รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม เครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ - Review: Breast Cancer Screening 3D Digital Mammogram and Ultrasound

รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ เป็นประจำทุก ๆ 1 - 2 ปี ช่วยให้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการตรวจเจอมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสรักษาหายขาดได้สูงถึง 95%

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


รู้หรือไม่ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ เป็นประจำทุก ๆ 1 - 2 ปี ช่วยให้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการตรวจเจอมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสรักษาหายขาดได้สูงถึง 95% และลดโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคนี้ได้ถึง 30% ใครที่ลังเลหรือหลีกเลี่ยงการตรวจเพราะกลัวเจ็บ อายหมอ หรืออายพยาบาล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการพบมะเร็งเต้านมในระยะลุกลาม นำไปสู่การสูญเสียเต้านมทั้งหมด หรืออาจเสียชีวิตได้

แล้วการตรวจมะเร็งเต้านม เจ็บไหม? จริง ๆ แล้ว การตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม (3D Digital Mammogram) หลายคนบอกว่าเจ็บน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีปกติเยอะมาก และยิ่งถ้าตรวจร่วมกับการทำ อัลตราซาวด์ ด้วยแล้ว จะช่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นได้ดีมาก ๆ โรงพยาบาลเมดพาร์ค จึงอยากชวนผู้ที่สนใจ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ มาดูกันว่าแต่ละขั้นตอนเขาตรวจกันยังไง น่ากลัวจริงไหม ติดตามอ่านได้เลย

6 เหตุผล ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค ดีอย่างไร?

  • ดูแลแต่ละขั้นตอนการตรวจโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวินิจฉัย นักรังสีเทคนิค และพยาบาลวิชาชีพ ที่มีความชำนาญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม คอยให้คำแนะนำ และอธิบายขั้นตอนการตรวจที่เข้าใจง่าย ซักถามด้วยความสุภาพ และใส่ใจในทุกรายละเอียดที่อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของเต้านม
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยคัดกรองความผิดปกติเบื้องต้นของเต้านมได้ครอบคลุมและแม่นยำ เช่น เครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม ที่แยกแยะเนื้อเยื่อ ไขมัน และหินปูน ได้อย่างละเอียด เมื่อตรวจร่วมกับการทำอัลตราซาวด์ ที่ช่วยตรวจดูได้ว่าความผิดปกติที่ตรวจพบนั้นเป็นก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำ ทำให้สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้นว่าสิ่งที่ตรวจพบคืออะไร และวางแผนการรักษาในขั้นตอนต่อไปได้อย่างเหมาะสม
  • ทราบผลการตรวจภายในวันเดียวกัน โดยใช้เวลารอผลประมาณ 1 ชั่วโมง รังสีแพทย์ และศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านมจะอ่านและวินิจฉัยผลตรวจร่วมกัน
  • ศัลยแพทย์ผู้แจ้งผลฯ อธิบายภาพแมมโมแกรมด้วยจอแสดงผลที่มีความคมชัดสูง ซึ่งเป็นจอชนิดเดียวกับที่รังสีแพทย์ใช้แปลผลในห้องอ่านผลดิจิทัลเอกซเรย์ ช่วยให้คนไข้เห็นภาพโครงสร้างและสิ่งผิดปกติภายในเต้านมได้ชัดเจน และเข้าใจคำอธิบายของศัลยแพทย์ฯ ง่ายขึ้น
  • กรณีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติที่สงสัยว่าอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งหรือรอยโรคอื่น ๆ แพทย์จะแนะนำให้ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เช่น เก็บชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือทำ MRI เพิ่มเติม ซึ่งโรงพยาบาลเมดพาร์ค มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยา ที่สามารถช่วยให้กระบวนการตรวจวินิจฉัยมีความรวดเร็วและแม่นยำ และรับมือกับความผิดปกติที่ตรวจพบได้ทันท่วงที
  • สำหรับผู้ที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าต้องทำการรักษาอย่างเร่งด่วน โรงพยาบาลเมดพาร์คมีทีมศัลยแพทย์ เฉพาะทางด้านเต้านม ที่มีความชำนาญในการผ่าตัดเต้านมหลากหลายเทคนิค ช่วยให้คนไข้สามารถสงวนเต้านมไว้ได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี คลายกังวลเรื่องรูปร่าง และความสวยงามภายหลังจบการรักษา

