Polycystic Ovary Syndrome

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome หรือ PCOS)

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เป็นภาวะที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เบาหวาน และอ้วน การรักษาช่วยบรรเทาอาการได้

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

เป็นภาวะที่ประจำเดือนมาไม่ปกติเนื่องจากการตกไข่เกิดขึ้นไม่สม่ำเสมอเหมือนเดิม ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบเกิดขึ้นในผู้หญิงจำนวน 5 ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ภาวะนี้จะเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) เมื่อปริมาณแอนโดรเจนมีมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดภาวะขนดก ภาวะผมบางจากพันธุกรรม และสิว ส่วนมากผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบจะเสี่ยงมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เบาหวาน และมีน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนมากกว่าคนอื่น ถึงแม้ภาวะนี้รักษาไม่หายขาด แต่การรักษาจะช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้มีภาวะนี้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนได้

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ มีอาการอย่างไร

อาการของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • สิว:ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบอาจมีสิวขึ้นตามหลัง ใบหน้า หรือหน้าอก และอาจรักษาได้ยาก
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ: ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบอาจทำให้ประจำเดือนขาด ๆ หาย ๆ มาไม่ปกติ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เลือดออกมากกว่าปกติในช่วงที่มีประจำเดือน
  • ภาวะขนดก: ผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่หลายใบกว่าร้อยละ 70 จะมีภาวะขนดก เป็นภาวะที่มีขนขึ้นตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่แขน อก ใบหน้า หรือท้อง
  • โรคอ้วน: ร้อยละ 40 ถึง 80 ของผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบจะมีน้ำหนักเกินหรือมีปัญหาในการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • โรคผิวหนังช้าง: ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบจะมีปื้นดำ ๆ ที่ผิวบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ หรือใต้หน้าอก
  • ซีสต์: ผู้ที่มีภาวะนี้จะมีซีสต์เกิดขึ้นที่รังไข่ ทำให้รังไข่ดูใหญ่กว่าปกติเมื่อตรวจด้วยอัลตราซาวนด์
  • ติ่งเนื้อ: ผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีติ่งเนื้อเกิดขึ้นที่คอหรือรักแร้
  • ภาวะผมบาง: ผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีภาวะผมบาง โดยผมจะร่วงเป็นกระจุก
  • ภาวะมีบุตรยาก: ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดในผู้ที่มีเพศหญิงแต่กำเนิด (AFAB) การตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์

ผู้ที่เป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบอาจไม่มีอาการ หลายคนอาจไม่ทราบว่าตนมีภาวะนี้จนกระทั่งตัวเองเจอปัญหาในการตั้งครรภ์หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจเป็นเพราะภาวะที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง กล่าวคือ อาการไม่รุนแรงพอที่จะรู้สึกตัวว่ามีภาวะนี้

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ มีสาเหตุเกิดจากอะไร

สิ่งสำคัญที่ควรทำเพื่อให้เข้าใจสาเหตุของภาวะนี้ คือทำความเข้าใจว่าฮอร์โมนและประจำเดือนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะนี้ได้อย่างไร ถึงแม้สาเหตุของภาวะนี้จะยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่าระดับฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) ที่เสียสมดุลและการเพิ่มขึ้นของปริมาณฮอร์โมนแอนโดรเจนส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

  • ในช่วงประจำเดือนปกติ: สมอง รังไข่ และมดลูกจะทำงานตามปกติเพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ส่งผลให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมน Follicle Stimulating Hormones (FSH) และฮอร์โมน LH ออกมา ส่วนรังไข่จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน
  • ในช่วงครึ่งแรกของประจำเดือน: รังไข่จะสร้างถุงหุ้มฟองไข่ (Follicle) ขึ้นเนื่องจากระดับฮอร์โมน FSH เพิ่มขึ้น ถุงหุ้มฟองไข่นี้ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นตาม เมื่อไข่สุกต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน LH ออกมาในปริมาณมาก ส่งผลให้ไข่ที่อยู่ในถุงหุ้มตกจากรังไข่ หลังจากนั้น รังไข่จะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนเพื่อให้มดลูกพร้อมรับการฝังตัว

