อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome)

อาการก่อนมีประจำเดือน ทางกายและทางอารมณ์ เช่น ท้องอืด อ่อนเพลีย หงุดหงิด เศร้า สามารถบรรเทาได้ด้วยยาและการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


อาการก่อนมีประจำเดือน

อาการก่อนมีประจำเดือน มักรวมถึงอาการทางกาย เช่น ท้องอืด อ่อนเพลีย และอาการทางอารมณ์ เช่น รู้สึกหงุดหงิด เศร้า ก่อนรอบเดือน ซึ่งการรับประทานยา หรือการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันมักช่วยบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการก่อนมีประจำเดือนคืออะไร

อาการก่อนมีประจำเดือน มักทำให้เกิดอาการคัดหน้าอก อยากอาหาร อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดเหวี่ยงวีนง่าย หรือซึมเศร้า ผู้หญิงราว 3 ใน 4 คนมักจะมีอาการก่อนมีประจำเดือนไม่อาการใดก็อาการหนึ่ง

อาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง

อาการก่อนมีประจำเดือนนั้นคาดเดาไม่ได้ อาการที่เคยเป็นในช่วงอายุ 20 ปีอาจเปลี่ยนแปลงแตกต่างออกไปในช่วงอายุ 30 หรือ 40 ปี อาการโดยทั่วไปจะรวมไปถึงอาการทางกายและอาการทางอารมณ์

  • อาการทางกาย เช่น ท้องอืด อ่อนเพลีย ปวดท้อง คัดหน้าอก สิวขึ้น หรือปวดศีรษะ
  • อาการทางอารมณ์ เช่น ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เศร้าเสียใจ ซึมเศร้า สมองตื้อ ไม่มีสมาธิ อยากอาหารบางอย่าง หรืออยากอาหารมากขึ้นหรือน้อยลง อยากนอนกลางวันมากขึ้น นอนไม่หลับ ความต้องการทางเพศเปลี่ยนไป

อาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน และอาการก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากโรคอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไร?

กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder: PMDD) เป็นอาการที่รุนแรงกว่าอาการก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงที่มีอาการ PMDD มักจะรู้สึกโมโห ซึมเศร้ารุนแรงกว่าทั่วไป โดยผู้หญิงราว 2% จะมีอาการ PMDD

อาการก่อนมีประจำเดือนเนื่องจากโรคอื่น ๆ (Premenstrual Exacerbation: PME)

  • โรคซึมเศร้าและวิตกกังวล ทำให้รู้สึกอารมณ์แปรปรวน รู้สึกเศร้า หงุดหงิดง่าย หรือต้องการแยกตัวออกจากสังคม ซึ่งมักรุนแรงมากขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน
  • โรค Myalgic Encephalomyelitis (ME) หรือกลุ่มโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome: CFS) (ME/CFS) โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้ออาจรุนแรงมากขึ้นก่อนที่จะมีประจำเดือน ผู้ที่เป็นโรค ME/CFS อาจประจำเดือนมามากหรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็ว
  • โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) เช่น ท้องอืด มีลมในท้อง ปวดเกร็งที่ท้อง ซึ่งรุนแรงมากขึ้นก่อนมีประจำเดือน

อาการก่อนมีประจำเดือน เกิดจากสาเหตุอะไร

สาเหตุของอาการก่อนมีประจำเดือนนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการได้แก่

  • ระดับฮอร์โมนแปรปรวนระหว่างรอบประจำเดือน
  • ระดับเซโรเทนินไม่สมดุล การแปรปรวนของระดับเซราโทนิน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทควบคุมอารมณ์ อาจส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย อยากอาหาร หรือนอนหลับไม่สนิท
  • โรคซึมเศร้า มักพบว่าผู้ที่มีอาการก่อนมีประจำเดือนที่รุนแรงมักป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่เคยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยมาก่อน อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้าไม่ได้ทำให้มีอาการก่อนมีประจำเดือนเสมอไป

อาการก่อนมีประจำเดือน วิธีการตรวจวินิจฉัยอย่างไร

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยจดบันทึกอาการที่มีเป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือนเพื่อสังเกตรูปแบบของอาการ

นอกจากนี้แพทย์จะซักประวัติและสอบถามถึงประวัติสุขภาพของคนในครอบครัว เพื่อตัดปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการ เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ วัยใกล้หมดระดู และการใช้ยา

อาการก่อนมีประจำเดือน สามารถรักษาด้วยวิธีใดบ้าง

1. การใช้ยา

  • ยาต้านเศร้า Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น ยา fluoxetine ยา paroxetine และยา sertraline เป็นยากลุ่มแรกที่ช่วยรักษาอาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรงโดยแพทย์อาจให้รับประทานยาทุกวันหรือเฉพาะช่วง 2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน
  • ยาปฏิชีวนะกลุ่ม NSAIDs เช่น ยา ibuprofen หรือยา naproxen sodium ซึ่งควรรับประทานก่อนหรือขณะมีประจำเดือนเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องหรือคัดหน้าอก
  • ยาขับปัสสาวะ ในกรณีที่การออกกำลังกายและการลดโซเดียม ไม่เพียงพอต่อการจัดการกับน้ำหนักตัว อาการบวม หรือท้องอืดเนื่องจากอาการก่อนมีประจำเดือน แพทย์อาจให้รับประทานยาขับปัสสาวะ เช่น ยา spironolactone เพื่อให้ร่างกายขับน้ำในร่างกาย
  • ยาคุมกำเนิดแบบมีฮอร์โมน ช่วยป้องกันการตกไข่ บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนได้

2. การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต

ผู้ป่วยสามารถบรรเทาหรือลดอาการก่อนมีประจำเดือนได้โดยการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทานและเริ่มออกกำลังกาย

3. การปรับเปลี่ยนอาหาร

  • รับประทานอาหารมื้อเล็กลง บ่อยขึ้น เพื่อบรรเทาอาการท้องอืด
  • ลดการบริโภคอาหารรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพื่อป้องกันอาการท้องอืดหรือบวมน้ำ
  • รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ผัก ผลไม้ หรือธัญพืช
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

4. เริ่มออกกำลังกาย

เริ่มต้นเดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นเวลา 30 นาทีให้ได้เกือบทุกวัน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นและลดอาการอ่อนเพลียหรืออารมณ์แปรปรวนเนื่องจากอาการก่อนมีประจำเดือนได้

5. พยายามลดความเครียด

  • กำหนดเวลานอนใหม่ โดยนอนให้เป็นเวลาและนอนอย่างมีคุณภาพ
  • ฝึกโยคะ ฝึกการหายใจลึก ๆ หรือการคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ วิตกกังวล และอาการนอนไม่หลับ

6. รับประทานวิตามิน เกลือแร่ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • แคลเซียม จากการศึกษาพบว่าแคลเซียมช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย อาการอยากอาหาร และอาการซึมเศร้าเนื่องจากอาการก่อนมีประจำเดือน โดยอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ชีส โยเกิร์ต ขนมปังหรือซีเรียลเสริมแคลเซียม
  • แมกนีเซียม งานวิจัยบางชิ้นระบุว่าแมกนีเซียมช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ความเครียด ความวิตกกังวลที่เกิดจากอาการก่อนมีประจำเดือนได้ โดยแมกนีเซียมมักพบมากในผักใบเขียว ถั่วเปลือกแข็ง ธัญพืช
  • วิตามินบี 6 จากการศึกษาพบว่าวิตามินบี 6 ช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนที่ไม่รุนแรงได้ โดยวิตามินบี 6 พบมากในปลา สัตว์ปีก มันฝรั่ง ผลไม้ที่ไม่มีรสเปรี้ยว
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนได้ โดยอาหารที่มีกรดไขมันเหล่านี้มาก ได้แก่ ปลา เมล็ดแฟล็กซ์ ถั่วเปลือกแข็ง ผักใบเขียว
  • ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร เช่น สมุนไพรแบล็คโคฮอช เชสต์เบอร์รี่ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

7. จดบันทึกอาการเป็นเวลาอย่างน้อย 2-3 เดือน

เพื่อสังเกตรูปแบบและสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ช่วยให้วางแผนจัดการกับอาการที่มีได้อย่างเหมาะสม

อาการก่อนมีประจำเดือน มีวิธีการป้องกันอย่างไร

อาการก่อนมีประจำเดือนนั้นไม่สามารถป้องกันได้ แต่อาจจัดการได้โดยการรับประทานยาหรือการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

  • จดบันทึกอาการที่มี
  • จดรายการยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังรับประทาน
  • จดเตรียมคำถามที่ต้องการถามแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น
    • อะไรที่ช่วยทำให้อาการดีขึ้นได้บ้าง
    • อาการจะหายไปเองหรือไม่
    • อาการที่มีเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงหรือไม่
    • ควรทำการรักษาด้วยวิธีใด

จดเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่แพทย์อาจจะสอบถาม ยกตัวอย่างเช่น

  • อาการรุนแรงหรือไม่?
  • ช่วงวันไหนที่มีอาการมากที่สุด?
  • มีวันไหนที่ไม่มีอาการหรือไม่?
  • สามารถคาดเดาได้หรือไม่ว่าจะมีอาการวันไหนบ้าง?
  • มีปัจจัยอะไรที่ช่วยบรรเทาอาการหรือทำให้อาการแย่ลง?
  • ขณะที่มีอาการยังทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิมหรือไม่?
  • รู้สึกเศร้า มีอาการซึมเศร้าหรือสิ้นหวังบ้างหรือไม่?
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวชบ้างหรือไม่?
  • เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวชบ้างหรือไม่?
  • เท่าที่ผ่านมาได้ลองทำการรักษาด้วยวิธีใดบ้าง ได้ผลหรือไม่?

คำถามที่พบบ่อย

  • ฉันควรจะจัดการกับอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างไร?
    อาการก่อนมีประจำเดือนสามารถจัดการได้โดยการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและการรับประทานยาอย่างเหมาะสม
  • อาการก่อนมีประจำเดือนมักจะเริ่มเมื่อไร?
    ผู้หญิงแต่ละคนอาจเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือนต่างกันไป โดยอาการอาจเริ่มตั้งแต่ 2 สัปดาห์หรือ 2 วันก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงแต่ละคนจึงควรสังเกตอาการของตนเอง

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาลเมดพาร์ค 

สังเกตอาการก่อนมีประจำเดือนและดูว่าอะไรที่กระตุ้นให้เกิดอาการ จะช่วยให้จัดการกับอาการที่มีได้ หากอาการดังกล่าวส่งผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การรับประทานยาหรือการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ หากการวิธีการดังกล่าวไม่ได้ผล ควรพูดคุยปรึกษาแพทย์ถึงทางเลือกอื่น ๆ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 20 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. นเรศร สุขเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์