ประเภทของการฝังแร่ ขั้นตอน และภาวะแทรกซ้อนของฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมาก - Prostate Brachytherapy

ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Brachytherapy)

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate brachytherapy) คือ วิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยรังสีรักษาจากภายใน โดยการใส่แหล่งกำเนิดแร่กัมมันตรังสีในแคปซูลขนาดเล็กฝังเข้าไปในต่อมลูกหมาก

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Brachytherapy)

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate brachytherapy) คือ วิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยรังสีรักษาจากภายใน โดยการใส่แหล่งกำเนิดแร่กัมมันตรังสีในแคปซูลขนาดเล็กฝังเข้าไปในต่อมลูกหมากเพื่อปล่อยรังสีขนาดสูงฆ่าเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อดีที่อยู่ข้างเคียงหรือได้รับเพียงปริมาณรังสีขนาดต่ำ โดยแพทย์จะค้นหาตำแหน่งเพื่อกำหนดจุดฝังแร่ คำนวนขนาดมะเร็งเพื่อกำหนดปริมาณรังสี และจำกัดพื้นที่ให้รังสีทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นวิธีการรักษาที่มีความปลอดภัย ให้ผลการรักษาที่ดี ช่วยคงสมรรถภาพทางเพศ และช่วยให้มีโอกาสหายขาดจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มแรกมากที่สุด

ทำไมต้องฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก?

การฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นวิธีที่ใช้ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยการใส่แหล่งกำเนิดของแร่กัมมันตรังสีเข้าไปในต่อมลูกหมาก เป็นผลให้เซลล์มะเร็งที่อยู่ใกล้แร่จะได้รับรังสีระดับสูง ส่วนเนื้อเยื่อปกติข้างเคียงจะได้รับรังสีในปริมาณที่ต่ำกว่าตัวต่อมลูกหมากมาก

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นวิธีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่มที่ดีที่สุด วิธีการฝังแร่เป็นวิธีการรักษาจากภายในที่กำหนดให้รังสีทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งในเป้าหมายและขอบเขตที่กำหนด กระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อปกติรอบข้างน้อย และช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่างจากการรักษาด้วยวิธีการฉายแสงที่รับรังสีจากภายนอกในวงกว้าง กระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อปกติมากกว่า และใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่า การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีฝังแร่เป็นวิธีการรักษาที่ใช้เวลาน้อยแต่มีประสิทธิภาพมาก มีผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่น ๆ และมีอัตราการประสบความสำเร็จในการรักษาสูงถึงร้อยละ 97 (ระยะที่ 1-2) ทั้งนี้ หากแพทย์ตรวจพบเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น แพทย์จะพิจารณาการรักษาอื่น ๆ ร่วม เช่น การฉายรังสีระยะไกล และการให้ยาต้านฮอร์โมนร่วม

มะเร็งต่อมลูกหมาก มีสาเหตุจากอะไร?

  • อายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคุณพ่อ พี่ชาย หรือน้องชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • เชื้อชาติ ชายชาวแอฟริกันและชายผิวขาวมากกว่าชายชาวเอเชีย ส่วนชายไทยมีแนวโน้มพบมากขึ้นทุกปี
  • การทานอาหารจำพวกเนื้อแดง อาหารไขมันสูง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารปิ้งย่างรมควันปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง
  • โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน โรคเบาหวาน

มะเร็งต่อมลูกหมาก มีอาการอย่างไร?

  • ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัสสาวะไม่สุด
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะลำบาก
  • ปัสสาวะไม่ออก ต้องเบ่งปัสสาวะ
  • รู้สึกปวดขณะปัสสาวะ หรือหลั่งน้ำอสุจิ
  • แสบขัดลำกล้องขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะปนเลือด หลั่งอสุจิปนเลือด
  • มีอาการปวดกระดูกรุนแรง

Prostate Brachytherapy Diagnosis

การวินิจฉัยก่อนการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีวิธีการอย่างไร?

แพทย์จะทำการวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากโดยการซักประวัติหากมีอาการปัสสาวะกะปริดกะปรอย รู้สึกปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน และความผิดปกติอื่น ๆ และทำการตรวจร่างกาย ดังนี้

การซักประวัติ

  • สอบถามระยะเวลาที่มีอาการ ระดับความเจ็บปวด อาการข้างเคียงอื่น ๆ และ/หรือมีปัสสาวะปนเลือดหรือไม่
  • ประวัติทางการแพทย์ โรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ยารักษาโรค รวมถึงอาหารเสริมที่ทานเป็นประจำ
  • ประวัติบุคคลในครอบครัวเดียวกันเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • พฤติกรรมการทานอาหาร การสูบบุหรี่ ไลฟ์สไตล์
  • ความเครียด

การตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก PSA ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นในเซลล์ต่อมลูกหมาก ค่า PSA น้อยอาจหมายถึงมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่ม ค่า PSA สูงอาจหมายถึงมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแพร่กระจาย หรืออาจเป็นภาวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง เช่น โรคต่อมลูกหมากโต

การตรวจประเมินโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เช่น

Prostate Brachytherapy Types Th

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีกี่ประเภท?

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากมี 2 ประเภท โดยแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากตำแหน่งของมะเร็งต่อมลูกหมาก ขนาดก้อนมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ

  1. การฝังแร่ปริมาณรังสีขนาดสูง (High dose rate brachytherapy: HDR) เป็นการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยการฝังแร่กัมมันตรังสีขนาดสูงในต่อมลูกหมากแบบชั่วคราว 15-40 นาที เพื่อให้แร่แผ่รังสีออกทำลายเซลล์มะเร็งทันที ก่อนที่แพทย์จะค่อย ๆ ถอนแร่ออกจากร่างกาย แร่กัมมันตรังสีที่ใช้เป็นแร่อิริเดียม 192 (Iridium 192) ที่มีค่าครึ่งชีวิต (Haft-Life) ประมาณ 74 วัน โดยแร่จะปล่อยรังสีแกรมมา (Gramma Ray) ออกมาในระยะเวลาสั้น ๆ โดยไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่ออวัยวะข้างเคียง โดยแพทย์จะทำนัดฝังแร่ซ้ำ 4 ครั้ง ภายใน 12 สัปดาห์ จนเหลือค่า PSA ในระดับต่ำน้อยกว่า 0.2 ng/mL เทียบเท่าคนปกติ (ไม่เกิน 0.4 ng/mL) โดยแพทย์จะทำนัดติดตามผลการรักษาเป็นระยะ โดยการตรวจ PSA ตรวจ MRI หรือการตรวจ PSMA-PET scan
  2. การฝังแร่ปริมาณรังสีขนาดต่ำ (Low dose rate brachytherapy: LDR) เป็นการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยการฝังแร่กัมมันตรังสีขนาดต่ำใส่ต่อมลูกหมากแบบถาวร เพื่อให้แร่ค่อย ๆ แผ่รังสีออกทำลายเซลล์มะเร็งทีละน้อยจนเซลล์มะเร็งค่อย ๆ ถูกทำลายลงไปจนสิ้นโดยการใช้แร่กัมมันตรังสีไอโอดีน 125 (Iodine – 125) ให้ทำลายเซลล์มะเร็งอย่างต่อเนื่องปะมาณ 1 ปี อย่างไรก็ตาม การฝังแร่ด้วยวิธีนี้ จะมีรังสีระดับต่ำคงอยู่ในร่างกายระยะยาว ในปัจจุบัน แพทย์จึงแนะนำการฝังแร่แบบชั่วคราวด้วยปริมาณรังสีขนาดสูง (HDR) ในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งให้ผลการรักษาที่ดี และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า

ฝังแร่,มะเร็งต่อมลูกหมาก - Prostate Brachytherapy Banner 2 Th

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีขั้นตอนอย่างไร?

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก รพ.เมดพาร์คใช้มาตรฐานสากล (Gold standard) ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสัมฤทธิ์ผลในการรักษาเป็นสำคัญ โดยการฝังแร่จะใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 เพื่อสังเกตอาการ แล้วจึงสามารถกลับบ้านได้

การเตรียมตัวก่อนการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • แพทย์ตรวจ X-rays หรือ Ultrasound หรือ CT-scans ค้นหาตำแหน่งมะเร็งต่อมลูกหมาก ตรวจระยะมะเร็ง และวัดขนาดมะเร็งเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงกำหนดตำแหน่งการฝังแร่ และคำนวนปริมาณแร่ที่ใช้ในการฝัง
  • ก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์ แพทย์จะขอให้ผู้เข้ารับการฝังแร่งดยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ยา Aspirin ยา Ibuprofen ยา Naproxen หรือ ยา Plavix
  • งดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