อย่างไรก็ตาม ในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบนั้น ถุงหุ้มฟองไข่ (Follicle) ที่อยู่ที่รังไข่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เติบโตจนเกิดการตกไข่ ส่งผลให้ฮอร์โมนอย่าง FSH LH เอสโตรเจน และโพรเจสเตอโรนเสียสมดุล ฮอร์โมน LH ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มตาม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าฮอร์โมนแอนโดรเจนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนอินซูลินที่เพิ่มขึ้น

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบสัมพันธ์กับระดับอินซูลินในเลือดที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบอาจมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) (ภาวะที่ต้องการอินซูลินปริมาณมากเพื่อรักษาระดับกลูโคสให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ) และภาวะอินซูลินในเลือดสูง (Hyperinsulinemia) (ตับอ่อนหลั่งอินซูลินเพิ่มเพื่อมาควบคุมระดับกลูโคส) ผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวมากและมีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวานมากกว่าคนอื่น 3 เท่า ทั้งนี้ นอกจากน้ำหนักตัวที่มากแล้ว ปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ได้แก่ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน เชื้อชาติ และชาติพันธุ์

อาการแทรกซ้อนของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ มีวิธีตรวจวินิจฉัยอย่างไร

ในการวินิจฉัยภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบนั้น แพทย์จะตรวจร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อดูอาการของโรค โดยเริ่มจากการชั่งน้ำหนักและวัดความดัน จากนั้นแพทย์จะถามถึงอาการที่มี ซักประวัติของผู้ป่วยรวมถึงของสมาชิกในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกัน หลังจากนั้น แพทย์อาจตรวจร่างกายเพื่อดูว่าผิวเปลี่ยนสีหรือไม่ มีผมร่วง ติ่งเนื้อ สิว มีภาวะขนดกเกิดขึ้น หรือประจำเดือนมาผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนและกลูโคส รวมทั้งอาจตรวจภายในหรือตรวจอัลตราซาวนด์ภายในมดลูกเพื่อดูสาเหตุของภาวะเลือดออกผิดปกติหรือความหนาของเยื่อบุมดลูก

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ มีวิธีการรักษาอย่างไร

แพทย์จะเลือกแนวทางการรักษาโดยพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์ อาการที่เป็น โรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่มี รวมถึงความประสงค์ที่ต้องการมีบุตรหรือไม่ในอนาคต

แนวทางการรักษาผู้มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบที่ไม่มีแผนจะตั้งครรภ์ในอนาคต ได้แก่

  • การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน: วิธีที่ใช้คุมกำเนิด เช่น ยาคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด วงแหวนคุมกำเนิด และห่วงอนามัยคุมกำเนิด จะช่วยทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ
  • ยาลดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Sensitizer): ยา Metformin เป็นยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวานและมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ร่างกายจัดการกับอินซูลินได้ ซึ่งเมื่อร่างกายคุมระดับอินซูลินได้แล้ว ประจำเดือนจะเริ่มมาเป็นปกติในผู้ที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
  • ยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน: ยาประเภทนี้ช่วยยับยั้งฤทธิ์ของฮอร์โมนแอนโดรเจน ทั้งยังลดการเกิดสิวและภาวะขนดก
  • การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต: การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและการควบคุมน้ำหนักส่งผลดีต่อระดับของอินซูลิน

แนวทางการรักษาผู้มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบที่ประสงค์จะตั้งครรภ์ ได้แก่

  • ยากระตุ้นไข่ตก: ยาบางตัวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยกระตุ้นการตกไข่ เช่น โคลมิฟีน (Clomiphene) เลโทรโซล (Letrozole) และฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน (Gonadotropin)
  • การผ่าตัด: แพทย์อาจทำการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อเยื่อในรังไข่ที่หลั่งแอนโดรเจนออก แต่มักไม่เป็นที่นิยม
  • การปฏิสนธินอกร่างกาย (In vitro fertilization หรือ IVF): หากยาไม่มีประสิทธิภาพพอจะกระตุ้นให้ไข่ตก การปฏิสนธินอกร่างกายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งหากต้องการจะตั้งครรภ์ โดยในการทำ IVF การปฏิสนธิของไข่กับสเปิร์มจะเกิดขึ้นนอกร่างกาย ก่อนจะนำไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมาฝังที่มดลูก

