อาการและวิธีรักษาโรคด้วยวัคซีนไข้หัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน (Rubella)

โรคหัดเยอรมัน เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยคนส่วนใหญ่จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือบางรายจะไม่แสดงอาการของโรคเลย โรคหัดเยอรมันยังสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงต่อทารกในครรภ์

แชร์

โรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมัน (Rubella) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยคนส่วนใหญ่จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อยหรือบางรายจะไม่แสดงอาการของโรคเลย โรคหัดเยอรมันยังสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงต่อทารกในครรภ์

โรคหัดเยอรมันและโรคหัดไม่ใช่โรคเดียวกันแต่ว่ามีลักษณะอาการผื่นแดงที่มีความใกล้เคยงกัน นอกจากนั้นสาเหตุการเกิดโรคหัดเยอรมันนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆที่แตกต่างจากโรคหัด ในแง่ของความรุนแรงของโรค พบว่าโรคหัดเยอรมันมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคหัด

วัคซีน MMR (หัด-คางทูม-หัดเยอรมันเป็นวัคซีนที่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคหัดเยอรมัน แต่วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันไม่ได้สามารถหาได้ทุกประเทศ

ลักษณะอาการของโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่มักจะไม่แสดงอาการ และแทบจะไม่ปรากฏอาการโดยเฉพาะกับเด็ก โรคหัดเยอรมันมักมีอาการของโรคปรากฏขึ้นระหว่างสองถึงสามสัปดาห์หลังจากที่ผู้ป่วยมีการสัมผัสกับไวรัส ระยะเวลาของอาการกินระยะเวลามากสุดเป็นเวลาห้าวัน โดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • ไข้ต่ำประมาณ 38.9 เซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น 
  • ปวดศีรษะ
  • น้ำมูกไหล 
  • ตาแดงและอักเสบ
  • พบว่าต่อมน้ำเหลืองเกิดการโตขึ้น บริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองโตจะมีลักษณะพื้นผิวที่นิ่ม และมักจะพบได้ที่บริเวณด้านหลังของกะโหลกศรีษะ หลังคอ หรือด้านหลังหู
  • ผื่นสีชมพูจะเริ่มปรากฏที่ใบหน้าและจะเริ่มกระจายไปที่ลำตัว แขนและขา ตามลำดับ
  • อาการปวดข้อจะพบได้บ่อยกับวัยรุ่นผู้หญิง

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการอย่างไร 

ผู้ป่วยควรทำการนัดพบแพทย์หากคิดว่าตัวคุณหรือบุตรจะได้รับเชื้อหัดเยอรมันหรือมีอาการตามที่กล่าวไว้ด้านบน ผู้ป่วยควรตรวจข้อมูลบันทึกวัคซีนหัดเยอรมัน เพื่อให้แน่ใจว่าเคยได้รับวัคซีน MMR โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังวางแผนตั้งครรภ์ เนื่องจากโรคหัดเยอรมันอาจส่งผลให้เกิดความพิการกับทารกในครรภ์ตั้งแต่เกิด และอาจมีความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

อาการของโรคหัดเยอรมันจะเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากมารดาเกิดการติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุหลักของการเกิดอาการหูหนวกแต่กำเนิด เกิดจากการติดเชื้อไข้หัดเยอรมันในระหว่างการตั้งครรภ์ ดังนั้นการได้รับวัคซีน MMR ก่อนการตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

หากมีการตั้งครรภ์แพทย์จะทำการสั่งให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจคัดกรองภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยควรทำการนัดพบแพทย์ทันทีหากไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันหรือวัคซีน MMR มาก่อน หรือหากคิดว่าอาจมีโอกาสได้รับเชื้อหัดเยอรมัน นอกจากนี้แพทย์จะทำการสั่งให้ผู้ป่วยตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อหาข้อมูลว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันหรือไม่

สาเหตุของโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันเกิดจากไวรัสที่สามารส่งต่อจากคนสู่คน โดยเชื้อไข้หัดเยอรมันจะมีการแพร่เมื่อผู้ป่วยมีการไอหรือจาม นอกจากนี้โรคหัดเยอรมันยังสามารถแพร่ได้ด้วยการสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูกของผู้ป่วย มารดายังสามารถส่งเชื้อหัดเยอรมันไปยังทารกในครรภ์ผ่านทางกระแสเลือดอีกด้วย

ระยะเวลาการแพร่เชื้อของโรคหัดเยอรมันคือประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์ก่อนที่จะเกิดผื่น และจะเกิดขึ้นจนถึงประมาณหนึ่งถึงสองสัปดาห์หลังจากที่ผื่นหายไป โดยผู้ป่วยสามารถเริ่มแพร่เชื้อไวรัสได้ก่อนที่จะรู้ตัวว่าได้รับเชื้อหัดเยอรมัน

ในปัจจุบันโรคหัดเยอรมันสามารถพบได้น้อย เพราะเด็ก ๆ จะได้รับการฉีดวัคซีน MMR หรือวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันตั้งแต่วัยเยาว์ อย่างไรก็ตามยังสามารถพบไวรัสได้ในบางประเทศ ดังนั้นการได้รับวัคซีนก่อนการเดินทางไปต่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะหากคุณกำลังตั้งครรภ์

ภาวะแทรกซ้อนของโรคมีอะไรบ้าง

โรคหัดเยอรมันไม่ใช่โรคที่จะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่มีความรุนแรง หากผู้ป่วยเคยได้รับเชื้อหัดเยอรมันจะทำให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอรมันตลอดชีวิต ผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงบางรายอาจเกิดอาการข้ออักเสบที่นิ้วข้อมือและเข่า หากได้รับเชื้อหัดเยอรมัน โดยอาการจะกินระยะเวลาหนึ่งเดือน หากเชื้อหัดเยอรมันมีอาการรุนแรงผู้ป่วยจะเกิดอาการติดเชื้อที่หูหรือเกิดอาการของโรคสมองอักเสบได้

ในกรณีที่ผู้ป่วยกำลังตั้งครรภ์ โรคหัดเยอรมันจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเด็กในครรภ์และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต โรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดมักเกิดขึ้นกับทารกกว่าร้อยละ 80 ของทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันในระหว่างการตั้งครรภ์ หากทารกเป็นโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดจะส่งผลให้เกิดปัญหาที่ตามมา ดังต่อไปนี้ 

  • การเจริญเติบโตช้าลง 
  • ต้อกระจก
  • หูหนวก 
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด  
  • อวัยวะส่วนอื่นๆ พิการ  
  • ความบกพร่องทางสติปัญญา  

โรคหัดเยอรมันจะมีอาการที่แสดงความรุนแรงมากที่สุดในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ แต่หากมารดาเกิดการติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะหลังของการตั้งครรภ์ก็สามารถแสดงอาการของไข้หัดเยอรมันรุนแรงได้เช่นกัน

การวินิจฉัยโรคหัดเยอรมัน

วิธีวินิจฉัยอาการของโรคหัดเยอรมันแพทย์จะทำการยืนยันว่าผู้ป่วยเป็นโรคหัดเยอรมันหรือไม่ ผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพราะผื่นที่เกิดจากหัดเยอรมันมีลักษณะใกล้เคียงกับผื่นที่เกิดจากภาวะทางการแพทย์อื่นๆ นอกจากนี้แพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้ารับการเพาะเชื้อไวรัสพร้อมกับเข้ารับการตรวจเลือด โดยวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจหาแอนติบอดีของหัดเยอรมันที่สามารถพบได้ในเลือด ผลจากการตรวจจะช่วยให้แพทย์เข้าใจว่าผู้ป่วยเคยได้รับการฉีดวัคซีนหัดเยอรมัน หรือว่ามีประวัติได้รับเชื้อหัดเยอรมัน

การรักษาโรคหัดเยอรมัน

โรคหัดเยอรมันไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอาการ เนื่องจากโรคหัดเยอรมันอาการมักจะไม่รุนแรง แต่แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยทำการแยกตัวเองออกจากผู้อื่นในช่วงระยะแพร่เชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังตั้งครรภ์

หากผู้ป่วยกำลังอยู่ในช่วงการตั้งครรภ์ ควรทำการปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์หากมีการติดเชื้อ แพทย์จะทำการสั่งจ่ายซีรั่มอิมมูโนโกลบูลินให้แก่ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการของโรคหัดเยอรมัน ซีรั่มดังกล่าวทำจากแอนติบอดีซึ่งจะทำหน้าที่ทำโจมตีเชื้อหัดเยอรมันในร่างกาย แต่ซีรั่มจะไม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดกับทารกแรกเกิดได้

แนวทางการรักษาทารกที่เกิดมาพร้อมกับโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิดนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณีและขอบเขตการแพร่กระจายของโรค เด็กที่มีภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือควรรับวัคซีนหัดเยอรมันเพื่อป้องกันตั้งแต่แรกเริ่ม

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเองที่บ้าน  

คำแนะนำในการดูแลตนเองเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการ เมื่อเกิดการโรคหัดเยอรมันทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

  • การนอนพักบนเตียง 
  • การใช้ยาแก้ปวด (อย่างเช่น ยา Tylenol) เพื่อลดไข้และบรรเทาอาการปวด  

เผยแพร่เมื่อ: 22 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ภาวินี น้อยนารถ

    พญ. ภาวินี น้อยนารถ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคเลือด
    อายุรศาสตร์โรคเลือด, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. อัญชนา สุรอมรรัตน์

    พญ. อัญชนา สุรอมรรัตน์

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    พญ. นันทรัตน์ วงษ์วรอาภรณ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
    อายุรกรรมทั่วไป, เวชศาสตร์ป้องกัน
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. วรวรรณ ศิริชนะ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
    เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    ผศ.นพ. จิรยศ จินตนาดิลก

    • อายุรศาสตร์
    • เวชศาสตร์การนอนหลับ
    • เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    เวชศาสตร์การนอนหลับ, อายุรศาสตร์โรคปอด, อายุรกรรมผู้สูงอายุ, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  ปิยนุช  ปิยสาธิต

    พญ. ปิยนุช ปิยสาธิต

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรกรรมทั่วไป, โรคต่อมไร้ท่อทั่วไป, อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    ผศ.นพ. ชายวุฒิ สววิบูลย์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคปอด
    • อายุรศาสตร์เวชบำบัดวิกฤต
    อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ, เวชบำบัดวิกฤต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.   ปัทมา ริมมากุลทรัพย์

    พญ. ปัทมา ริมมากุลทรัพย์

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    รศ.นพ. พอพล โรจนพันธุ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    อายุรกรรมทั่วไป, อายุรกรรมผู้สูงอายุ
  • Link to doctor
    พญ. ณิชา สมหล่อ

    พญ. ณิชา สมหล่อ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โภชนศาสตร์คลินิก
    Adult Gastroenterology (Nutrition), โภชนาการคลินิก, อายุรกรรมทั่วไป, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน
  • Link to doctor
    นพ. ณัฐภาคย์ ประทักษ์พิริยะ

    นพ. ณัฐภาคย์ ประทักษ์พิริยะ

    • อายุรศาสตร์
    อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    พญ. ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. ขจร ตีรณธนากุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคไต
    อายุรศาสตร์โรคไต, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    พญ. ประภาพร พิมพ์พิไล

    • อายุรศาสตร์
    โรคเบาหวาน, อายุรกรรมทั่วไป, โรคความดันโลหิตสูง, โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน, โรคกระดูกพรุน, สุขภาพนักเดินทาง การให้วัคซีน และประเมินสุขภาวะก่อนและหลังกลับจากต่างประเทศหรือพื้นที่เสี่ยง
  • Link to doctor
    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    นพ. พีระวงษ์ วีรารักษ์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    พญ. วชรพรรณ อัสนุเมธ

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
    อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

    พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

    • กุมารเวชศาสตร์
    • กุมารเวชศาสตร์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
    General Pediatrics, Pediatrics Vaccination, Breastfeeding, Mastitis, Lactation Consultation, Preterm, Twin
  • Link to doctor
    นพ. ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ

    นพ. ประสิทธิ์ เผ่าทองคำ

    • อายุรศาสตร์
    • เวชพันธุศาสตร์
    เวชพันธุศาสตร์, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    พญ.  ศิรญา ไชยะกุล

    พญ. ศิรญา ไชยะกุล

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป
  • Link to doctor
    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    นพ. จักกพัฒน์ วนิชานันท์

    • อายุรศาสตร์
    • อายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ
    โรคติดเชื้อทั่วไป, อายุรกรรมทั่วไป