รีวิว ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ ไม่เจ็บเท่าที่กลัว รู้ผลไว คุณหมออธิบายเข้าใจง่ายมาก ๆ

1. จองคิวตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผ่าน MedPark Call Center

จองคิวตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผ่าน MedPark Call Center

ทำประวัติเสร็จแล้วก็มายื่นเอกสารที่ศูนย์ศัลยกรรม คลินิกเต้านม ชั้น 6 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกับโรงพยาบาลเมดพาร์ค (Digital Mammogram with Ultrasound) สะดวกมาก เริ่มต้นจากการโทรมาสอบถามรายละเอียดการตรวจ และทำนัดตรวจผ่านเจ้าหน้าที่ Call Center ซึ่งง่ายและรวดเร็วดี

พอถึงวันนัดหมายก็เดินทางมายังโรงพยาบาล หากยังไม่เคยมีประวัติกับโรงพยาบาลเมดพาร์ค ควรมาถึงก่อนเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อทำประวัติที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียน ชั้น G

2. ซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น

ซักประวัติและตรวจร่างกายเบื้องต้น

เจ้าหน้าที่จะซักประวัติเบื้องต้น วัดความดัน วัดอุณหภูมิ และวัดค่าออกซิเจน จากนั้นขั้นตอนการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ จะต้องย้ายไปทำที่ ศูนย์รังสีวินิจฉัย ชั้น 6 เคาน์เตอร์ B ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนชั้นเดียวกัน

ตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม ที่ศูนย์รังสีวินิจฉัย

3. ตรวจแมมโมแกรม ด้วยเครื่อง 3D Digital Mammogram

ขั้นตอนนี้ต้องเปลี่ยนเป็นชุดของโรงพยาบาลที่สะดวกต่อการตรวจมากกว่าชุดที่เราใส่มาจากบ้าน พอเปลี่ยนชุดและเก็บของใช้ในล็อกเกอร์ส่วนตัวเสร็จ ก็มาเตรียมตัวตรวจขั้นตอนแรกที่หน้าห้องตรวจแมมโมแกรม

เจ้าหน้าที่เชิญไปตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม

รอสักครู่เจ้าหน้าที่ก็มาเชิญให้เข้าห้องตรวจแมมโมแกรม บรรยากาศภายในห้องตรวจไม่น่ากลัวแบบที่กังวล ก่อนเริ่มตรวจ นักรังสีเทคนิคจะซักประวัติเพิ่มเติม เช่น ประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมในครอบครัว ประวัติการทำศัลยกรรมเต้านม และความผิดปกติที่อาจพบจากการคลำเต้านมเอง จากนั้นก็จะอธิบายขั้นตอนการตรวจ และการจัดท่าทางในระหว่างตรวจ

ตรวจด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาตรวจประมาณ 30 นาที นักรังสีเทคนิคจะอธิบายขั้นตอนและแนะนำท่าทางในการถ่ายภาพดิจิทัลเอกซเรย์ได้ละเอียดดีมาก ๆ ทำให้การตรวจผ่านไปอย่างราบรื่น ใครที่กังวลว่าตรวจแมมโมแกรมแล้วจะเจ็บ ส่วนตัวคิดว่าไม่ค่อยเจ็บเท่าไร หรือถ้าเราเจ็บหรือรู้สึกอึดอัดมากระหว่างตรวจ ก็บอกนักรังสีเทคนิคได้ตลอดเวลา

  • Good to know: การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยวิธี 3D Digital Mammogram ช่วยคัดกรองมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกได้ดี สามารถระบุตำแหน่งของจุดหินปูน หรือเนื้อเยื่อที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งยังคลำไม่พบก้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • MedPark Tips: ช่วงเวลาที่เหมาะกับการตรวจแมมโมแกรมมากที่สุด และรู้สึกเจ็บน้อยสุด คือ 7 - 14 วัน หลังมีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึง จะช่วยให้รู้สึกเจ็บน้อยกว่า หรืออาจไม่เจ็บเลย

4. ตรวจอัลตราซาวด์เต้านม

อัลตราซาวด์เต้านมโดยรังสีแพทย์

จากนั้นก็ไปทำอัลตราซาวด์เต้านมกันต่อ ขั้นตอนนี้ รังสีแพทย์จะเป็นผู้ตรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะให้คนไข้นอนหงายบนเตียง นำอุปกรณ์สำหรับหนุนแผ่นหลังมาหนุนให้ในด้านที่จะทำการตรวจ และนำผ้าห่มมาคลุมให้อีกชั้นนึง ก่อนจะเปิดเสื้อ และทาเจลสำหรับอัลตราซาวด์บริเวณที่จะตรวจทีละข้าง คุณหมอจะใช้หัวตรวจ วนตรวจอย่างละเอียดข้างละประมาณ 5 - 15 นาที ทั้งหมดนี้จะใช้เวลาตรวจประมาณ 20 - 30 นาที ขึ้นอยู่กับลักษณะของเต้านม และความผิดปกติที่ตรวจพบ 

  • Good to know: การตรวจอัลตราซาวด์ ควรทำควบคู่ไปกับการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ซึ่งเนื้อเต้านมยังมีความหนาแน่นมาก การทำอัลตราซาวด์จะแยกแยะความผิดปกติได้ว่าเป็นถุงน้ำหรือก้อนเนื้อ และตรวจหารอยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น

5. รอผลตรวจ

หลังตรวจครบทั้ง 2 ขั้นตอน เจ้าหน้าที่แจ้งว่ารอผลตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถพักกินข้าว หรือจะมานั่งเล่นรอที่ห้องรับรองของ คลินิกเต้านม ศูนย์ศัลยกรรม ก็ได้ เมื่อผลตรวจมาแล้วเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ทราบทันที

6. ฟังผลตรวจกับศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค จะได้ฟังผลกับศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม โดยคุณหมอจะนำผลตรวจที่ได้จากการแปลผลของรังสีแพทย์ มาเทียบกับภาพตรวจดิจิทัลแมมโมแกรม และผลตรวจอัลตราซาวด์อย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะไม่พลาดสัญญาณผิดปกติ หรือรอยโรคใด ๆ

ฟังผลตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม กับศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม

ในขั้นตอนนี้ จะมีการตรวจเต้านมโดยศัลยแพทย์ฯ เราสามารถเลือกได้ว่าจะตรวจหรือไม่ แต่ถ้าเป็นเคสที่มีแนวโน้มผิดปกติ คุณหมอแจ้งว่าจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม โดยในระหว่างตรวจจะมีเจ้าหน้าที่พยาบาลอยู่ข้าง ๆ คอยอำนวยความสะดวกให้ทุกขั้นตอน

ฟังผลตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม กับศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม

จากนั้นคุณหมอจะอ่านผลตรวจให้ฟังทีละรายการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีการเปิดภาพดิจิทัลแมมโมแกรม ผ่านจอแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง 5 เมกะพิกเซล ประกอบการอ่านผล ซึ่งไม่ค่อยเห็นว่ามีโรงพยาบาลไหนนำจอราคาหลักแสนที่ปกติจะอยู่ในห้องแปลผลของรังสีแพทย์ มาติดตั้งไว้ในห้องแจ้งผลตรวจสำหรับคนไข้

ตรวจเต้านมเพิ่มเติมโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม

จากนั้นคุณหมอจะอ่านผลตรวจให้ฟังทีละรายการด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีการเปิดภาพดิจิทัลแมมโมแกรม ผ่านจอแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง 5 เมกะพิกเซล ประกอบการอ่านผล ซึ่งไม่ค่อยเห็นว่ามีโรงพยาบาลไหนนำจอราคาหลักแสนที่ปกติจะอยู่ในห้องแปลผลของรังสีแพทย์ มาติดตั้งไว้ในห้องแจ้งผลตรวจสำหรับคนไข้

จอแสดงผลตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมความละเอียดสูง

การอธิบายผลตรวจด้วยภาพดิจิทัลเอกซเรย์ผ่านจอความละเอียดสูง มีข้อดี คือ ช่วยให้คนไข้เข้าใจโครงสร้างเต้านม สังเกตเห็นตำแหน่งที่มีความผิดปกติได้ชัดเจน ช่วยให้ติดตามคลำเต้านมด้วยตนเองตามคำแนะนำของคุณหมอได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น 

ผลตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม แบ่งออกเป็น 3 แบบ

  • ผลตรวจปกติ สามารถกลับบ้านได้เลย
  • ผลตรวจผิดปกติเล็กน้อย แนะนำให้มีการเฝ้าระวังเพิ่มเติม โดยคุณหมอจะนัดตรวจติดตามอาการทุก ๆ 4 - 6 เดือน ตามความเหมาะสม
  • ผลตรวจผิดปกติ กรณีนี้ต้องมีการส่งตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด โดยคุณหมอจะพิจารณาว่าต้องตรวจด้วยวิธีไหน จึงจะช่วยให้ได้ผลตรวจมีความชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น ตรวจ MRI หรือเจาะชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อวางแผนรักษาได้อย่างเหมาะสมต่อไป

กรณีที่ตรวจพบความผิดปกติของเต้านม และต้องส่งตรวจเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่จะอำนวยความสะดวกในการทำนัดกับแผนกที่เกี่ยวข้องหลังทราบผลตรวจให้เลย ถือว่าสะดวก และดีต่อผู้เข้ารับบริการมาก ๆ

7. รับผลตรวจ และใบนัดตรวจติดตามอาการ ในกรณีตรวจพบความผิดปกติ

หลังจากฟังผล และชำระค่าบริการเรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกรับผลตรวจได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบเอกสาร ที่เคาน์เตอร์พยาบาล คลินิกเต้านม ศูนย์ศัลยกรรม โรงพยาบาลเมดพาร์ค หรือเลือกรับเป็นไฟล์ PDF ส่งผ่านอีเมลที่แจ้งไว้ก็ได้เช่นกัน เรียกได้ว่าตอบโจทย์ความต้องการของคนไข้ทุกช่วงวัยมาก ๆ

ผลตรวจปกติ รับใบแจ้งผลแล้วกลับบ้านได้เลย

มาถึงบรรทัดนี้แล้ว สรุปได้ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ทุกขั้นตอนผ่านไปอย่างราบรื่น ใช้เวลาในการตรวจ และรอฟังผลไม่นาน ได้ตรวจกับรังสีแพทย์ และศัลยแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง เจ้าหน้าที่ทุกคนดูแลเหมือนคนในครอบครัว และให้คำแนะนำดีมาก ๆ ตรวจเสร็จแล้วรู้ผลได้ในวันเดียวกัน ถ้าพบความผิดปกติหรือรอยโรคก็ส่งตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียดได้เลย ตรงนี้ทำให้มั่นใจว่า เราจะสามารถรับมือกับมะเร็งเต้านม หรือความผิดปกติอื่น ๆ ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

สอบถามรายละเอียด และทำนัด ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ กับโรงพยาบาลเมดพาร์ค คลิกที่นี่


ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่ไหนดี?

มะเร็งเต้านมถือเป็นมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก ดังนั้น ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำ หากมีคนในครอบครัวป่วยด้วยมะเร็งเต้านม ยิ่งจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุกปี เพื่อให้สามารถคัดกรองและรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ควรพิจารณาตัดสินใจเลือกสถานที่ตรวจฯ ดังนี้ 

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม เช่น ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม แพทย์รังสีวินิจฉัย นักรังสีเทคนิค และพยาบาลวิชาชีพ เป็นต้น
  • ตรวจด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าสามารถคัดกรองสัญญาณเริ่มต้นของมะเร็งเต้านมได้แม่นยำ โดยที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค เป็นการตรวจด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม ซึ่งตรวจได้ละเอียดกว่าการทำแมมโมแกรมทั่วไป ให้ภาพและรายละเอียดของเต้านมที่มีความคมชัดสูง
  • เพื่อเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น ควรตรวจร่วมกับการทำอัลตราซาวด์เต้านม จะช่วยให้สามารถตรวจพบและแยกแยะความผิดปกติในเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • หากตรวจพบความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย แพทย์สามารถพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด และวางแผนรักษาต่อได้ทันที ช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค ตรวจอะไรบ้าง?

  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม มีความละเอียด ให้ภาพที่มีความคมชัดสูง ช่วยให้เห็นหินปูนขนาดเล็ก และรอยโรคได้ชัดเจนขึ้น ทั้งยังใช้เวลาตรวจสั้น รู้สึกเจ็บน้อยกว่าการตรวจแมมโมแกรมทั่วไป และใช้ปริมาณรังสีในการตรวจต่ำตามมาตรฐานสากล
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจที่แนะนำให้ทำควบคู่กับการตรวจด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการแยกแยะสิ่งแปลกปลอมที่ตรวจพบในเต้านมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยการคลำ เป็นการตรวจโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม จะคลำเต้านมด้วยมือเพื่อประเมินความผิดปกติต่าง ๆ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการตรวจพบก้อนที่เต้านม มีก้อนน้ำเหลืองบวมโตใต้รักแร้ หรือมีจุดที่กดแล้วเจ็บมากผิดปกติ

ตรวจแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม ต่างกันอย่างไร?

หลายคนน่าจะอยากรู้ว่า จริง ๆ แล้ว จำเป็นต้องตรวจแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านม ควบคู่กันทั้ง 2 อย่างเลยไหม คำตอบคือ เราสามารถทำอัลตราซาวด์ หรือแมมโมแกรม อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ ขึ้นอยู่กับช่วงวัย และคำแนะนำของแพทย์ เช่น หากอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แต่ถ้าหากเป็นผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 35 ปี สามารถตรวจแมมโมแกรมได้ แต่ไม่นิยมทำ เนื่องจากยังมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมไม่สูง และเป็นการได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ คนไข้ที่มีอายุน้อย มักมาพบแพทย์จากการตรวจพบก้อนที่เต้านมมากกว่าพบหินปูน รังสีแพทย์จึงมักแนะนำให้ทำอัลตราซาวด์เบื้องต้น และหากพบความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาให้ทำแมมโมแกรมเป็นราย ๆ ไป

โดยการตรวจทั้ง 2 วิธี มีข้อดีแตกต่างกัน ดังนี้

  • การตรวจเต้านม ด้วยเครื่อง 3D ดิจิทัลแมมโมแกรม จะเป็นการถ่ายภาพทางรังสีด้วยการบีบเนื้อเต้านมเข้าหากัน เพื่อเก็บภาพด้านบน และด้านข้าง ซึ่งจะมีการปล่อยรังสีปริมาณต่ำ เก็บภาพถ่ายได้รวดเร็ว เห็นรายละเอียดของเต้านมได้คมชัด โดยเฉพาะพวกจุดหินปูนขนาดเล็กซึ่งการทำอัลตราซาวด์จะไม่พบ และคลำด้วยมือไม่เจอ
  • การตรวจเต้านม ด้วยการอัลตราซาวด์ เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสะท้อนไปในเต้านม ในการแยกแยะองค์ประกอบของเนื้อเยื่อและน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูขอบเขตของก้อนเนื้อได้ว่าเป็นอันตรายจนต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่องหรือไม่

ดังนั้น เพื่อให้การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมีประสิทธิภาพสูงสุด และคัดกรองความผิดปกติเบื้องต้นได้ละเอียด ตรวจเลือกโปรแกรมตรวจมะเร็งเต้านม ที่ใช้การตรวจทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไป

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ที่โรงพยาบาลเมดพาร์ค ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  • ควรทำนัดตรวจล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว 
  • สามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ
  • งดทาโลชั่น ครีมบำรุงผิว แป้งบริเวณเต้านม ไม่ฉีดน้ำหอม ไม่ทาโรลออน และงดฉีดสเปรย์ระงับกลิ่นกายใต้รักแร้
  • หากมีการทำศัลยกรรมเต้านม หรือตรวจพบความผิดปกติของเต้านมด้วยตนเองก่อนมาพบแพทย์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ และแพทย์ทราบทุกครั้ง

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

Q: อายุเท่าไร ยังไม่จำเป็นต้องตรวจแมมโมแกรม
A: หากอายุน้อยกว่า 35 ปี แพทย์จะไม่แนะนำให้ทำดิจิทัลแมมโมแกรม เนื่องจากยังมีความเสี่ยงไม่สูงมาก และคนไข้มักมาพบแพทย์จากการคลำพบก้อนเนื้อมากกว่าตรวจพบหินปูนในเต้านม ส่วนมากแพทย์จะแนะนำให้ตรวจคัดกรองด้วยอัลตราซาวด์ในเบื้องต้นก่อน และหากพบความผิดปกติจะพิจารณาตรวจด้วยการทำแมมโมแกรมเพิ่มเติมเป็นราย ๆ ไป

Q: รังสีจากการตรวจแมมโมแกรม อันตรายไหม
A: ปริมาณรังสีจากการทำแมมโมแกรมมีปริมาณต่ำ และอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งน้อยกว่ารังสีจากเครื่อง CT Scan มาก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และมีประโยชน์เหนือความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

Q: การถูกเครื่องแมมโมแกรมบีบเต้านมจนรู้สึกเจ็บมาก ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
A: ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด

Q: ผู้หญิงข้ามเพศ (Male-to-female: MTF / Trans woman) ที่เสริมหน้าอก จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมไหม
A: เบื้องต้นแพทย์แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นประจำ หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรมาพบศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยวิธีที่เหมาะสมอีกครั้ง

Q: ผู้ชายข้ามเพศ (Female-to-male: FTM / Trans man) ที่ตัดหน้าอกไปแล้ว ยังมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมอยู่ไหม
A: ยังมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้อยู่ เนื่องจากอาจตัดเต้านมออกไปได้ไม่หมด 100% ทำให้หลงเหลือเนื้อใต้ปานนม หรือเนื้อเต้านมบางส่วนอยู่ แต่ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม จะลดลงเหลือเกือบเท่าการพบมะเร็งเต้านมในผู้ชาย ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรมทุกปี แต่แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้พบความผิดปกติเบื้องต้นได้ดียิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 28 ก.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. จียิน  วรวิทธิ์เวท

    พญ. จียิน วรวิทธิ์เวท

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ตกแต่งเพื่อความงาม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
    Reconstructive Microsurgery, Breast Cosmetic and Reconstruction, Lymphatic Surgery, Facial Paralysis Reconstruction, Facial Reanimation, Endoscopic Carpal Tunnel Release
  • Link to doctor
    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    นพ. สมชาย ธนะสิทธิชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  แสงศิริ ชุมแสงศรี

    พญ. แสงศิริ ชุมแสงศรี

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    นพ. อธิศพันธุ์ จุลกทัพพะ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    • ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
    Breast Surgery, Vascular Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    พญ. พอใจ เตชะนิธิสวัสดิ์

    พญ. พอใจ เตชะนิธิสวัสดิ์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    นพ. ศรันย์ ทองวิทูโกมาลย์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    นพ. สิกฤษฏิ์ เด่นอริยะกูล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, General Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. นวลพรรณ พลชัย

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    General Surgery
  • Link to doctor
    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    นพ. พุทธิพร เย็นบุตร

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast and Thyroid Surgery, Breast Conserving Surgery, Breast Reconstruction with Autologous Flap and Prosthesis, Transaxillary Endoscopic Thyroidectomy
  • Link to doctor
    นพ. วรเทพ กิจทวี

    นพ. วรเทพ กิจทวี

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
  • Link to doctor
    รศ.พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    รศ.พญ. วิไลรัตน์ ประเสริฐ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    พญ. ณภัทร สายโกสุม

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. วศินี    พนมเสริฐ

    พญ. วศินี พนมเสริฐ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    นพ. มาวิน วงศ์สายสุวรรณ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery
  • Link to doctor
    พญ. รับพร สุขพานิช

    พญ. รับพร สุขพานิช

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Thyroid Surgery, Parathyroid Surgery
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์พร โรจนพิทยากร

    พญ. สุรีย์พร โรจนพิทยากร

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    Mammogram and Ultrasound Breast, Ultrasonographic Guided Biopsy/ Needle Localization of the Breast, Stereotactic Guided Biopsy/ Needle Localization of the Breast
  • Link to doctor
    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    รศ.นพ. กฤษณ์ จาฏามระ

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม
    Breast Surgery, Surgical Oncology
  • Link to doctor
    พญ. กรวรรณ จันทรจำนง

    พญ. กรวรรณ จันทรจำนง

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์เต้านม