้าก็จะผล็อยหลับไปอีก ผู้ป่วยจึงมีปัญหาในการจดจ่อกับการทำงาน การเรียนหนังสือ หรือการทำกิจกรรมประจําวัน
  • อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy เป็นอาการที่บังคับกล้ามเนื้อไม่ได้ เกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์รุนแรง เช่น ความรู้สึกกลัว โกรธ ตื่นเต้น เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยหัวเราะอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น คอตก เข่าอ่อน ผู้ป่วยโรคลมหลับบางรายเท่านั้นที่จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • การเป็นอัมพาตตอนนอน หรือ ผีอำ เป็นอาการที่ขยับเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้เมื่อผล็อยหลับหรือกำลังตื่นนอน มักเกิดขึ้นเพียง 2-3 วินาทีหรือ 2-3 นาที แต่อาจทำให้ผู้ป่วยกลัว การเป็นอัมพาตตอนนอนคล้ายกับกลไกของร่างกายตอนหลับลึก ซึ่งจะป้องกันร่างกายไม่ให้ขยับไปมาขณะฝัน ผู้ที่มีอาการอัมพาตตอนนอนอาจไม่ได้เป็นโรคลมหลับ ผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคลมหลับอาจรู้สึกเป็นอัมพาตตอนนอนหรือผีอำได้หลายครั้ง
  • การเห็นภาพหลอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    • เห็นภาพหลอนตอนผล็อยหลับ
    • เห็นภาพหลอนตอนเริ่มรู้สึกตัวตื่นนอน

การเห็นภาพหลอนอาจรู้สึกสมจริงและน่ากลัวสำหรับผู้ป่วยโรคลมหลับเพราะผู้ป่วยยังหลับไม่สนิทและคิดว่าความฝันคือความจริง

สาเหตุของโรคลมหลับ

ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคลมหลับ แต่พบว่าผู้ป่วยโรคลมหลับแบบที่ 1 และผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบ cataplexy มีระดับไฮโปครีติน (hypocretin) ต่ำ ไฮโปครีตินเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่สั่งการให้ร่างกายตื่นและหลับลึก  การสูญเสียเซลล์ผลิตไฮโปครีตินในสมองอาจเป็นผลมาจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง การที่สมองได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง การติดเชื้อ หรือสัมผัสสารพิษ หรือไข้หวัดหมู

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมหลับเท่าที่ทราบนั้นมีไม่มากนัก เช่น 

  • อายุ ผู้ป่วยโรคลมหลับมักเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 10-30 ปี
  • ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคลมหลับมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมหลับสูงถึง 20 ถึง 40 เท่า


ภาวะแทรกซ้อน

  • โรคอ้วน
    การเคลื่อนไหวร่างกายในเวลากลางวันที่น้อยลงจะทำให้ระบบการเผาผลาญอาหารต่ำและมวลกล้ามเนื้อลดลง
  • การได้รับบาดเจ็บทางกาย
    ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บทางร่างกายเพิ่มสูงขึ้นเพราะผู้ป่วยอาจทำให้ตัวเองตกอยู่ในอันตรายหากผล็อยหลับขณะขับรถหรือทำอาหาร
  • ปัญหาด้านการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    อารมณ์โกรธ มีความสุข หรืออารมณ์รุนแรงอื่น ๆ อาจไปกระตุ้นอาการโรคลมหลับ ผู้ป่วยโรคลมหลับอาจผล็อยหลับไปและไม่มีส่วนร่วมทางสังคมระหว่างงานพบปะสังสรรค์ ส่งผลต่อการเข้าสังคมและทำให้ผู้ป่วยแยกตัวเองออกจากผู้อื่น
  • ความเข้าใจผิดเรื่องอาการของโรค
    ผู้ที่ไม่รู้จักและเข้าใจอาการของโรคลมหลับอาจมองว่าผู้ป่วยแค่ขี้เกียจหรือขี้เซา  อาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติยังเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการทำงาน  


การตรวจวินิจฉัยโรคลมหลับ

การวิเคราะห์การนอนหลับเชิงลึกจะดําเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเพื่อวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคลมหลับและตัดสาเหตุอื่น ๆ ออกไป เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับและการอดนอน

  • การซักถามประวัติการนอนหลับ รวมถึงการพูดคุยถึงนิสัยการนอนหลับในแต่ละวันและการทํา Epworth Sleepiness Scale ซึ่งเป็นแบบสอบถามเพื่อวัดระดับความง่วงนอน
  • การบันทึกการนอนหลับ ทำได้โดยการเขียนไดอารี่การนอนหลับเพื่อบันทึกตารางการตื่นนอนและการนอนหลับ โดยแพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่ actigraph ซึ่งคล้ายกับนาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ (smart watch) เพื่อประเมินการทำกิจกรรมระหว่างวัน รูปแบบการนอนหลับและตื่นนอน และนาฬิกาชีวิต (circadian rhythms)
  • การตรวจการนอนหลับ (Polysomnography) คือการสังเกตการหายใจและวัดคลื่นไฟฟ้าของสมองและหัวใจและการเคลื่อนไหวของดวงตาและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยอาจต้องนอนที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจ
  • การตรวจความง่วงนอน (Multiple sleep latency test) เป็นการตรวจเวลาที่เริ่มง่วงนอน ผู้ที่เป็นโรคลมหลับจะหลับง่ายและมักเริ่มหลับลึกภายใน 15 นาที


การรักษาโรคลมหลับ

การใช้ยารักษาโรคลมหลับ

การใช้ยามีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการง่วงนอนตอนกลางวันที่มากเกินไปและเพิ่มความตื่นตัว

  • ยากระตุ้น เช่น โมดาฟินิล (modafinil) และอาร์โมดาฟินิล (armodafinil) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยตื่นในตอนกลางวัน โดยอาจมีผลข้างเคียง เช่น อาการวิตกกังวล ปวดศีรษะและคลื่นไส้ แต่มักพบได้น้อย
  • ยาโซเดียมออกซีเบต (Sodium oxybate) สามารถรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy ได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยเรื่องการนอนในตอนกลางคืน
  • ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressants) เช่น ยาอิมิพรามีน (imipramine) ยาโพรทริปไทลีน (protriptyline) และยาโคลมิพรามีน (clomipramine) มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด cataplexy แต่อาจทําให้เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะและปากแห้ง

ในขณะที่รับประทานยาเหล่านี้ ควรหลีกเลี่ยงยาหรือผลิตภัณฑ์แก้แพ้ (antihistamine) เพราะยาแก้แพ้จะต้านฮีสตามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สมองตื่นตัว

การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต

การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตสามารถช่วยจัดการกับอาการของโรคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • มีนิสัยการนอนหลับที่ดีและทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นอนหลับและตื่นเวลาใกล้เคียงกันทุกวัน หลีกเลี่ยงการนอนดึกในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์
  • ทําให้ห้องนอนเป็นสถานที่ที่เหมาะต่อการนอนหลับ สภาพแวดล้อมในห้องนอนควรมืด เงียบ เย็นสบาย และสะดวกสบาย นำทีวี คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ไปไว้นอกห้องนอน
  • กำหนดกิจวัตรก่อนนอน เช่น อาบน้ำอุ่น นั่งสมาธิ หรือฟังเพลงเบา ๆ ก่อนเข้านอน เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่ หรือการรับประทานอาหารหรือน้ำในปริมาณมากก่อนนอน





บทความโดย
นพ.สุรศักดิ์ โกมลจันทร์

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา
ประวัติแพทย์

นพ.จิรยศ จินตนาดิลก

อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ
ประวัติแพทย์

 

บทความโดย

  • นพ. สุรศักดิ์ โกมลจันทร์
    นพ. สุรศักดิ์ โกมลจันทร์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านประสาทวิทยา
  • ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ อัครธนวัฒน์

    นพ. วสันต์ อัครธนวัฒน์

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา
    โรคระบบประสาท, Interventional Neuroradiology, โรคหลอดเลือดสมอง
  • Link to doctor
    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    พญ. ฐาปนี สมบูรณ์

    • ประสาทวิทยา
    • โรคลมชัก
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    โรคลมชักและการผ่าตัดโรคลมชัก, โรคความผิดปกติระหว่างการนอนหลับ
  • Link to doctor
    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    ดร.พญ. จิรดา ศรีเงิน

    • ประสาทวิทยา
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, โรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย

    นพ. ธนบูรณ์ วรกิจธำรงค์ชัย

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา
  • Link to doctor
    พญ. จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

    พญ. จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

    • ประสาทวิทยา
    • ประสาทวิทยา