การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Semen Analysis) เครื่องตรวจน้ำเชื้อ และขั้นตอนการตรวจ

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการประเมินปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิ มักทำเพื่อตรวจสอบภาวะเจริญพันธุ์และหลังการทำหมันชาย ซึ่งใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อดูการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการประเมินปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิ มักทำเพื่อตรวจสอบภาวะเจริญพันธุ์และหลังการทำหมันชาย แพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อดูการเคลื่อนไหวและรูปร่างของตัวอสุจิ

น้ำเชื้อเป็นสารที่หลั่งออกมาจากอวัยวะเพศชาย ประกอบไปด้วยตัวอสุจิ ของเหลว น้ำตาล เกลือแร่ และโปรตีน ตัวอสุจิหรือเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจะมีส่วนหัวและหาง หัวมีส่วนประกอบเป็นดีเอ็นเอ ในขณะที่หางช่วยให้ตัวอสุจิว่ายเคลื่อนตัวไปปฏิสนธิกับไข่ในมดลูก ของเหลวช่วยในการส่งตัวอสุจิเข้าไปในช่องคลอดส่วนบน น้ำตาลและโปรตีนเป็นสารอาหารที่จําเป็นเพื่อให้อสุจิเดินทางไปยังไข่

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์น้ำอสุจิ

  • ภาวะมีบุตรยากในชาย
  • การติดตามผลการทําหมันชาย

เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ - Automated Sperm Quality Analyzer

เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ

เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ LensHooke X1 PRO Semen Quality Analyzer เป็นเครื่องตรวจที่ใช้ระบบการบันทึกภาพวีดีโอ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อด้วย AI (Artificial Intelligence) ซึ่งจะใช้เวลาในการประเมินผลเพียง 5 นาที โดยเครื่องนี้จะใช้อัลกอริธึมของ Machine Learning เพื่อคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรงและมีแนวโน้มที่จะทำการปฏิสนธิกับไข่ได้ดีที่สุด ทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์และลดความจำเป็นในการทำ ICSI หลาย ๆ ครั้ง

 

ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อ

ก่อนการตรวจวิเคราะห์

สําหรับการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์ ผู้เข้ารับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือช่วยตัวเองเป็นเวลา 2-7 วันเพื่อให้มีจํานวนน้ำเชื้อมากที่สุด

สําหรับการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อหลังทําหมันชาย การตรวจวิเคราะห์จะทำหลังทำหมันแล้ว 8-12 สัปดาห์ ระหว่างนั้นควรช่วยตัวเองบ่อยครั้งเพื่อกำจัดเชื้ออสุจิที่ตกค้างออกไปจากร่างกายให้หมด โดยผลการตรวจที่ต้องการคือไม่พบตัวอสุจิหรือมีตัวอสุจิที่ไม่เคลื่อนไหวในปริมาณน้อย

ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อ - Procedures of semen analysis

ระหว่างการตรวจวิเคราะห์

แพทย์จะขอให้ผู้เข้ารับการตรวจช่วยตัวเองเพื่อเก็บน้ำเชื้อ เพราะจะได้ตัวอย่างน้ำเชื้อที่สะอาดใส่ในภาชนะที่ปลอดเชื้อ

การวิเคราะห์น้ำเชื้อเพื่อทดสอบภาวะเจริญพันธุ์จะตรวจดูรายการ ดังต่อไปนี้

  • ระดับความเป็นกรดด่างของน้ำเชื้อ โดยไม่ควรเป็นกรดมากเกินไป
  • ปริมาณน้ำเชื้อและความมีชีวิตของตัวอสุจิ
  • ความเข้มข้นของอสุจิ นั่นคือจํานวนอสุจิต่อ 1 ซีซีในน้ำเชื้อ
  • รูปร่างของตัวอสุจิ
  • การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ
  • ความไวของน้ำเชื้อในการเปลี่ยนจากสารเหนียวเป็นของเหลวเพื่อให้ตัวอสุจิเดินทางไปยังมดลูก
  • เซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่

สําหรับการวิเคราะห์น้ำเชื้อหลังการทำหมันชาย จะดูว่ายังมีตัวอสุจิอยู่ในน้ำเชื้อหรือไม่ ผลที่ต้องการคือไม่พบตัวอสุจิหรือมีตัวอสุจิที่ไม่เคลื่อนไหวในปริมาณที่ต่ำ

หลังการตรวจวิเคราะห์

แพทย์จะทำการพูดคุยอธิบายผลการตรวจ หากผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่ปกติ แพทย์อาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่ามีปัญหาดังต่อไปนี้หรือไม่

  • การติดเชื้อ
  • ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ
  • ท่อน้ำเชื้ออุดตัน
  • ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้
  • ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

จากนั้นจึงทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

บทความโดย
พญ.พิมพกา ชวนะเวสน์

สูตินรีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และสตรีวัยหมดประจำเดือน
ประวัติแพทย์
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ คืออะไร?
    คำตอบ: การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ เป็นการประเมินปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิ มักทำเพื่อตรวจสอบภาวะเจริญพันธุ์และหลังการทำหมันชาย แพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจตัวอย่างน้ำเชื้อเพื่อดูการเคลื่อนไหวและรูปร่างของตัวอสุจิ

  2. คำถาม: เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ คืออะไร?
    คำตอบ: เครื่องตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ LensHooke X1 PRO Semen Quality Analyzer เป็นเครื่องตรวจที่ใช้ระบบการบันทึกภาพวีดีโอ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อด้วย AI (Artificial Intelligence) ซึ่งจะใช้เวลาในการประเมินผลเพียง 5 นาที โดยเครื่องนี้จะใช้อัลกอริธึมของ Machine Learning เพื่อคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรงและมีแนวโน้มที่จะทำการปฏิสนธิกับไข่ได้ดีที่สุด

  3. คำถาม: ขั้นตอนการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อ เป็นอย่างไร?
    คำตอบ: ก่อนการตรวจวิเคราะห์ ผู้เข้ารับการตรวจควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือช่วยตัวเองเป็นเวลา 2-7 วัน เพื่อให้มีจํานวนน้ำเชื้อมากที่สุด ระหว่างการตรวจวิเคราะห์ แพทย์จะวิเคราะห์น้ำเชื้อเพื่อทดสอบภาวะเจริญพันธุ์ โดยมีรายการสำหรับวิเคราะห์น้ำเชื้อ หลังการตรวจวิเคราะห์แพทย์จะทำการพูดคุยอธิบายผลการตรวจ หากผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่ปกติ แพทย์อาจให้ทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูว่ามีปัญหาใด ๆ หรือไม่ และทำการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 ก.พ. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ธนภพ บำเพ็ญเกียรติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. สิริสุข อุ่ยตระกูล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. นเรศร สุขเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ปิยพันธ์ ปุญญธนะศักดิ์ชัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์