ขั้นตอนการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • แพทย์อธิบายขั้นตอนการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก และรับเอกสารยินยอมเข้ารับการรักษา
  • พยาบาลทำความสะอาดร่างกายบริเวณที่ทำการฝังแร่ และทายาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • วิสัญญีแพทย์วางยาสลบเพื่อระงับความรู้สึกทั่วร่าง เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บบริเวณฝีเย็บ ทวารหนัก หรือถุงอัณฑะขณะฝังแร่
  • แพทย์สอดอุปกรณ์หัวตรวจอัลตราซาวด์เข้าทางทวารหนัก โดยภาพจะถูกฉายขึ้นบนจอแบบ Real time ด้วยระบบดิจิตอล ช่วยให้แพทย์มองเห็นสภาพภายในต่อมลูกหมากและตำแหน่งมะเร็งได้อย่างชัดเจน ช่วยคำนวณปริมาณแร่ที่ใช้ในการฝัง และกำหนดพิกัดในการฝังแร่เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งได้แม่นยำและตรงจุด
  • แพทย์ใช้เข็มเล็มบางเจาะนำทางบริเวณฝีเย็บเพื่อใส่สายสวนที่เชื่อมเข้ากับเครื่องใส่แร่เพื่อนำแคปซูลขนาดเล็กบรรจุแร่กัมมันตรังสีเข้าไปยังตำแหน่งมะเร็งต่อมลูกหมากเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • เมื่อการฝังแร่เสร็จสิ้น แพทย์จะค่อย ๆ ดึงเข็มและสายสวนกลับออกมาโดยไม่ต้องเย็บแผลแต่อย่างใด และไม่มีรังสีใด ๆ ตกค้างในร่างกาย ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อบุคคลคนรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อม ผู้รับการรรักษาสามารถใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลที่คุณรักได้ตามปกติ
  • การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น แพทย์จะทำนัดฝังแร่ซ้ำในครั้งถัดไป

ขั้นตอนหลังการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • แพทย์จะให้ผู้รับการรักษาพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อสังเกตอาการ
  • แพทย์ และพยาบาลคอยตรวจอาการเป็นระยะเพื่อประเมินผลหลังการรักษา หากไม่พบความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะอนุญาติให้กลับบ้านได้ในวันถัดไป

Prostate Brachytherapy การดูแลตนเอง หลังการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การดูแลตนเอง หลังการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำ
  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดบวม มีรอยช้ำ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว หรือ ปวดหัว ให้พบแพทย์ทันที
  • งดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อาหารไขมันสูง อาหารน้ำตาลสูง อาหารแปรรูป หรือการทานเนื้อแดงในปริมาณมาก
  • แพทย์จะทำนัดเพื่อติดตามอาการและประเมินผลหลังการรักษา และทำการตรวจเลือดเพื่อวัดค่า PSA 
  • ในกรณีที่กลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ แพทย์จะพิจารณาการฝังแร่ซ้ำร่วมกับการฉายรังสีด้วยเครื่องฉายรังสีเร่งอนุภาค และ/หรือทำการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็ง

ผลข้างเคียงจากการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • อาการบวมช้ำบริเวณจุดเข็มเจาะรอบฝีเย็บ ทวารหนัก และถุงทัณฑะ
  • ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะได้ไม่สุด
  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายขณะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะปนเลือด หรืออสุจิปนเลือด
  • ปวดปัสสาวะบ่อย ๆ ตอนกลางคืน
  • เลือดออกทางทวารหนัก อุจจาระปนเลือด
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ผลข้างเคียงจากการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล บางคนอาจมีผลข้างเคียงจากการรักษาหลายอย่าง ในขณะที่บางคนอาจไม่มีเลย อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงจากการักษาเหล่านี้อยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่น ๆ และพบว่าหลังการรักษาเสร็จสิ้น ผู้รับการรักษาจำนวนมากสามารถฟื้นฟูระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบลำไส้ และสมรรถภาพทางเพศให้กลับมาเป็นปกติได้ภายใน 6-12 เดือน 

Prostate Brachytherapy Benefit

ข้อดีของการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก คืออะไร?