การป้องกันภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

แม้จะยังไม่มีวิธีที่พิสูจน์ได้ว่าช่วยป้องกันภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบได้ แต่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการขึ้นได้ด้วยวิธีต่อปีนี้

  • ควบคุมน้ำหนัก การลดน้ำหนักอาจช่วยลดระดับอินซูลินและแอนโดรเจน ซึ่งช่วยให้ไข่กลับมาตกเป็นปกติ
  • ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงอาจเพิ่มระดับอินซูลิน โดยแนะนำให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแทน ซึ่งพบได้ในอาหารจำพวกผัก ผลไม้ และธัญพืชเต็มเมล็ด
  • ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและบรรเทาหรือป้องกันภาวะดื้ออินซูลินได้ ทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักและลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานอีกด้วย

เตรียมตัวก่อนพบแพทย์

หากมีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ แพทย์ที่คุณเข้าพบได้ ได้แก่ สูตินรีแพทย์ แพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โดยก่อนจะพบแพทย์ตามนัด ควรจดข้อมูลเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นการเตรียมตัว

  • ข้อมูลเกี่ยวกับประจำเดือน เช่น มาบ่อยแค่ไหน มากี่วัน มามากน้อยเพียงใด
  • ยาหรืออาหารเสริมที่รับประทาน
  • ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ
  • คำถามที่ต้องการถามแพทย์ เช่น ต้องตรวจอะไรบ้าง ภาวะนี้จะส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์หรือไม่ ยาตัวใดบ้างที่ช่วยบรรเทาอาการหรือเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้อาการดีขึ้น และผลกระทบของภาวะนี้ที่มีต่อสุขภาพในระยะยาวมีอะไรบ้าง

นอกจากเตรียมตัวตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว แนะนำให้ผู้ป่วยเตรียมตอบคำถามที่แพทย์อาจถาม ดังนี้

  • มีอาการอะไรบ้าง
  • อาการเกิดบ่อยหรือรุนแรงแค่ไหน
  • เริ่มมีอาการเมื่อใด
  • ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายเมื่อไร
  • มีญาติลำดับแรกที่เป็นผู้หญิงที่เคยตรวจพบว่าเป็นภาวะนี้หรือไม่
  • มีสิ่งไหนที่อาจทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลงหรือไม่
  • มีความต้องการที่จะตั้งครรภ์หรือไม่

คำถามที่พบได้บ่อย

  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
    มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบเป็นโรคทางพันธุกรรม หมายความว่า หากแม่แท้ ๆ ทางสายเลือดมีภาวะนี้ โอกาสที่คุณจะมีภาวะนี้ก็มีมากขึ้
  • ฮอร์โมนตัวใด ที่ส่งผลต่อภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ
    ฮอร์โมนที่มีส่วนในการเกิดภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ได้แก่ แอนโดรเจน เอสโตรเจน FSH LH อินซูลิน และโพรเจสเตอโรน
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบและภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แตกต่างกันอย่างไร
    ถึงแม้ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบและภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่จะทำให้เกิดซีสต์ในรังไข่และภาวะมีบุตรยากเหมือนกัน แต่ทั้งสองไม่ใช่ภาวะเดียวกัน กล่าวคือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกไปเจริญที่รังไข่ ท่อนำไข่ หรือช่องคลอด อาการของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ได้แก่ อาการปวดประจำเดือนหรือปวดท้องน้อย ขณะที่อาการของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบคือประจำเดือนมาไม่ปกติ ปัญหาการตกไข่ และอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ จากฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เสียสมดุล

คำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาล MedPark

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและควบคุมได้เมื่อได้รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยวิธีรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน เนื่องจากจะพิจารณาจากความประสงค์ที่จะตั้งครรภ์ในตอนนี้หรือในอนาคต จึงแนะนำให้พบหรือปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 19 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Pathology, Gynecologic Cytology, Cervical Cytology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. ดำรง ตรีสุโกศล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Endoscopy, Minimally Invasive Surgery, Sexual Medicine
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย   เรืองแก้วมณี

    นพ. ศุภชัย เรืองแก้วมณี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช