สาเหตุ อาการ วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม - Osteoarthritis of the knee - Causes, Symptoms, Treatment

ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the knee)

ข้อเข่าเสื่อม คือส่วนที่เป็นกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมไป เมื่ออายุมากขึ้นข้อเข่าผ่านการใช้งานนาน ๆ ทั้งการเดิน การขยับงอเหยียด มีแรงกระแทกลงข้อเข่าซ้ำ ๆ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงภายในกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้เกิดการแตกสลายหลุดลอกออก

แชร์

โรคข้อเข่าเสื่อม

สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว  ค่าเฉลี่ยอายุขัยของประชากรมีแนวโน้มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับอุบัติการณ์ของโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเราพูดถึง "ข้อเสื่อม" สิ่งแรกที่เราควรรู้จักคือ "กระดูกอ่อนผิวข้อ" (Articular Cartilage) ข้อต่อของร่างกายเป็นจุดที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้การเคลื่อนไหวนั้นราบรื่น ไม่สะดุด บริเวณปลายกระดูกตรงผิวของข้อต่อจึงต้องมีลักษณะพิเศษ คือมีความมันวาว ลื่น และความยืดหยุ่น เพื่อทำให้ทนต่อการรับแรงกดที่ลงมาที่ข้อต่อได้รวมไปถึงในข้อต่อของเรายังมีน้ำหล่อลื่นข้อเพื่อช่วยลดแรงเสียดทานในการเคลื่อนไหวอีกด้วย

เวลาเกิดข้อเข่าเสื่อมจริง ๆ แล้ว ส่วนที่เสื่อมก็คือ "กระดูกอ่อนผิวข้อ" นี่ล่ะที่เสื่อมไป เมื่อเราอายุมากขึ้น ข้อเข่าผ่านการใช้งานนาน ๆ ทั้งการเดิน การขยับงอเหยียด มีแรงกระแทกลงข้อเข่าซ้ำ ๆ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงภายในกระดูกอ่อนผิวข้อเองที่ความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดการแตกสลายหลุดลอกออกของกระดูกอ่อนผิวข้อ เมื่อกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกไป ชั้นใต้กระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งเป็นกระดูกทั่วไปที่มีความแข็ง สาก ไม่ยืดหยุ่น ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับการเคลื่อนไหว เมื่อเกิดการเดิน ขยับ งอเหยียด กระดูกแข็งตรงนี้ก็จะมาเสียดสีกันทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเกิดการอักเสบบวมเปรียบเสมือนข้อต่อเครื่องยนต์ที่ไม่มีน้ำมันหล่อลื่น

ปัจจัยเสี่ยงของข้อเข่าเสื่อม มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยเสี่ยงของข้อเข่าเสื่อมแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ

  1. แบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ เช่น อายุที่มากขึ้น เพศหญิง พันธุกรรม
  2. แบบที่ปรับเปลี่ยนได้ เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกผิวข้อบาดเจ็บ อาชีพที่ต้องใช้งาน งอเข่าซ้ำ ๆ น้ำหนักตัวที่มาก กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง และกลุ่มโรคความดันสูง ไขมันสูง เบาหวาน

แบบที่น่าสนใจกว่าสำหรับเราคือแบบที่ 2 เพราะว่าหากเราหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงตรงนี้ได้ โอกาสที่เราจะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก็จะลดลง

ข้อเข่าเสื่อม มีอาการอย่างไร?

