อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกันออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome - Symptoms, Causes, Treatment and Prevention

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังเนื่องจากการนั่งทำงานอย่างไม่เหมาะสม พบได้บ่อยในพนักงานออฟฟิศที่มักใช้เวลานั่งทำงานนาน ๆ ในท่าเดิม ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ด้วยตัวอาการแล้วไม่ได้จัดว่าเป็นโรค แต่เป็นกลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลัง เนื่องจากการนั่งทำงานอย่างไม่เหมาะสม พบได้บ่อยในพนักงานออฟฟิศที่มักใช้เวลานั่งทำงานนาน ๆ ในท่าเดิม ๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้มีอาการออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว

อาการออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร?- What are the symptoms of office syndrome?

ออฟฟิศซินโดรม มีอาการอย่างไร

  • ปวดคอ ไหล่ หลัง หัวเข่า
  • รู้สึกเสียวหรือชาที่นิ้ว แขน และขา
  • กล้ามเนื้อตึงล้า
  • เส้นเอ็นบวมอักเสบ เช่น เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ (Tennis elbow) เอ็นข้อมืออักเสบ
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • ตาแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • นอนไม่หลับ
  • ซึมเศร้า

ออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุเกิดจากอะไร

หลัก ๆ แล้ว ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานที่เตี้ยเกินไปและตำแหน่งคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดที่ไม่เหมาะสมทำให้ต้องนั่งทำงานในท่าที่ฝืนธรรมชาติ การที่นั่งหลังค่อมห่อไหล่จะทำให้กล้ามเนื้อหดตัวอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนแกนกลางลำตัวอ่อนแอลงอย่างช้า ๆ และกล้ามเนื้อส่วนอื่นตึงมากขึ้น การจ้องจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ยังทำให้ตาแห้งและปวดศีรษะได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่ออาการทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ และรู้สึกอ่อนล้าได้

ออฟฟิศซินโดรม มีวิธีการรักษาอย่างไร

วิธีการรักษานั้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการและบริเวณที่เกิดอาการ โดยวิธีการรักษามักประกอบด้วยการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด การบริหารร่างกาย หรือการรักษาทางเลือก เช่น การฝังเข็ม เป็นต้น

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม? - What are the causes of office syndrome?

ออฟฟิศซินโดรมมีวิธีป้องกันอย่างไร

การป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิสซินโดรมนั้นง่ายกว่าการรักษาอาการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น การจัดสถานที่นั่งทำงานใหม่เพียงเล็กน้อยและการเปลี่ยนแปลงนิสัยการนั่งทำงานให้ดีขึ้นจะช่วยป้องกันการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้

  • การจัดท่าทางการทำงานให้เหมาะสม
    โดยการนั่งหลังตรง ไม่ห่อไหล่ คางไม่ยื่น จะช่วยให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าทางที่เหมาะสม การจัดท่าทางของร่างกายตอนทำงานให้ถูกต้องนั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
  • การปรับเปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ
    การเปลี่ยนท่านั่งทุก 1 - 2 ชั่วโมง จะช่วยคลายอาการล้าของกล้ามเนื้อ และป้องกันการนั่งงอตัว ควรปรับมุมที่นั่งให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการนั่งตรงขอบเก้าอี้
  • การออกกำลังกาย
    ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ และเพิ่มการออกกำลังกายที่เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง ซึ่งจะช่วยให้ท่าทางของร่างกายดีขึ้น
  • การจัดโต๊ะตามหลักการยศาสตร์หรือ Ergonomics
    โดยให้หน้าจอคอมพิวเตอร์ และคีย์บอร์ดอยู่ด้านหน้า จอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ในระยะที่แขนเอื้อมถึง ความสูงในระดับสายตาหรือต่ำกว่าระดับสายตาเพียงเล็กน้อย ซึ่งปัจจุบันมีโต๊ะทำงานที่ปรับระดับได้ ทำให้นั่งหรือยืนทำงานได้
  • การหยุดพักเป็นระยะ
    อย่าลืมที่จะหยุดพักระหว่างวันเพื่อพักสายตา และใช้เวลานี้เดินหรือยืดเส้นยืดสายคลายกล้ามเนื้อที่ตึงจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ

การปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดออฟฟิศซินโดรมและทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

อาการออฟฟิศซินโดรมเเละวิธีป้องกัน - Office Syndrome

บทความโดย

  • พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เฉพาะทางด้านการตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ

เผยแพร่เมื่อ: 03 ก.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    อายุรกรรมโรคหัวใจ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