  • แผลเล็ก (Minimally invasive) การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นการรักษาแบบแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว โดยแพทย์จะใช้เข็มเล็มเล็กเจาะที่ฝีเย็บเพื่อใส่สายสวนสำหรับลำเลียงแร่กัมมันตภาพรังสีสู่ต่อมลูกหมากโดยตรง ไม่ต้องผ่าตัด ทำให้ไม่มีแผลผ่าตัด ใช้เวลาในการทำหัตถการสั้นภายใน 2 ชั่วโมง และช่วยร่นระยะเวลาในการพักฟื้น
  • มุ่งเป้า (Precise targeting) การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นการรักษาแบบมุ่งเป้าที่กำหนดตำแหน่งในการฝังแร่ชัดเจนเฉพาะบริเวณมะเร็งต่อมลูกหมากเท่านั้นเพื่อมุ่งให้แร่แผ่รังสีฆ่าเฉพาะเซลล์มะเร็งโดยตรง โดยกระทบต่อเซลล์เนื้อเยื่อปกติที่อยู่โดยรอบน้อยที่สุด เป็นการรักษาที่ตรงจุด และช่วยลดผลข้างเคียงจากการรักษา เช่น อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยไม่กระทบต่อสมรรถภาพทางเพศหรือทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศแต่อย่างใด
  • ใช้รังสีเท่าที่จำเป็น (Dose limiting) ในการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์สามารถคำนวนปริมาณรังสีที่จะทำการใช้ได้แบบ real time ผ่านหัวตรวจอัลตราซาวด์ ทำให้ทราบปริมาณรังสีที่ใช้แน่นอน ช่วยจำกัดปริมาณรังสีเท่าที่จำเป็น แต่มีประสิทธิสูงสุด
  • รอบการรักษาน้อย (Fewer treatment sessions) ตลอด 3-6 เดือนในการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากแบบปริมาณรังสีขนาดสูง (HDR) แพทย์จะทำนัดเพื่อฝังแร่เพียง 4 รอบเท่านั้น ต่างจากการรักษาด้วยการฉายรังสีทั่วไปที่แพทย์จะทำนัดเพื่อฉายรังสีทุกวันเป็นเวลาหลายสัปดาห์
  • อัตราความสำเร็จสูง (High success rate) การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากมีอัตราการประสพความสำเร็จในการรักษาสูงถึงร้อยละ 97 (มะเร็งต่อมลูกหมากระยะ1-2)
  • ฟื้นตัวเร็ว (Quick recovery) หลังการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากเสร็จสิ้น แพทย์จะให้ค้างที่โรงพยาบาล 1 คืน เพื่อสังเกตอาการ ผู้รับการรักษาสามารถยืน เดิน และนั่งได้ตามปกติ และสามารถกลับบ้านได้ในวันถัดไป

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้เวลาฟื้นฟูกี่วัน?

ระยะเวลาในการฟื้นฟูหลังการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล โดยทั่วไป ผู้เข้ารับการฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมากจะสามารถเดินได้เป็นปกติหลังการรักษา 2-3 ชั่วโมง สามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงภายใน 2-3 วัน และสามารถมีเพศสัมพันธ์ตามปกติได้ภายใน 2 สัปดาห์

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก รพ.เมดพาร์ค

การฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก รพ.เมดพาร์ค

ศูนย์รังสีรักษา รพ.เมดพาร์ค นำโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการพิเศษด้านรังสีรักษาร่วมด้วยอายุรแพทย์โรคมะเร็ง และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีประสบการณ์และความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษามะเร็งต่อมลูกหมากโดยไม่มีแผลผ่าตัดและมะเร็งทุกชนิด ด้วยวิธีการฝังแร่และวิธีการอื่น ๆ แบบองค์รวมด้วยมาตรฐานสากล โดยการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ผสานเทคนิคทางการแพทย์ที่มีความปลอดภัย รวดเร็ว และแม่นยำ ช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งให้การติดตามผลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อน ร่นระยะเวลาในการพักฟื้น ช่วยให้ผู้รับการรักษาฟื้นตัวเร็ว และมีโอกาสหายขาดจากมะเร็งได้อย่างถาวร

บทความที่เกี่ยวข้องกับการฝังแร่มะเร็งต่อมลูกหมาก

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 27 ก.ย. 2020

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    นพ. อภิรักษ์ สันติงามกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การบีบขับปัสสาวะผิดปกติ, Laparoscopic Urologic Surgery
  • Link to doctor
    นพ. วิรุณ  โทณะวณิก,พบ

    นพ. วิรุณ โทณะวณิก,พบ

    • ศัลยศาสตร์
    • รังสีรักษามะเร็งวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    มะเร็งต่อมลูกหมาก, ฝังแร่รักษามะเร็งต่อมลูกหมาก
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    ผศ.นพ. ศรายุทธ วิริยะศิริพงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ.  วิชัย เจริญวงศ์

    นพ. วิชัย เจริญวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    นพ. อาคเนย์ วงษ์สวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    การเปลี่ยนไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตและการเปลี่ยนไตจากผู้เสียชีวิต, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะแบบแผลเล็ก, การผ่าตัดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ, การรักษาภาวะหย่อยสมรรถภาพทางเพศ, ชายวัยทอง
  • Link to doctor
    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    นพ. สนธิเดช ศิวิไลกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
  • Link to doctor
    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    นพ. วสันต์ เศรษฐวงศ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    นพ. ธเนศ ไทยดำรงค์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. วริศรา รงค์ทอง

    ผศ.พญ. วริศรา รงค์ทอง

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  • Link to doctor
    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    นพ. ไพบูลย์ บุญญะพานิชสกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ, ระบบสืบพันธ์ุ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. กิตติณัฐ กิจวิกัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    รศ.นพ. สิทธิพร ศรีนวลนัด

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    นพ. วิชัย หงส์ไพฑูรย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • Link to doctor
    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    นพ. ศุภชัย สถิตมั่งคั่ง

    • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
    • ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