รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis Treatment) - แผนการรักษาที่เหมาะสม การใช้ยา และการบำบัด

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นให้ความสำคัญกับการควบคุมการอักเสบเพื่อลดความเสียหายของและเพิ่มความสามารถในการทํางานข้อต่อ รวมทั้งรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

แชร์

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทําให้เกิดการอักเสบในข้อต่อซึ่งนําไปสู่อาการปวดข้อและข้อยึดตึง โดยการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์นั้นให้ความสำคัญกับการควบคุมการอักเสบเพื่อลดความเสียหายของและเพิ่มความสามารถในการทํางานข้อต่อ รวมทั้งรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

แผนการรักษาที่เหมาะสม จะพิจารณาจากโรคประจำตัวที่มีอยู่ก่อนของแต่ละคน ความรุนแรงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การตอบสนองต่อการรักษา และผลข้างเคียงจากยา โดยแผนการรักษาอาจรวมไปถึงการใช้ยา การบำบัดแบบไม่ใช้ยา และการผ่าตัด


การใช้ยา
รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ส่วนใหญ่จําเป็นต้องใช้ยาเพื่อควบคุมหรือลดการอักเสบ เนื่องจากอาการอักเสบเรื้อรังจะทําให้ข้อต่อเริ่มถูกทำลายภายในสองปีแรก โดยการอักเสบมักจะหนักที่สุดในช่วงนี้

ชนิดของยาเพื่อควบคุมอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • ยาแก้ปวด กลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่กลุ่ม NSAIDs (non-NSAIDs) และ ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์(NSAIDs)

  • ยาแก้อักเสบ สเตียรอยด์มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบสูง มีทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และให้ทางหลอดเลือดดำ

  • ยาปรับเปลี่ยนการดำเนินโรครูมาตอยด์ (Disease-modifying antirheumatic drugs: DMARDs)
    • ยารักษาโรครูมาตอยด์ (Conventional DMARDs) เช่น ยา methotrexate ยา hydroxychloroquine ยา sulfasalazine ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ. 2541
    • กลุ่มยาชีววัตถุ (Biological DMARDs) ผลิตโดยเทคโนโลยีชีวภาพพันธุวิศวกรรม เช่น ยา etanercept ยา adalimumab ยาabatacept และยา tocilizumab ซึ่งให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเริ่มใช้หลังปีพ.ศ. 2541
    • ยาสังเคราะห์มุ่งเป้า (Targeted Synthetic DMARDs) เช่น ยา tofacitinib ในรูปแบบยาเม็ด


การบําบัดแบบไม่ใช้ยา

การบําบัดที่ไม่ใช้ยามีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดและเพิ่มความมั่นใจและคุณค่าของตัวเอง ช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์รู้สึกว่าสามารถควบคุมอาการเจ็บป่วยได้บ้างและสามารถจัดการกับภาวะซึมเศร้าและข้อจํากัดในการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ โดยการบำบัดประเภทนี้ประกอบไปด้วย

  • การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรครูมาตอยด์
    ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์สามารถช่วยให้ผู้ป่วยคาดการณ์และรับมือกับปัญหาทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้น โดยแพทย์และผู้ป่วยสามารถช่วยกันออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงการตั้งเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวที่ผู้ป่วยพึงทำเพื่อให้รู้สึกว่ายังพึ่งพาตนเองได้

  • การออกกำลังกาย
    การออกแบบโปรแกรมการออกกําลังกายเฉพาะบุคคล อันรวมไปถึงการออกกำลังกายเพิ่มความคล่องตัว การออกกำลังกายด้วยแรงต้าน และการออกกําลังกายแบบแอโรบิคช่วยเพิ่มความสามารถในการทํางานของข้อต่อและร่างกาย และป้องกันความเจ็บปวดและอาการข้อยึดติดที่เกิดจากโรคได้ การออกกําลังกายช่วยให้ช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อกลับมาดีขึ้น เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยปรับอารมณ์และเพิ่มความมั่นใจในตนเอง

  • การฝึกควบคุมการทำงานของร่างกาย (Biofeedback)

  • การบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy)

  • การทำกายภาพหรือกิจกรรมบำบัด
    การบำบัดนี้ช่วยรักษาและคงสภาพโครงสร้างและการทํางานของข้อต่อ โดยแพทย์จะออกแบบการบําบัดแบบเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ป่วย เช่น
    • การฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม
    • การฝึกการทํางานของร่างกายและการปรับเปลี่ยนกิจกรรม
    • การใส่เฝือกหรือเครื่องพยุงร่างกายเพื่อช่วยให้สามารถทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินหรือใช้มือหมุนเปิดขวดได้

  • การผ่าตัด
    โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่จําเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ในผู้ป่วยที่ข้อเสียหายถึงระดับสุดท้ายแต่ยังมีอาการปวดหรือไม่สามารถใช้งานได้ทั้งที่ไม่อยู่ในช่วงที่มีการอักเสบรุนแรง การผ่าตัดข้อต่อหรือการเปลี่ยนข้อก็เป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อ ป้องกันไม่ให้ข้อต่อได้รับความเสียหายไปมากกว่าที่เป็นอยู่และเพื่อฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและการทํางานของข้อต่อ

การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับผลข้างเคียงและประสิทธิภาพในการยับยั้งความเสียหายของข้อต่อ จึงแนะนําให้เลือกทำการรักษาที่สามารถควบคุมความเสียหายของข้อต่อได้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลรักษาในระยะยาว จึงเป็นเรื่องสําคัญที่ผู้ป่วยจะต้องพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลและตรวจสอบผลข้างเคียงของการรักษาอยู่เสมอ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 23 ม.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    นพ. วิรัตน์ ภิญโญพรพานิช

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคกระดูกพรุน, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • Link to doctor
    พญ. สุดอำไพ จารุกิจโสภา

    พญ. สุดอำไพ จารุกิจโสภา

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    โรคเกาต์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคแพ้ภูมิตัวเอง, กล้ามเนื้ออักเสบ, โรคข้อเสื่อม
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน