อาการย้ำคิดย้ำทำ สาเหตุ การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ - Symptoms and Causes of Obsessive-Compulsive Disorder (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ผู้ป่วยมีความย้ำคิดหรือมีความคิดผุดขึ้นมาเรื่อย  ๆ ซ้ำ ๆ จนนำไปสู่การย้ำทำหรือการทำอะไรซ้ำ ๆ ไม่สามารถควบคุมความคิดของตนได้ และส่วนใหญ่จะทราบดีว่าความคิดเหล่านั้นไม่สมเหตุสมผล

แชร์

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ผู้ป่วยมีความย้ำคิดหรือมีความคิดผุดขึ้นมาเรื่อย  ๆ ซ้ำ ๆ จนนำไปสู่การย้ำทำหรือการทำอะไรซ้ำ ๆ โดยปกติแล้วการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำนั้น ได้แก่ การเข้ารับจิตบำบัดและการรับประทานยาควบคู่กันไป  โรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ราว 50% ของผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นจะเริ่มมีอาการในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น อายุเฉลี่ยที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการคืออายุ 19 ปี

อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

อาการย้ำคิด คือการคิดถึงสิ่งหรือภาพที่ผุดขึ้นมารบกวนจิตใจซ้ำ ๆ จนทำให้รู้สึกวิตกกังวลเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำไม่สามารถควบคุมความคิดของตนได้ และส่วนใหญ่จะทราบดีว่าความคิดเหล่านั้นไม่สมเหตุสมผล ยกตัวอย่างเช่น

  • กลัวที่จะสัมผัสกับสิ่งของ เนื่องจากเป็นกังวลห่วงเรื่องความสกปรกหรือเชื้อโรค หรือแพร่เชื้อโรค
  • วิตกว่าจะทำให้ตัวเองและผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายถ้าไม่ระแวดระวังมากพอ
  • มีความคิดผุดขึ้นมาที่ไม่เหมาะสมเรื่องเพศ
  • กลัวว่าจะทำอะไรผิด
  • หมกหมุ่นเรื่องศีลธรรม
  • ถามซ้ำ ๆ เพราะต้องการคำยืนยันหรือต้องการได้ยินคำพูดที่สร้างความมั่นใจอยู่เสมอ
  • หมกหมุ่นเรื่องความเป็นระเบียบ สมมาตร ความเรียบร้อย และความสมบูรณ์แบบ

อาการย้ำทำ คือการทำอะไรซ้ำ ๆ ซึ่งผู้ป่วยรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำเพื่อคลายความกังวล ผู้ป่วยไม่ชอบที่ต้องทำอะไรซ้ำ ๆ แต่การกระทำนั้นช่วยบรรเทาอาการย้ำคิดได้ชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น

  • ชอบจัดเรียงสิ่งของแบบใดแบบหนึ่งเป็นพิเศษ
  • ชอบอาบน้ำหรือล้างมือบ่อย ๆ 
  • ชอบเก็บของที่ไม่มีคุณค่าทางจิตใจหรือมูลค่าใด ๆ 
  • ชอบตรวจกลอน ประตู หรือสวิตช์ไฟ 
  • มีพิธีรีตองที่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น ต้องทำงานบางอย่างในช่วงเวลาที่กำหนด ชอบนับเลข มีความชอบหรือไม่ชอบตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งโดยเฉพาะ
  • พูดคำหรือสวดมนต์เมื่อทำกิจกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือจับสิ่งของที่คิดว่าสกปรก

อาการและสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive Compulsive Disorder (ocd)

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคย้ำคิดย้ำทำ แต่ปัจจัยที่อาจส่งผลนั้น ได้แก่

  • พันธุกรรม: ความเสี่ยงยิ่งมากขึ้นหากบุคคลในครอบครัวสายตรงเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น 
  • โครงสร้างของสมองที่เปลี่ยนไป: ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำมีโครงสร้างของสมองในส่วน frontal cortex และ subcortical ต่างจากคนทั่วไป
  • โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองในเด็กที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อสเตรปโทคอกคัส (PANDAS Syndrome): มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอาการเจ็บคอจากเชื้อติดเชื้อสเตรปโทคอกคัสหรือไข้อีดำอีแดง 
  • บาดแผลทางจิตใจในวันเด็ก

การตรวจวินิจฉัยอาการย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

  • การซักประวัติ
  • การคัดกรองตามคู่มือการวินิจฉัยฉบับ DSM-5 (Diagnostic and statistical manual of mental disorders) ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
    • ผู้ป่วยมีอาการย้ำคิดหรือย้ำทำ หรือทั้ง 2 อย่าง
    • ผู้ป่วยใช้เวลามากกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน ทำสิ่งที่เป็นอาการย้ำคิดหรือย้ำทำ
    • ผู้ป่วยมีความทุกข์ใจจนรบกวนการเรียน การทำงาน หรือกิจวัตรประจำวัน
    • อาการไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้ยา สารเสพติดหรือโรคอื่น ๆ 
    • อาการไม่ได้เกิดจากโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ โรคคิดหมกหมุ่นกับรูปลักษณ์ของตนเอง

วิธีการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

  • จิตบำบัด
    • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้น และจัดการกับนิสัยหรือความคิดทำร้ายตนเอง
    • การป้องกันการสัมผัสและการตอบสนอง (ERP) ช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญหน้ากับความกลัวและยับยั้งกับอาการย้ำทำ เช่น เมื่อต้องสัมผัสกับสิ่งของที่สกปรก ต้องยับยั้งชั่งใจตัวเองไม่ให้ไปล้างมือทำความสะอาด 
    • การบำบัดแบบยอมรับและให้สัญญา (ACT) ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับอาการย้ำคิดว่าเป็นเพียงแค่ความคิดเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทำตาม 
    • การนั่งสมาธิและการเจริญสติ
  • ยารักษา แพทย์อาจให้รับประทานยา เช่น ยาต้านเศร้า selective SRIs (SSRIs) ยาแก้ซึมเศร้า serotonin reuptake inhibitors (SRIs) ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก
  • การกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS) แพทย์อาจแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธีนี้หากอาการรุนแรงและไม่ดีขึ้นจากการรักษาด้วยวิธีอื่น 

การเข้ารับการรักษาเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญต่อการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ ถ้าหากเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา ควรรีบแจ้งแพทย์โดยทันที

ภาวะแทรกซ้อนของโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

  • ปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคทางผิวหนังที่เกิดจากการล้างมือบ่อย ๆ 
  • ปัญหาที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือการเข้าร่วมสังคม
  • ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์
  • ซึมเศร้า
  • การทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย

วิธีป้องกันตนเองจากโรคย้ำคิดย้ำทำ Obsessive Compulsive Disorder (ocd)

วิธีป้องกันตนเองจากโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำไม่สามารถป้องกันได้ แต่ควรเข้ารับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงและรบกวนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

จดอาการที่มี เช่น สิ่งที่คิดถึงซ้ำ ๆ หรือทำบ่อย ๆ เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ประวัติสุขภาพของตนเองและของครอบครัวสายตรง ยาที่กำลังรับประทานอยู่ และคำถามที่ต้องการถามแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น

  • อาการที่เป็นนั้นเป็นอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำใช่หรือไม่?
  • มีการรักษาแบบใดบ้างที่เหมาะกับอาการที่เป็น?
  • จำเป็นต้องรับประทานยาหรือไม่?
  • ควรทำอะไรให้อาการดีขึ้น?
  • ควรเตรียมตัวตอบคำตอบที่แพทย์อาจจะถาม เช่น 
    • เริ่มมีอาการเมื่อไร?
    • อาการเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่?
    • อะไรที่ทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง?
    • มักจะล้างมือ นับสิ่งของต่าง ๆ หรือตรวจเช็คสิ่งต่าง ๆ บ่อย ๆ หรือไม่?
    • มีคนในครอบครัวมีปัญหาทางสุขภาพจิตหรือไม่?

คำถามที่พบบ่อย

  • โรคย้ำคิดย้ำทำต่างจากโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดย้ำคิดย้ำทำอย่างไร?
    โรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางบุคลิกภาพที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ ความเป็นระเบียบ และการควบคุม
    ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำทราบว่าอาการย้ำคิดย้ำทำของตนนั้นก่อปัญหาและต้องได้รับการรักษา แต่ผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่คิดว่าการกระทำหรือความเชื่อของตนนั้นผิดปกติ 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 18 ม.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง

    พญ. ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง

    • จิตเวชศาสตร์
    • จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    จิตเวชศาสตร์, จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