SPECT CT Siemens - MedPark Hospital Banner

SPECT CT เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตรวจวินิจฉัยโรค

SPECT CT คือ การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยการใช้เทคโนโลยีร่วมระหว่างเครื่อง SPECT และ CT พร้อมกับการใช้สารเภสัชรังสี ตรวจจับการทำงานของอวัยวะและหาความผิดปกติในร่างกายระดับเซลล์

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


SPECT CT เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ตรวจวินิจฉัยโรค

SPECT CT คือ การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อวินิจฉัยโรคโดยการใช้เทคโนโลยีร่วมระหว่างเครื่อง SPECT และ CT พร้อมกับการใช้สารเภสัชรังสี ตรวจจับการทำงานของอวัยวะและหาความผิดปกติในร่างกายระดับเซลล์ เช่น ตรวจการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงหัวใจ ตรวจการทำงานของสมองเป็นปกติหรือไม่ หรือตรวจมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูก เครื่อง SPECT CT สามารถหมุนได้รอบ 360 องศา ให้รายละเอียดภาพคมชัดแบบ 3 มิติ ช่วยให้เห็นความผิดปกติได้ง่าย สามารถแปรผลได้ถูกต้อง และใช้ระยะเวลาในการตรวจเพียง 30 นาที SPECT CT สามารถวินิจฉัยมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ตรวจหาระยะมะเร็งได้อย่างรวดเร็ว และสามารถตรวจการกระจายตัวของมะเร็งได้อย่างแม่นยำ ใช้รังสีน้อย และมีความปลอดภัยสูง

SPECT CT ทำงานอย่างไร

เครื่อง SPECT CT ให้ภาพที่มีรายละเอียดสูงโดยการรวมภาพจาก 2 โหมดการทำงานเข้าด้วยกัน ระหว่างภาพข้อมูลการทำงานของร่างกายจากเครื่อง SPECT และข้อมูลกายวิภาคศาสตร์จากเครื่อง CT โดยมีรายละเอียด ดังนี้

SPECT

SPECT (Single photon emission computed tomography) คือ ส่วนของเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ทำหน้าที่ถ่ายภาพรังสีแกรมมา (Gramma camera) ของสารเภสัชรังสีในร่างกาย สามารถหมุนได้รอบ 360 องศา เพื่อถ่ายภาพ 3 มิติ ทั้งแบบเฉพาะส่วนหรือทั้งตัว ทั้งในแนวกว้าง แนวยาว และแนวเฉียงตรงตำแหน่งที่สารเภสัชรังสีไปจับกับรอยโรค มะเร็ง ก้อนเนื้อ หรือความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะร่างกาย โดยจะแสดงผลออกมาเป็นภาพเรืองแสง ช่วยให้แพทย์เห็นภาพความผิดปกติของร่างกายได้อย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการแปลผลโรค ช่วยแยกรอยโรคที่มีการซ้อนทับกันได้ดี และช่วยเพิ่มความจำเพาะเจาะจงในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

CT

CT (Computed tomography) คือ ส่วนของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ถ่ายภาพโครงสร้างทางกายวิภาค (Anatomy) ของร่างกายทั้งแบบเฉพาะส่วนหรือทั้งตัวผ่านการใช้รังสีเอกซ์เพื่อถ่ายภาพเก็บข้อมูล แล้วใช้ระบบเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูล สร้างเป็นภาพตัดขวางในหลาย ๆ ระดับทั้งแนวกว้าง แนวยาว และแนวเฉียง ทำให้เห็นโครงสร้างอวัยวะภายในและความผิดปกติได้อย่างชัดเจน เช่น รอยโรค มะเร็ง หรือก้อนเนื้อ ช่วยระบุตำแหน่ง ขนาด ระยะ และขอบเขตการกระจายตัวของมะเร็งได้เป็นอย่างดี

สารเภสัชรังสี (Radioactive tracers)

สารเภสัชรังสี (Radioactive tracers) คือ สารเคมีที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตรังสีที่มีโครงสร้างและคุณสมบัติที่สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างปลอดภัยและไม่เป็นอันตราย โดยก่อนการตรวจ SPECT CT รังสีแพทย์จะให้สารเภสัชรังสีโดยการฉีด การกลืน หรือการสูดหายใจในปริมาณที่แตกต่างกันตามแต่ละบุคคลขึ้นอยู่ชนิดของการตรวจ โดยเมื่อสารเภสัชรังสีเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปจับกับอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเป้าหมายที่ต้องการตรวจ และจะค่อย ๆ แผ่รังสีแกรมมาผ่านผิวหนังออกมาให้เห็นแบบเรืองแสงในภาพวินิจฉัย ทำให้เครื่อง SPECT CT สามารถตรวจจับโรคหรือความผิดปกติของร่างกายได้โดยง่าย

Symbia Intevo Spect Ct

เนื้องอกเน็ตแพร่กระจาย
(ภาพจาก: www.siemens-healthineers.com)

SPECT CT ตรวจโรคอะไร

รังสีแพทย์ใช้การตรวจ SPECT CT ในการตรวจดูการทำงานของอวัยวะภายใน และหาความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะ โดย 3 อวัยวะหลักที่รังสีแพทย์ใช้การตรวจ SPECT CT ในการตรวจวินิจฉัยโรค ได้แก่

สมอง

SPECT CT ตรวจการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมอง ตรวจประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงหรือไม่ ตรวจหาอาการบาดเจ็บที่ขัดขวางไม่ให้เลือดไหลไปไปเลี้ยงสมอง และตรวจหาโรคระบบประสาทและสมองอื่น ๆ เช่น

หัวใจ

SPECT CT ตรวจการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงหัวใจ ตรวจหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันและบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ตรวจหาเนื้อเยื่อแผลเป็นในกล้ามเนื้อหัวใจจากอาการหัวใจวาย ตรวจประสิทธิภาพการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงหัวใจ ตรวจวิเคราะห์ความจำเป็นในการผ่าตัดบายพาสหัวใจ และตรวจหาโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น

กระดูก

SPECT CT ตรวจหาความผิดปกติของกระดูก โดยจะแสดงผลภาพแบบ “เรืองแสง” ให้เห็นออกมา ช่วยให้แพทย์พบตำแหน่งที่ผิดปกติได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โรคและความผิดปกติของกระดูก เช่น

  • กระดูกแตก กระดูกหัก (Bone fractures)
  • กระดูกหักล้า (Stress fractures)
  • มะเร็งกระดูก (Bone cancer)
  • มะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูก (Bone metastasis)
  • กระดูกติดเชื้อ (Bone infections)
  • ความผิดปกติของขากรรไกร (Jaw abnormalities)

Symbia Intevo Skeletal Pathology

กระดูกสันหลังส่วนเอว ข้อต่อสะโพก กระดูกหัวเหน่าเสื่อมสภาพ
(ภาพจาก: www.siemens-healthineers.com)

การเตรียมตัวก่อนตรวจ SPECT CT

  • ไม่ต้องงดอาหารและน้ำก่อนการตรวจ
  • ถอดเครื่องประดับทุกชนิดก่อนการตรวจ
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ไอโอดีน หรือสารเภสัชรังสี แจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • ผู้ที่ทานยารักษาโรคประจำตัวหรืออาหารเสริม แจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • ผู้ที่ประวัติอุบัติเหตุ กระดูกแตก กระดูกหัก หรือใส่อวัยวะเทียม แจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า

ขั้นตอนการตรวจ SPECT CT

  • รังสีแพทย์จะฉีดสารเภสัชรังสีเข้าทางหลอดเลือดดำที่ข้อมือหรือแขน จากนั้นผู้เข้ารับการตรวจจะรอ 2-3 ชม. เพื่อให้สารเภสัชรังสีเข้าไปจับกับอวัยวะที่ผิดปกติ (ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเภสัชรังสี)
  • ในระหว่างที่รอ ผู้เข้ารับการตรวจดื่มน้ำ 1-2 ลิตร เพื่อขับสารเภสัชรังสีส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ เพื่อช่วยให้แพทย์มองเห็นภาพความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
  • รังสีแพทย์จะให้ผู้เข้ารับการตรวจนอนลงบนเตียงตรวจนิ่ง ๆ 20-30 นาที เครื่อง SPECT CT จะค่อย ๆ หมุนรอบ 360 องศา เพื่อจับรังสีแกรมมา (สารเภสัชรังสี) ที่ถูกขับออกมาจากภายในร่างกาย เครื่อง SPECT CT จะค่อย ๆ ถ่ายภาพรอบตัวผู้เข้ารับการตรวจ และจะเก็บข้อมูลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ มาสร้างเป็นภาพ  
  • ภาพที่ได้จากเครื่อง SPECT และ CT จะถูกรวมเข้าด้วยกัน สร้างเป็นภาพชนิดใหม่แบบ 3 มิติ ที่เรียกว่า fused image ที่แสดงตำแหน่งที่มีการสะสมของสารเภสัชรังสีที่ผิดปกติแบบเรืองแสงออกมา (CT ธรรมดาจะเห็นเป็นจุดขาว-ดำ) ช่วยระบุตำแหน่งรอยโรคที่มีขนาดเล็ก มะเร็ง ก้อนเนื้อ หรืออวัยวะร่างกายที่มีการทำงานที่ผิดปกติได้อย่างชัดเจน
  • การตรวจ SPECT CT โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ รังสีแพทย์อาจถ่ายภาพเฉพาะจุดเพิ่มเติมเพื่อเก็บรายละเอียด

การปฏิบัติตนหลังการตรวจ SPECT CT

  • ดื่มน้ำ 1-1.5 ลิตร หลังการตรวจ 2-3 วัน เพื่อขับสารเภสัชรังสีออกจากร่างกาย
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับเด็กเล็ก และสตรีมีครรภ์ 24 ชม.
  • สามารถทำกิจกรรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ

Intevo Scaphoid Fracture

กระดูกสแคฟฟอยด์ที่ข้อมือหัก
(ภาพจาก: www.siemens-healthineers.com)

ผู้ที่ไม่เหมาะกับการตรวจ SPECT CT

  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
  • ผู้ที่กำลังให้นมบุตร
  • ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษที่มีมะเร็งไทรอยด์ร่วม

ผลข้างเคียงจากการตรวจ SPECT CT

ผลข้างเคียงทั่วไปจากการตรวจ SPECT CT ได้แก่ เลือดออก มีรอยช้ำบวมแดงที่จุดเข็มเจาะ หรืออาการแพ้สารเภสัชรังสีซึ่งพบได้น้อยมาก โดยทั่วไป การตรวจ SPECT CT ถือเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง ไม่มีสารตกค้างในร่างกาย และไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ที่เป็นอันตรายในระยะยาว

ข้อดีของการตรวจ SPECT CT

  • แปรผลได้ถูกต้อง (Accurate interpretation): SPECT CT ช่วยตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะ และระบบการทำงานของร่างกายที่ผิดปกติ เช่น ตรวจจับก้อนเนื้องอกที่ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยวิธีการตรวจอื่น  ๆ เช่น CT ได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้แพทย์แปรผลและวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง และนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่ถูกจุด
  • รุกล้ำน้อย (Minimally invasive): SPECT CT ใช้เพียงการฉีดสารเภสัชรังสีเข้าสู่ร่างกายก่อนการตรวจ ไม่มีแผลขนาดใหญ่ ไม่ต้องดมยาสลบหรือให้ยาชา เป็นการตรวจที่เจ็บน้อย มีความปลอดภัยสูง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือผลข้างเคียงรุนแรง
  • แผนการรักษาเฉพาะบุคคล (Personalized treatment plan): SPECT CT  ให้ผลการตรวจวินิจฉัยที่มีความชัดเจน มีความความจำเพาะเจาะจง ช่วยให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลได้อย่างเหมาะสม และนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทันท่วงที
  • ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล (No overnight hospitalization):  SPECT CT เป็นการตรวจแบบผู้ป่วยนอกจึงไม่ต้องนอน รพ. โดยใช้เวลาในการตรวจทั้งหมดไม่เกินครึ่งวัน และสามารถกลับบ้านไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
  • ใช้ปริมาณรังสีน้อย (Low-dose radiation):  SPECT CT เป็นการตรวจที่ใช้สารเภสัชรังสีในปริมาณที่น้อยกว่าการตรวจทางรังสีวินิจฉัยอื่น ๆ และยังใช้ปริมาณรังสีเอ็กซ์เทียบเท่ากับการตรวจร่างกายทั่วไป เช่น การตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด ทำให้เป็นการตรวจที่มีความปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายใด ๆ กับผู้เข้ารับการตรวจ

SPECT CT ใช้เวลาตรวจกี่วันถึงรู้ผล

โดยทั่วไป หลังการตรวจ SPECT CT แพทย์จะใช้เวลา 2-3 วัน ถึง 1 สัปดาห์ ในการแปรผลการตรวจจึงจะแจ้งผลให้ผู้รับการตรวจทราบ โดยแพทย์จะนำผลการตรวจที่ได้ไปวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลต่อไป

Spect Ct at Med Park Hospital

การตรวจ SPECT CT รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์รังสีวินิจฉัย รพ.เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมรังสีแพทย์ระดับอาจารย์แพทย์ผู้ชำนาญการด้านรังสีร่วมรักษา รังสีรักษา รังสีวินิจฉัย และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่มีประสบการณ์การรักษาทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไปและโรคยากซับซ้อนด้วยเครื่องมือแพทย์ระบบดิจิทัลที่ทันสมัยทั้ง Digital X-ray, PET CT หรือ SPECT CT และอุปกรณ์การแพทย์ระดับมาตรฐานสากลอื่น ๆ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคมีความถูกต้อง ช่วยให้ได้รับผลการตรวจรวดเร็ว และสามารถแปรผลได้อย่างแม่นยำ นำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบ พร้อมกับทีมแพทย์ผู้ชำนาญการสหสาขาที่ร่วมกันให้การรักษาแบบองค์รวม ช่วยให้การรักษามีความรวดเร็ว ปลอดภัย สามารถให้การรักษาร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ผู้รับการรักษาฟื้นตัวได้เร็ว มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างดี

คำถามที่พบบ่อย

  • SPECT และ CT ต่างกันอย่างไร
    SPECT หรือ การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นการถ่ายภาพรังสีแกรมมาของสารเภสัชรังสีในร่างกายผ่านการฉีด การกลืน หรือการสูดดมก่อนถ่ายภาพเพื่อตรวจดูทำงานของอวัยวะร่างกาย เนื้อเยื่อ การไหลเวียนโลหิต รวมถึงตรวจหามะเร็ง หรือก้อนเนื้อ โดยจะให้ภาพความผิดปกติแบบเรืองแสง

CT หรือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการถ่ายภาพโครงสร้างร่างกายอย่างละเอียด โดยจะแสดงขนาดและตำแหน่งของอวัยวะ กระดูก หรือเนื้อเยื่อ รวมถึงตรวจหามะเร็ง หรือก้อนเนื้อ โดยจะให้ภาพความผิดปกติเป็นจุดขาว-ดำ

รังสีแพทย์ใช้การตรวจ SPECT และ CT ร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลภาพรังสีวินิจฉัยการทำงานของร่างกายและอวัยวะที่มีความละเอียด ชัดเจน และมีความถูกต้อง

  • อวัยวะอื่นๆ ที่สามารถตรวจได้ด้วย SPECT CT
    • ปอด
    • ไต
      • ตรวจการทำงานของไต
      • ตรวจการอุดตันของไต
      • ตรวจความผิดปกติของเนื้อเยื่อไต (Renal parenchyma)
      • ตรวจการทำงานของไตหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต (ตรวจได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่)
    • ต่อมไทรอยด์ และ ต่อมพาราไทรอยด์
    • ถุงน้ำดี และ ตับ
      • ตรวจการทำงานของถุงน้ำดีและตับ
      • ท่อน้ำดีอุดตัน
      • ท่อน้ำดีรั่ว
      • ความสามารถของตับในการผลิตน้ำดี
      • การทำงานของถุงน้ำดีในการปล่อยน้ำดีเข้าสู่ลำไส้

เรียบเรียงโดย

  • หทัยชนก สรณะสัจจะชีพ
    หทัยชนก สรณะสัจจะชีพ ผู้จัดการประจำศูนย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์

เผยแพร่เมื่อ: 04 ธ.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. รวิสรา เลิศไพศาล

    พญ. รวิสรา เลิศไพศาล

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. พัชรี หงษ์สมาทิพย์

    พญ. พัชรี หงษ์สมาทิพย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. อมรทิพย์ องค์ชัยวัฒนะ

    พญ. อมรทิพย์ องค์ชัยวัฒนะ

    • รังสีวินิจฉัย
    รังสีวินิจฉัย
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    ผศ.นพ. วราวุฒิ สุขเกษม

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยาโรคทรวงอก, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องสร้างภาพในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, อัลตร้าซาวนด์
  • Link to doctor
    นพ. ศิโรช วงศ์ไวศยวรรณ

    นพ. ศิโรช วงศ์ไวศยวรรณ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ.  แสงศิริ ชุมแสงศรี

    พญ. แสงศิริ ชุมแสงศรี

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    พญ. นิยตา จิตรภาษย์

    พญ. นิยตา จิตรภาษย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. พิชญา มั่นสินธร

    • รังสีวินิจฉัย
    รังสีวินิจฉัย
  • Link to doctor
    พญ. ธิติพร จิรนันทนากร

    พญ. ธิติพร จิรนันทนากร

    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย, รังสีวิทยาโรคมะเร็ง
  • Link to doctor
    พญ. ภคนิษฐ์ นฤทุกข์

    พญ. ภคนิษฐ์ นฤทุกข์

    • รังสีวินิจฉัย
    รังสีวินิจฉัย
  • Link to doctor
    นพ. เอกฉัตร ฉันธนาภัค

    นพ. เอกฉัตร ฉันธนาภัค

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีร่วมรักษาของระบบประสาท
    รังสีวินิจฉัย, Neuro Interventional Imaging
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีรศักดิ์ ผิวปลั่ง

    ผศ.นพ. ธีรศักดิ์ ผิวปลั่ง

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, ภาพวินิจฉัยในเด็ก
  • Link to doctor
    พญ. นภิศา บุนนาค

    พญ. นภิศา บุนนาค

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. วศินี    พนมเสริฐ

    พญ. วศินี พนมเสริฐ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    พญ. สุรวรรณ์ บุญญะการกุล

    พญ. สุรวรรณ์ บุญญะการกุล

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีร่วมรักษาของระบบประสาท
    Neuro Interventional Imaging, รังสีวินิจฉัย
  • Link to doctor
    นพ. ณพล อัศวกำธร

    นพ. ณพล อัศวกำธร

    • รังสีวินิจฉัย
    • ภาพวินิจฉัยระบบประสาท
    รังสีวินิจฉัย, Diagnostic Neuroimaging
  • Link to doctor
    พญ. พอใจ เตชะนิธิสวัสดิ์

    พญ. พอใจ เตชะนิธิสวัสดิ์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    พญ. วนัสริน ไมตรีมิตร

    พญ. วนัสริน ไมตรีมิตร

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัยเต้านม
    Diagnostic Breast Imaging, รังสีวินิจฉัย
  • Link to doctor
    พญ. บารมี อวรัญ

    พญ. บารมี อวรัญ

    • รังสีวินิจฉัย
    รังสีวิทยา
  • Link to doctor
    พญ. อาภารัตน์ สกุลจันทร์

    พญ. อาภารัตน์ สกุลจันทร์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. ภัทรชุดา ฌอสกุล

    พญ. ภัทรชุดา ฌอสกุล

    • รังสีวินิจฉัย
    • ภาพวินิจฉัยระบบประสาท
    รังสีวินิจฉัย, Diagnostic Neuroimaging
  • Link to doctor
    พญ. กมลมาศ เลาหวิริยะกมล

    พญ. กมลมาศ เลาหวิริยะกมล

    • รังสีวินิจฉัย
    • ภาพวินิจฉัยระบบประสาท
    รังสีวินิจฉัย, Diagnostic Neuroimaging
  • Link to doctor
    พญ. อัญชลา บัวทรัพย์

    พญ. อัญชลา บัวทรัพย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีร่วมรักษาของลำตัว
    รังสีวินิจฉัย, Body Interventional Radiology
  • Link to doctor
    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    พญ. พินพร เจนจิตรานันท์

    พญ. พินพร เจนจิตรานันท์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. ปิยพร บุญศิริคำชัย

    พญ. ปิยพร บุญศิริคำชัย

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. เดียรดา หวังเจริญรุ่ง

    พญ. เดียรดา หวังเจริญรุ่ง

    • รังสีวินิจฉัย
    รังสีวิทยา
  • Link to doctor
    พญ. มณทนีย์ พึ่งพงษ์

    พญ. มณทนีย์ พึ่งพงษ์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ.  วิลินี วะศินรัตน์

    พญ. วิลินี วะศินรัตน์

    • รังสีวินิจฉัย
    รังสีวินิจฉัย
  • Link to doctor
    พญ. บุญธิดา หุ่นเจริญ

    พญ. บุญธิดา หุ่นเจริญ

    • รังสีวินิจฉัย
    • ภาพวินิจฉัยระบบประสาท
    รังสีวินิจฉัย, Diagnostic Neuroimaging