อาการ สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย และการรักษาวัณโรคปอด (Pulmonary Tuberculosis)

วัณโรคปอด

วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอด" ทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้

แชร์

วัณโรคปอดคืออะไร

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคเป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งโดยมากแล้วจะมีผลต่อปอด หรือที่เรียกว่า "วัณโรคปอดทั้งนี้ วัณโรคปอดเป็นโรคติดต่อและสามารถแพร่สู่คนผ่านละอองฝอยจากการไอและจามได้

วัณโรคปอดมีอาการอย่างไร

วัณโรคมีอยู่ ประเภท คือ วัณโรคแฝง และ วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ คนที่มีวัณโรคแฝงจะไม่แสดงอาการและวัณโรคชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น อย่างไรก็ดี วัณโรคแฝงอาจกลายมาเป็นวัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบได้ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเช่นเดียวกัน ในขณะที่วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบนั้นทําให้ผู้ป่วยมีอาการของวัณโรค และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ 

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบอาจมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • มีอาการไอเรื้อรังยาวนานถึง สัปดาห์หรือมากกว่านั้น
  • ไอแล้วเสมหะมีเลือดปนออกมา
  • มีอาการเจ็บหน้าอก ขณะหายใจหรือไอ
  • มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • มีน้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • มีไข้ หรือมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • รู้สึกไม่อยากอาหาร 

โดยทั่วไปแล้ว วัณโรคอาจเป็นกันได้ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายนอกเหนือจากปอดก็ได้ เช่น ไต กระดูกสันหลัง หรือสมอง โดยจะมีอาการแตกต่างกันไปตามบริเวณร่างกายที่เกิด เช่น ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหลังหากวัณโรคลงกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยอาจมีเลือดในปัสสาวะหากวัณโรคลงไต  

เมื่อต้องพบแพทย์

ผู้ป่วยวัณโรคปอดจะมีไข้ น้ำหนักลดโดยหาคำอธิบายไม่ได้ มีเหงื่อออกในเวลากลางคืน หรือไอเรื้อรังโดยนิยามคือมากกว่า 3 สัปดาห์ หากมีอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที โดยแพทย์อาจใช้วิธีซักประวัติ ตรวจร่างกาย และผลปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อระบุสาเหตุของโรค  

สาเหตุของวัณโรคปอด

โดยทั่วไปแล้ว วัณโรคปอดมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ที่ทำให้เกิดโรค ที่รับผ่านกันมาจากละอองฝอยทางอากาศ วัณโรคเป็นโรคติดต่อ แต่ก็ไม่ได้ติดกันง่าย ๆ ซึ่งหมายความว่า ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะติดโรคจากคนใกล้ชิดหรือคนที่ทํางานด้วยกัน ไม่ใช่คนแปลกหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีเชื้อเอชไอวีหรือเอดส์จะได้รับเชื้อและเกิดวัณโรคง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ นอกจากนี้ เชื้อวัณโรคบางชนิดมีการดื้อยา โดยเฉพาะกลุ่มยาไอโซไนอาซิดและไรแฟมพิซิน 

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดวัณโรคปอดมีอะไรบ้าง 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคปอดมีหลายอย่าง เช่น 

  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากมีโรคบางอย่างหรือเข้ารับการรักษาบางประเภท เช่น เป็นเอดส์ หรือ กำลังทำเคมีบําบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง
  • เดินทางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคสูง
  • กำลังใช้สารบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • ไม่มีบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้ผู้ป่วยได้เข้าใช้บริการ
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรค เช่น กำลังอาศัยอยู่หรือเคยทำงานในสถานพยาบาล หรือกำลังอาศัยอยู่ในหรืออพยพมาอยู่ในประเทศที่มีการติดเชื้อวัณโรคสูง หรือกำลังอาศัยอยู่กับผู้ที่ติดเชื้อวัณโรค 

 
แพทย์วินิจฉัยวัณโรคปอดได้อย่างไร 

โดยปกติแล้ว แพทย์มักเริ่มด้วยซักประวัติและการตรวจร่างกาย เช่น การตรวจต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วย หรือใช้หูฟัง (Stethoscope) เพื่อฟังเสียงในปอดขณะหายใจ นอกจากนี้ แพทย์อาจเลือกใช้การตรวจอื่น ๆ ด้วย เช่น การตรวจผิวภูมิต้านทานเฉพาะ การตรวจเลือด การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย X-Ray และการตรวจเสมหะ  

แพทย์รักษาวัณโรคปอดอย่างไร 

แพทย์มักเลือกใช้ยาในการรักษาวัณโรคปอด ซึ่งใช้เวลาในการรักษานานกว่าโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่น การรักษาวัณโรคปอดอาจแตกต่างกัน ไปดังนี้ 

ยารักษาวัณโรคปอดที่ใช้บ่อยที่สุด

แพทย์อาจเลือกใช้ยารักษาผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค ดังต่อไปนี้ 

  • ไอโซไนอะซิด (Isoniazid) 
  • ริฟามพิน (Rifampin)
  • เอทแทมบูท (Ethambutol)
  • ไพราซีนาไมด์ (Pyrazinamide) 

ทั้งนี้ แพทย์อาจสั่งยาเพิ่มเติมในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นวัณโรคชนิดที่ดื้อยาแล้ว เช่น 

  • เบดาไคลีน (Bedaquiline) 
  • ไลน์โซลิด (Linezolid) 


การเตรียมตัวก่อนพบแพทย์

ก่อนพบแพทย์ ผู้ป่วยวัณโรคปอดควรเตรียมตัวดังนี้

  • ทราบถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ก่อนพบแพทย์ 
  • จดบันทึกอาการของโรคที่มี
  • เตรียมรายการข้อมูลส่วนตัว เช่น มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หรือประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ
  • เตรียมรายการยา วิตามินหรืออาหารเสริมที่ผู้ป่วยเคยใช้หรือกำลังใช้
  • เตรียมคําถามไว้ถามแพทย์ 

ต้องเจออะไรบ้างเมื่อต้องพบแพทย์

ในระหว่างการซักประวัติผู้ป่วย แพทย์อาจถามเกี่ยวกับ 

  • อาการและเริ่มสังเกตเห็นอาการเมื่อไร 
  • ผู้ป่วยมีเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์หรือไม่ 
  • ผู้ป่วยเคยอาศัยอยู่ในต่างประเทศหรือเคยเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ 
  • ผู้ป่วยเคยอยู่หรือกำลังอาศัยอยู่กับคนที่เป็นวัณโรคหรือไม่ 

เผยแพร่เมื่อ: 09 มี.ค. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    นพ. ฐิติ ศรีเจริญชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, อายุรศาสตร์โรคปอด, เวชบำบัดวิกฤต
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. วรวรรณ ศิริชนะ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. เกษม สิริธนกุล

    นพ. เกษม สิริธนกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, หายใจลำบาก, ไอเรื้อรัง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคมะเร็งปอด, โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคปอดบวม, คลินิกหยุดบุหรี่
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    นพ. กันต์ โอโกโนกิ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    ศ.นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

    ศ.นพ. ยงยุทธ์ พลอยส่องแสง

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    นพ. วรการ วิไลชนม์

    นพ. วรการ วิไลชนม์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน, โรคหอบหืดและไอเรื้อรัง, เครื่องช่วยหายใจ, วัณโรค