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมมีได้หลายรูปแบบตามระดับความรุนแรงและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น อาการหลัก ๆ ที่ทำให้มาพบแพทย์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. อาการปวด (Pain) ลักษณะอาการปวดจะเป็นอาการปวดเรื้อรัง ตรงบริเวณข้อเข่า สัมพันธ์กับการเดิน การใช้งาน ถ้านั่งเฉยๆก็จะไม่ปวด อาจจะมีเสียงกรอบแกรบร่วมด้วยเวลาขยับซึ่งเกิดจากการที่กระดูกแข็งมากระทบเสียดสีกัน ยิ่งอาการข้อเสื่อมเป็นรุนแรงขึ้น อาการปวดก็จะยิ่งมากขึ้น
  2. ใช้งานไม่ได้ (Dysfunction) เดินแล้วเจ็บ หรือเมื่อนั่งนานๆพอลุกแล้วจะเดินทันทีเลยไม่ได้ ต้องค่อยๆตั้งหลักก่อนจึงจะเดินต่อได้
  3. ความผิดรูป (Deformity) ในกรณีที่เป็นรุนแรงมากจนกระดูกอ่อนผิวข้อหายไปหมด เมื่อกระดูกแข็งเสียดสีกันซ้ำนาน ๆ ไป ก็จะทำให้เกิดกระดูกงอก รวมถึงกระดูกบางจุดมีการทรุดตัวลง ทำให้เกิดความผิดรูป ซึ่งมีได้หลายแบบเช่น เข่าโก่ง เข่าฉิ่ง เข่าแอ่น เข่าเหยียดได้ไม่สุด เป็นต้น

วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

โดยปกติการวินิจฉัยจะทำได้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และในบางครั้งอาจจะส่งไปถ่ายภาพ X-ray เพื่อยืนยันการวินิจฉัยรวมถึงประเมินความรุนแรงของข้อเสื่อม


การถ่ายภาพ X-ray ของข้อเข่าจะทำในขณะที่ผู้ป่วยยืนลงน้ำหนัก เพื่อให้มีแรงกดลงไปที่บริเวณผิวข้อ โดยแพทย์จะมุ่งดูบริเวณช่องว่างระหว่างข้อ เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อไม่มีส่วนประกอบของ Calcium ในภาพ X-ray เราจึงเห็นเป็นช่องว่างสีดำระหว่างปลายกระดูก ซึ่งหากช่องว่างตรงนี้แคบลง นั่นก็แปลว่ากระดูกอ่อนผิวข้อตรงตำแหน่งนี้ได้เสื่อมสลายออกไป ทำให้กระดูกแข็งๆที่อยู่ข้างใต้มาสัมผัส เสียดสีกัน หากระดับภาวะข้อเสื่อมมีความรุนแรงมาก กระดูกส่วนที่เสียดสีกันก็อาจทรุดตัวลง ทำให้แนวของข้อเข่าผิดรูปได้

การรักษาข้อเข่าเสื่อม

โดยปกติแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะข้อเสื่อม โดยจะเริ่มต้นจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อนซึ่งได้แก่ การให้ความรู้ ลดน้ำหนัก บริหารกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง และกินยาลดการอักเสบแก้ปวดตามอาการ

อย่างไรก็ดีในผู้ป่วยที่อาการของข้อเสื่อมมีระดับความรุนแรงมากแล้วการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมักจะไม่ได้ผล จึงแนะนำรักษาโดยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายปวดปรับแนวข้อเข่าให้ปกติทำให้เดินและใช้งานได้ดีขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


แบบประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อม หากคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อม ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ทางออนไลน์ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย




 

บทความโดย

  • นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เฉพาะทางการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมและข้อสะโพกเทียม

เผยแพร่เมื่อ: 21 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    นพ. สีหธัช งามอุโฆษ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Minimally Invasive Joint Replacement
  • Link to doctor
    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ณัฐเดช เมฆรุ่งจรัส

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    Arthroplasty, Hand and Microsurgery, Ultrasound Guided Trigger Finger Release
  • Link to doctor
    นพ. ชวนนท์ สุมนะเศรษฐกุล

    นพ. ชวนนท์ สุมนะเศรษฐกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
  • Link to doctor
    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    ดร.นพ. วิรัตน์ คงเจริญสมบัติ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroscopy, Knee Surgery, Shoulder Surgery
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์  ยุกตะนันทน์

    รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    Arthroplasty, เวชศาสตร์การกีฬา
  • Link to doctor
    พญ. ซายน์ เมธาดิลกกุล

    พญ. ซายน์ เมธาดิลกกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroplasty, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty