Scoliosis Surgery

ผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis Surgery)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis surgery) คือ การรักษาภาวะกระดูกสันหลังไม่ตั้งตรง กระดูกสันหลังบิดเอียง หมุนตัว หรือโค้งงอออกไปทางด้านข้างเป็นรูปตัว s หรือตัว c โดยมีมุมการคดของกระดูกสันหลังคด (Curve magnitude) มากกว่า10 องศา

แชร์

ผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis Surgery)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) คือ การรักษาภาวะกระดูกสันหลังไม่ตั้งตรง กระดูกสันหลังบิดเอียง หมุนตัว หรือโค้งงอออกไปทางด้านข้างเป็นรูปตัว s หรือตัว c โดยมีมุมการคดของกระดูกสันหลังคด (Curve magnitude) มากกว่า 10 องศาขึ้นไป ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ ฮอร์โมน โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ หรือความเสื่อมสภาพจากการใช้งาน ทำให้ลำตัวเอียงเสียสมดุล ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางระบบหายใจ ระบบประสาท และกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด เป็นวิธีการรักษาโรคกระดูกสันหลังคดเพื่อช่วยยับยั้งไม่ให้แนวกระดูกสันหลังบิดโค้งมากไปกว่าเดิม ช่วยแก้ไขแนวกระดูกสันหลังให้เป็นแนวตรง และช่วยจัดสมดุลแนวกระดูกสันหลังให้มีความแข็งแรง คงที่

กระดูกสันหลังคด สาเหตุจากอะไร?

โรคกระดูกสันหลังคด มีสาเหตุดังต่อไปนี้

  • โรคกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการร่างกายในขั้นตอนการสร้างกระดูกสันหลังของทารกในครรภ์มารดา โดยอาจมีการเชื่อมติดกันของกระดูกสันหลังเพียงข้างเดียว หรือมีการการเจริญเติบโตที่ไม่เท่ากันระหว่างกระดูกสันหลังทั้ง 2 ข้าง (ซ้ายหรือขวาอย่างน้อยหนึ่งข้อ) ส่งผลทำให้มีภาวะกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิดที่สังเกตเห็นได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) เป็นความผิดปกติของกระดูกสันหลังที่เกิดจากโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะสมองขาดเลือดที่ทำให้เป็นโรคสมองพิการ (Cerebral palsy) ความผิดปกติของระบบประสาท ฮอร์โมน หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ มีภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ (Muscular dystrophy) ทำให้เสียสมดุลกล้ามเนื้อลำตัว และทำให้เกิดการโค้งงอของกระดูกสันหลัง
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Degenerative scoliosis) เป็นความผิดปกติของของกระดูกสันหลังที่เกิดจากความเสื่อมสภาพตามวัย และจากการการใช้งานอย่างหนักของกระดูกสันหลังจนทำให้ข้อกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังทั้ง 2 ข้าง ซ้ายและขวาทรุดตัว เสียสมดุล และไม่เท่ากัน โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลังพบได้บ่อยในกลุ่มวัยผู้ใหญ่ หรือกลุ่มผู้สุงอายุ
  • รคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis) เป็นความผิดปกติของของกระดูกสันหลังที่ไม่อาจระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้ โดยสันนิษฐานว่าอาจมีสาเหตุจากโรคทางกรรมพันธุ์ที่ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ โดยทั่วไป อาการของโรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุจะเริ่มปรากฎให้เห็นเด่นชัดเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น และจะยิ่งบิด ผิดรูป และโค้งงอมากยิ่งขึ้นตามการเจริญเติบโตของร่างกาย

โรคกระดูกสันหลังคด เกิดในช่วงอายุเท่าไหร่?

โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กันในทุกช่วงอายุ ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ช่วงเข้าสู่วัยรุ่น จนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพศหญิงมีอัตราส่วนการเป็นโรคกระดูกสันหลังคดมากกว่าเพศชายถึง 8 เท่า โรคกระดูกสนหลังคด สามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้

  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในเด็กทารก (Infantile idiopathic scoliosis) ที่เริ่มแสดงอาการกระดูกสันหลังคดในช่วงก่อนอายุ 3 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile idiopathic scoliosis) ที่มีอาการกระดูกสันหลังคดในช่วงอายุระหว่าง 4-10 ขวบ
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis) ที่มีอาการกระดูกสันหลังคดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น หรือในช่วงอายุระหว่าง 10-18 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่พบโรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุมากที่สุด
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยผู้ใหญ่ (Adult idiopathic scoliosis) เป็นโรคกระดูกสันหลังคดที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปโดยมีสาเหตุจากความเสื่อมสภาพจากการใช้งาน โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยผู้ใหญ่ เป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคร่วมอื่น ๆ เช่น หมอนรองกระดูกทรุด กระดูกสันหลังทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่อาจทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขา อาการขาชา หรือขาอ่อนแรง เป็นต้น

Scoliosis Surgery   Th

กระดูกสันหลังคด มีสัญญาณและอาการอย่างไร?

อาการกระดูกสันหลังคดของแต่ละบุคคลไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสาเหตุและระดับความความบิดโค้งของกระดูกสันหลัง รวมถึงความผิดปกติร่วมอื่น ๆ ผู้ที่สงสัยว่ามีอาการสามารถทดสอบได้โดยให้ยืนขาชิดกัน แล้วก้มตัวไปข้างหน้าในแนวราบ ให้สะโพกงอ 90 องศา หากมีภาวะกระดูกสันหลังคดจะสามารถสังเกตเห็นความโค้งนูนของหลังทั้ง 2 ข้างคดงอไม่เท่ากันอย่างชัดเจน รวมถึงอาการแสดงดังต่อไปดังนี้

  • ระดับหัวไหลทั้ง 2 ข้างสูง-ต่ำที่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกไหปลาร้าสูง-ต่ำที่ไม่เท่ากัน
  • กระดูกสะบักนูนไม่เท่ากัน
  • ศีรษะไม่อยู่กึ่งกลางระหว่างแนวกระดูกเชิงกรานทั้ง 2 ข้าง
  • แนวกระดูกสันหลังไม่ตรง
  • แผ่นหลังหรือหน้าอกทั้ง 2 ข้างนูนไม่เท่ากัน
  • ลำตัวเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่งไม่สมดุลกัน
  • สะโพกหรือกระดูกเชิงกรานด้านใดด้านหนึ่งยกสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง
  • ระดับเอวทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน
  • ขาทั้ง 2 ข้างยาวไม่เท่ากัน
  • การเดินผิดปกติ

How Is Scoliosis Diagnosed

การวินิจฉัยกระดูกสันหลังคด มีวิธีการอย่างไร?

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังคดโดยการตรวจร่างกายเพื่อหามุมกระดูกสันหลังคด (Cobb angle) และทำการตรวจทางรังสีวิทยาภาพถ่ายทั้งด้านหน้าและด้านหลังของร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังคดมีวิธีการดังต่อไปนี้

  • การทำเอกซเรย์ (X-ray) เป็นการตรวจโครงสร้างของกระดูกสันหลังทั้งหมด รวมถึงข้อต่อและหมอนรองกระดูก เพื่อหามุมความโค้ง (Cobb angle) และสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังคด เช่น อาการบาดเจ็บภายใน อาการกระดูกแตก กระดูกหัก กระดูกผิดรูป หรือการติดเชื้อ
  • การทำ CT-scan (Computed tomography scan) เป็นการตรวจโครงสร้างกระดูกสันและไขสันหลัง รวมถึงขนาด รูปร่าง โพรงกระดูกสันหลังเพื่อหาความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง กระดูกแตก กระดูกหัก กระดูกผิดรูป หรือการติดเชื้อ
  • การทำ MRI (Magnetic resonance imaging) เป็นการตรวจโครงสร้างของกระดูกสันหลังและไขสันหลังแบบ 3 มิติเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความละเอียดคมชัด โดยรวมถึงโพรงกระดูกสันหลัง เส้นประสาทใต้ข้อต่อกระดูกสันหลัง และความผิดปกติของกระดูกสันหลัง เช่น การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง การขยายตัวของกระดูก และภาวะกระดูกผิดรูป

การประเมินอาการกระดูกสันหลังคด มีแนวทางอย่างไร?

แพทย์จะทำการประเมินผลภาพถ่ายทางรังสีวิทยาเพื่อยืนยันโรคกระดูกสันหลังคด ตามเกณฑ์การประเมินดังต่อไปนี้

  • ประเมินการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลัง ว่ามีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แล้วหรือไม่
  • ประเมินองศา และความรุนแรงของอาการกระดูกสันหลังคดที่ส่งผลกะทบต่อการดำเนินชีวิต ยิ่งอาการกระดูกสันหลังคดมีความรุนแรงมาก ก็จะยิ่งมีความจำเป็นในการผ่าตัดมาก
  • ประเมินตำแหน่งของกระดูกสันหลังคด โดยกระดูกสันหลังคดที่ตำแหน่งทรวงอก มีแนวโน้มที่จะพัฒนาความคดของกระดูกสันหลังเพิ่มมากกว่าตำแหน่งอื่น ๆ
  • ประเมินอายุ เนื่องจากโรคกระดูกสันหลังคดอาจมีการดำเนินโรคเพิ่มขึ้นตามวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกระดูกสันหลังคดตั้งแต่ช่วงวัยเด็กก่อนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จะมีแนวโน้มที่จะมีอาการกระดูกสันหลังคดมากกว่าผู้ที่เริ่มมีอาการในวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่

การรักษากระดูกสันหลังคด มีวิธีการอย่างไร?

เมื่อผลการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกสันหลังคดได้รับการยืนยัน แพทย์จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาโรคกระดูกสันหลังคดโดยคำนึงถึงระดับองศาความโค้งงอของกระดูกสันหลัง ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต และการดำเนินโรคช้า-เร็ว ทางเลือกในการรักษากระดูกสันหลังคดมีดังต่อไปนี้

  • การสังเกตอาการ (Observe) ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดระหว่าง 20-25 องศา หรือผู้ที่ตรวจพบภาวะกระดูกสันหลังคดในวัยเด็กและวัยรุ่น แพทย์จะแนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการและจะนัดตรวจติดตามอาการทุก ๆ 4-6 เดือน จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงวัยที่โครงสร้างกระดูกเจริญเติบโตแล้วอย่างเต็มที่ (Spinal maturity)
  • การใส่เสื้อเกราะพยุงหลัง (Bracing) ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดระหว่าง 25-40 องศา และยังอยู่ในช่วงที่กระดูกสันหลังยังเติบโตไม่เต็มที่ แพทย์จะพิจารณาให้ใส่เสื้อเกราะพยุงหลังอย่างน้อย 16-23 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรงขึ้นและเชื่อมข้อกระดูกสันหลังให้ติดแน่น โดยแพทย์จะนัดติดตามอาการเป็นระยะจนกระทั่งกระดูกได้พัฒนาแล้วอย่างเต็มที่แล้ว ทั้งนี้ การมีวินัยในการใส่เสื้อเกราะอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้กระดูกสันหลังคดน้อยลง และช่วยชะลอการคดของกระดูกสันหลังไม่ให้เพิ่มมากขึ้น 
  • การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด (Scoliosis surgery) ผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดมากกว่า 45 องศา หรือมีแนวโน้มการดำเนินโรคกระดูกสันหลังคดอย่างรวดเร็ว แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขแนวกระดูกคดเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดเพิ่มในอนาคต ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาเทคนิคในการผ่าตัดจากตำแหน่งกระดูกสันหลังคดเป็นหลัก

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด มีวิธีการอย่างไร?

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์จะพิจารณาการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดในผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดทำมุมตั้งแต่ 45 องศาขึ้นไป หรือผู้ที่มีแนวโน้มการดำเนินโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขแนวกระดูกคดให้เป็นแนวตรง ป้องกันกระดูกสันหลังคดที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคต และช่วยจัดสมดุลแนวกระดูกสันหลังให้มีความแข็งแรงมั่นคง โดยศัลยแพทย์จะพิจารณาเทคนิคดังต่อไปนี้

  • เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดเข้าทางด้านหลัง (Posterior approach) เป็นเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดโดยการใส่โลหะดามกระดูกเพื่อยึดแนวกระดูกสันหลังให้เหยียดตรงในแนวแกนกลางลำตัว โดยใช้สกรูยึดกระดูกสันหลังให้อยู่ในตำแหน่งเส้นตรง จากนั้นจึงทำการปลูกถ่ายไขกระดูกเพื่อเชื่อมแนวกระดูกสันหลัง (Spinal fusion) เข้าด้วยกัน เป็นการแก้ไขภาวะกระดูกผิดรูป หรือภาวะกระดูกสันหลังบิดหมุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดทางด้านหลัง เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน 
  • เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดเข้าทางด้านหน้า (Anterior approach) เป็นการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดเพื่อเชื่อมกระดูกสันหลังด้วยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบ 3 มิติที่ช่วยการแสดงภาพโครงสร้างอวัยวะภายใน ช่วยเพิ่มความแม่นยำในขั้นตอนการค้นหาตำแหน่ง การลงมือผ่าตัด และการเชื่อมสกรู ช่วยให้การใส่สกรูมีความแม่นยำ ลดความเสี่ยงการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทไขสันหลัง และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขขึ้นระหว่างการผ่าตัด
  • เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดด้วยการใส่โลหะดามกระดูกชนิดยืดออกได้ (Magnetic control growing rod: Magec Rod) เป็นเทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-10 ปี โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดส่องกล้องและใส่อุปกรณ์ Magec Rod ที่สามารถยืดออกได้ถึง 10 ซม. และสามารถหมุนได้ตามทิศทางที่ต้องการ โดยหลังการผ่าตัด แพทย์จะทำการนัดให้มายืดกระดูกด้วยเครื่องยึดโลหะทุก ๆ 2-3 เดือน อุปกรณ์ Magec Rod จะค่อย ๆ ยืดออกครั้งละ 3-7 มล. เป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยโดยไม่ทำให้เจ็บปวดพร้อมกับช่วยให้กระดูกยืดออกได้อย่างเต็มที่ ไม่ทำให้พัฒนาการการความสูงหยุดชะงัก และช่วยลดอาการกระดูกสันหลังคดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แพทย์จะทำการนัดเพื่อผ่าตัดเชื่อมกระดูกอีกครั้ง

ผ่าตัดกระดูกสันหลังคด พักฟื้นกี่วัน?

โดยปกติ ผู้เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดจะสามารถหายได้เป็นปกติหลังเข้ารับการผ่าตัดภายใน 2 - 4 สัปดาห์ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติภายใน 4 - 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และสมรรถภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

การผ่าตัดกระดูกสันหลังคด รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.เมดพาร์ค นำโดยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ผู้ชำนาญการที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดในทุกช่วงอายุด้วยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ระบบ AI ที่ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ร่นระยะเวลาการพักฟื้น และช่วยแก้ไขกระดูกสันหลังคดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและภาพบำบัด รพ. เมดพาร์ค นำโดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ในการให้การดูแลช่วยเหลือผู้เข้ารับการผ่าตัดร่วมกันอย่างใกล้ชิด ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังการผ่าตัดอย่างเป็นระบบและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อช่วยให้ระบบกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อฟื้นตัวเร็ว ช่วยให้ร่างกายมีพัฒนาการการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมตามวัย พร้อมทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของมวลกระดูกและกล้ามเนื้อให้ผู้รับการรักษาทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่มีข้อจำกัด และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ

Orthopedic Center Med Park Hospital

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อรพ. เมดพาร์ค

  • เข้าถึงศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลังได้อย่างรวดเร็ว
  • ทีมแพทย์สหสาขาทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบตลอด 24 ชม.
  • แผนการดูแลและการจัดการหลังการรักษาอย่างครอบคลุม
  • เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยในการวินิจฉัย MRI, CT และ X-ray
  • การวินิจฉัยที่รวดเร็ว
  • เทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก (MIS) เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
  • ทีมพยาบาลและนักกายภาพบำบัดเด็กและผู้ใหญ่โดยเฉพาะ
  • การสั่งทำอุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดพิเศษที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

Individualized Treatment Planning

การวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

รพ. เมดพาร์คให้บริการการรักษาผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง โรคกระดูกสันหลังคด หรือกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทครอบคลุมทุกรูปแบบ ทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัด และการรักษาแบบผ่าตัดที่ใช้ความชำนาญการเฉพาะทางของทีมศัลยแพทย์และสหวิชาชีพด้วยมาตรฐานระดับสากลเพื่อช่วยให้การรักษาภาวะกระดูกสันหลังในเด็กและวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่เป็นไปอย่างเหมาะสมและให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด

Scoliosis Surgery Treatment

การรักษาและการจัดการโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง และกระดูกสันหลังคด

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์รพ. เมดพาร์คมีความชำนาญการเป็นพิเศษในการรักษาและการจัดการโรคกระดูกสันหลังคด และกลุ่มอาการเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง เช่น โรคและกลุ่มอาการดังต่อนี้

  • โรคกระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด (Congenital scoliosis)
  • โรคกระดูกสันหลังคดในระยะแรกเริ่ม (Early onset scoliosis)
  • โรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis)
  • โรคกล้ามเนื้อร่วมประสาท ภาวะกระดูกผิดรูป (Neuromuscular / syndromic spinal deformity)
  • โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง (Degenerative scoliosis)
  • โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
  • ภาวะหลังค่อม หรือกระดูกสันหลังโค้งนูนมากผิดปกติ (Kyphosis)

Bracing

เสื้อเกราะพยุงหลัง (Bracing) ทางเลือกในการรักษาโรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ผ่าตัด

ในเด็กเล็กที่มีอาการของโรคกระดูกสันหลังคดและยังอยู่ในช่วงที่กระดูกสันหลังยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ แพทย์จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาโดยการให้ใส่เสื้อเกราะพยุงหลังเพื่อช่วยชะลออาการกระดูกสันหลังคด และช่วยจัดแนวกระดูกสันหลังให้

Dedicated Rehabilitation Team

ทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัด

ทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ในการฟื้นฟู ดูแลผู้เข้ารับการรักษาอย่างเป็นระบบและมีความเหมาะสมกับแต่ละบุคคลทั้งก่อนและหลังเข้ารับการรักษาเพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู มีพัฒนาการการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมตามวัย และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

Scoliosis Surgery   Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 22 ก.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