สาเหตุ อาการ และการรักษาภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ - Causes and Treatment Postcoital Bleeding

ภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ (Bleeding After Sex)

ภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ พบได้ในทุกช่วงวัยของสตรี โดยประมาณร้อยละ 9 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์มักมีประวัติเคยมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ของการมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์มักมีปริมาณไม่มากและอาจไม่ต้องกังวลมาก

แชร์

ภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

ภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ Postcoital Bleeding (Bleeding After Sex) พบได้ในทุกช่วงวัยของสตรี โดยประมาณร้อยละ 9 ของสตรีวัยเจริญพันธุ์มักมีประวัติเคยมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่ของการมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์มักมีปริมาณไม่มากและอาจไม่ต้องกังวลมาก อย่างไรก็ตาม การที่มีอาการดังกล่าวหลาย ๆ ครั้ง หรือมีปริมาณมาก ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

ตำแหน่งและสาเหตุของภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

เลือดที่ออกหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจเกิดได้จากหลายตำแหน่ง ได้แก่ บริเวณแคมหรือปากช่องคลอด  ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก หรือท่อปัสสาวะ โดยเลือดที่ออกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ช่องคลอดแห้ง เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดฉีกขาด ติ่งเนื้อ หรือแม้กระทั่งมะเร็ง

 ช่องคลอดแห้ง, ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ถ้าไม่ได้รับการกระตุ้นมากพอ ไม่มีน้ำหล่อลื่นตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการเสียดสีของเนื้อเยื่อ  สาเหตุอื่น ๆ ของช่องคลอดแห้งที่พบได้ เช่น 

  • การขาดฮอร์โมนเพศ การที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจนน้อยลงทำให้ช่องคลอดแห้งและระคายเคืองได้ง่าย เช่น ในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีภาวะทางระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ (Genitourinary Syndrome of Menopause: GSM) โดยพบประมาณร้อยละ 63 ของสตรีวัยหมดประจำเดือน สตรีเพิ่งผ่านการคลอดบุตร กำลังให้นมบุตรอยู่  หรือได้รับการผ่าตัดนำรังไข่ออก 
  • ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
  • รับประทานยาสำหรับอาการหวัดหรือหอบหืด ยาต้านเศร้า หรือยาต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน 
  • แพ้สารเคมีต่าง ๆ เช่น สบู่บางชนิด สระว่ายน้ำ ผงซักฟอก สวนล้างช่องคลอดบ่อยหรือใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น
  • โรคบางชนิด เช่น กลุ่มอาการโจเกรน เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดเยื่อบุช่องคลอดฝ่อบาง อาการตาและปากแห้ง

การอักเสบหรือการติดเชื้อ: ภาวะการอักเสบของเนื้อเยื่อจะทำให้มีเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณที่อักเสบมากขึ้น ทำให้เลือดออกได้ง่าย
ช่องคลอดฉีกขาด: การกระทบกระเทือนจากเพศสัมพันธ์ที่รุนแรงอาจทำให้ช่องคลอดฉีกขาดได้
ภาวะปากมดลูกปลิ้น: ภาวะปากมดลูกด้านในปลิ้นออกมาด้านนอก (cervical eversion) เกิดจากมีเซลล์เยื่อบุบุผนังปากมดลูกด้านในซึ่งมีความบอบบางขยายรุกออกมาด้านนอก ทำให้เลือดออกได้ง่าย มักพบในสตรีที่ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน สตรีตั้งครรภ์ หรือวัยรุ่น
ติ่งเนื้อของปากมดลูก: ติ่งเนื้อปากมดลูกเป็นก้อนเนื้อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือมีการอักเสบเรื้อรัง มักมีเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณติ่งเนื้อมาก ทำให้เลือดออกได้ง่าย
มดลูกหย่อน: มดลูกรวมทั้งปากมดลูกที่หย่อนลงมาในช่องคลอดอาจทำให้มีเลือดออกได้ระหว่างหรือหลังการมีเพศสัมพันธ์
รอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็ง: ในระยะแรกของมะเร็งรวมทั้งรอยโรคก่อนมะเร็ง อาจมีอาการเลือดออกเมื่อมีการสัมผัสหรือกระทบกระเทือนจากการมีเพศสัมพันธ์

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดบ่อย ๆ หรือมีปริมาณมากระหว่างหรือหลังมีเพศสัมพันธ์
  • เจ็บช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาวผิดปกติหรือเรื้อรัง 
  • มีอาการคันหรือแสบเวลาปัสสาวะ
  • เลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน

การตรวจวินิจฉัยภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

แพทย์จะให้การวินิจฉัยหลังทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายรวมทั้งตรวจภายใน อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมตามความผิดปกติที่ตรวจพบ เช่น

  • การส่งตรวจตกขาวหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ
  • การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก (cytology/ Pap smear) 
  • การตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยว่าผิดปกติไปตรวจ (biopsy)
  • การตรวจอื่น ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจเลือด เป็นต้น

การรักษาและการป้องกันภาวะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมตามสาเหตุที่พบและวิธีการป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ เช่น

  • แนะนำให้รอจนประจำเดือนหมด 2-3 วัน ก่อนที่จะเริ่มมีเพศสัมพันธ์
  • แนะนำให้ใช้สารหล่อลื่น หรือฮอร์โมนและหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์รุนแรงหากช่องคลอดแห้ง 
  • รับประทานยาปฏิชีวนะในกรณีที่พบว่ามีการติดเชื้อ 
  • อาจทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หากมีติ่งเนื้อปากมดลูก หรือสงสัยว่ามีรอยโรคก่อนมะเร็งหรือมะเร็ง
  • การลดน้ำหนักตัวหรือการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Kegel exercise) เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงในกรณีที่พบมดลูกหย่อนที่ไม่รุนแรง  หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงในช่องคลอด หรือเข้ารับการผ่าตัดหากมีอาการรุนแรง

ทั้งนี้ สตรีที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่ยังมีประจำเดือนควรจดบันทึกวันที่มีรอบเดือนอย่างสม่ำเสมอ สตรีทุกคนควรเข้ารับการตรวจภายในทุกปีและทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 25 ปี ขึ้นไป หรือเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 18 ต.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    รศ.นพ. วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    พญ. ณัฐชา พูลเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    พญ. ศรัญญา ชาญพานิชกิจโชติ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    ผศ.นพ. นครินทร์ ศิริทรัพย์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. ดำรง ตรีสุโกศล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    นพ. สุนำโชค ศรีใจพระเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย   เรืองแก้วมณี

    นพ. ศุภชัย เรืองแก้วมณี

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    พญ. อรวี ฉินทกานันท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • นรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • การผ่าตัดช่องท้องผ่านกล้อง
    • นรีเวชทางเดินปัสสาวะ
    Urogynecology, Female Pelvic Reconstructive Surgery, Minimally Invasive Gynecology, Menopause
  • Link to doctor
    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    ศ.พญ. ศิริวรรณ ตั้งจิตกมล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    • นรีเวชวิทยา
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Obstetric and Gynecological Pathology, Anatomical Pathology, Family Medicine, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    พญ. อสมา วาณิชตันติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Endoscopy, Minimally Invasive Surgery, Sexual Medicine
  • Link to doctor
    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    พญ. ณัฏฐ์กฤตา โพธิพรธวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • มะเร็งวิทยานรีเวช
    มะเร็งวิทยานรีเวช, Gynecologic Pathology, Gynecologic Cytology, Cervical Cytology