โรคไข้รูมาติก - Rheumatic heart disease rheumatic fever

โรคไข้รูมาติก

โรคไข้รูมาติกเป็นเกิดจากอาการอักเสบที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส การติดเชื้อแบคทีเรียนี้มักทำให้เกิดอาการคออักเสบและอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น

แชร์

โรคไข้รูมาติก

โรคไข้รูมาติก เป็นเกิดจากอาการอักเสบที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส การติดเชื้อแบคทีเรียนี้มักทำให้เกิดอาการคออักเสบและอาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น ซึ่งรวมถึงความเสียหายถาวรต่อหัวใจและลิ้นหัวใจ โดยอาจรุนแรงจนนำไปสู่ภาะหัวใจล้มเหลวได้ ไข้รูมาติกสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 ถึง 15 ปี การรักษาไข้รูมาติกมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสียหายจากการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และอาการอื่น ๆ รวมทั้งป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค


อาการ
ไข้รูมาติก

ผู้ที่เป็นไข้รูมาติกอาจมีสัญญาณและอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ข้อต่อ ผิวหนัง หรือระบบประสาทส่วนกลาง โดยสัญญาณและอาการดังกล่าวอาจรวมถึงอาการดังต่อไปนี้

  • ไข้
  • อาการปวดและกดเจ็บในบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะในข้อต่อบริเวณหัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก และข้อมือ
  • ข้อต่อที่ร้อนหรือบวม
  • ตุ่มที่ไม่เจ็บปวดใต้ผิวหนัง
  • ผื่นที่ไม่เจ็บปวด
  • อาการเจ็บหน้าอก
  • เสียงฟู่ในหัวใจ
  • อาการเหนื่อยล้า
  • การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • พฤติกรรมที่ผิดปกติเช่น การหัวเราะ หรือร้องไห้ที่ไม่เหมาะสม


เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์

ขอแนะนำให้พาเด็กไปพบแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการเจ็บคอ
  • อาการเจ็บปวดขณะกลืน
  • ไข้
  • ปวดหัว
  • ปวดท้อง
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน


สาเหตุของโรค
ไข้รูมาติก

การติดเชื้อจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสทั้งในลำคอหรือผิวหนังเป็นสาเหตุของไข้รูมาติก แบคทีเรียเข้าโจมตีระบบภูมิคุ้มกันซึ่งส่งผลให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ซึ่งรวมถึงเนื้อเยื่อของหัวใจ ข้อต่อผิวหนัง และระบบประสาทส่วนกลาง ช่วงเริ่มต้นของการอักเสบอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บคอและโรคไข้อีดำอีแดง หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจพัฒนาเป็นไข้รูมาติก

ปัจจัยเสี่ยงโรคไข้รูมาติก

พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของไข้รูมาติก ได้แก่

  • ปัจจัยทางพันธุกรรม
  • เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส
  • ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายได้ง่ายเช่น สถานที่ที่คนความแออัดและการสุขาภิบาลที่ไม่ดี


ภาวะแทรกซ้อน

โรคไข้รูมาติกอาจกินเวลาสองสามสัปดาห์ถึงหลายเดือน แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่

  • ลิ้นหัวใจเสียหาย ไข้รูมาติกอาจทำให้เกิดความเสียหายของลิ้นหัวใจ ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง ความเสียหายอาจรวมถึง
    • ลิ้นหัวใจตีบ
    • ลิ้นหัวใจรั่ว
  • กล้ามเนื้อหัวใจเสียหาย การอักเสบอาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการสูบฉีดของหัวใจ

ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจนำไปสู่สภาวะหัวใจที่รุนแรงเช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดปกติและภาวะหัวใจล้มเหลว

การวินิจฉัยโรคไข้รูมาติก

การวินิจฉัยไข้รูมาติกเป็นการผสมผสานระหว่างการประเมินประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย และการทดสอบหลายอย่างที่อาจรวมถึง

  • การทดสอบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ (Swab test) แพทย์มักใช้การทดสอบการเช็ดคอกับเด็กและอาจไม่จำเป็นต้องทำการทดสอบแบคทีเรียอีก
  • การตรวจเลือด แพทย์อาจต้องตรวจเลือดเพื่อ
    • ตรวจหาแอนติบอดีต่อแบคทีเรียสเตรป
    • ตรวจหาการอักเสบ
  • การทดสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG หรือ EKG) ถูกใช้เพื่อบันทึกสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจเพื่อ
    • ค้นหากิจกรรมทางไฟฟ้าที่ผิดปกติ
    • กำหนดพื้นที่ที่ขยายใหญ่ขึ้นของหัวใจ
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) แพทย์อาจใช้การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อสร้างภาพของหัวใจเพื่อตรวจหาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ


    การรักษาไข้รูมาติก

    การรักษาไข้รูมาติกมีวัตถุประสงค์เพื่อ

    • ทำลายเชื้อแบคทีเรีย
    • บรรเทาอาการของโรค
    • ควบคุมการอักเสบ
    • ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค

    การรักษาอาจรวมถึงการให้ยาหลายชนิดรวมทั้ง ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ และยากันชัก

    การเตรียมตัวก่อนการพบแพทย์

    ก่อนการนัดหมายคุณควรตระหนักถึงข้อจำกัดก่อนการนัดหมาย และคุณอาจเตรียมข้อมูลบางอย่างของบุตรหลานของคุณอันได้แก่

    • อาการ
    • ความเจ็บป่วยล่าสุด
    • ยา วิตามิน และอาหารเสริมอื่น ๆ ทั้งหมดที่ใช้อยู่
    • คำถามที่คุณต้องการถามแพทย์

    ในระหว่างการปรึกษา แพทย์อาจถามคำถามบางอย่างรวมถึงข้อมูลเช่น

    • จุดเริ่มต้นของอาการ
    • การเปลี่ยนแปลงของอาการเมื่อเวลาผ่านไป
    • ประสบการณ์ไข้หวัดหรือหวัด
    • ประสบการณ์การเจ็บคอ
    • ประวัติการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคคออักเสบหรือไข้อีดำอีแดง
    • การบริโภคยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคคออักเสบหรือไข้อีดำอีแดง

    เผยแพร่เมื่อ: 25 ต.ค. 2020

    แชร์

    แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ผศ.(พิเศษ) พญ. อังควิภา ทรัพย์รุ่งเรือง

    ผศ.(พิเศษ) พญ. อังควิภา ทรัพย์รุ่งเรือง

    • กุมารเวชศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจเด็ก
  • Link to doctor
    พญ. มาริน ศตวิริยะ

    พญ. มาริน ศตวิริยะ

    • กุมารเวชศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจเด็ก
  • Link to doctor
    นพ. สุเทพ วาณิชย์กุล

    นพ. สุเทพ วาณิชย์กุล

    • กุมารเวชศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจเด็ก
    Pediatrics, Well Child Care and Vaccination, Pediatrics Cardiology, โรคหัวใจแต่กำเนิด, Acquired Heart Disease, โรคคาวาซากิ, Pediatrics Acute Myocarditis, Pediatrics Infective Endocarditis, Cardiac Disorders Secondary to Systemic Diseases