บาดเจ็บไขสันหลัง อาการ สาเหตุและวิธีรักษา - Spinal Cord Injury: Symptoms, Causes and Treatment

บาดเจ็บที่ไขสันหลัง (Spinal Cord Injury)

การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาและเข้ารับการฟื้นฟูทางร่างกายอย่างต่อเนื่อง

แชร์

การบาดเจ็บที่ไขสันหลัง คืออะไร

ไขสันหลัง เป็นกลุ่มเส้นประสาทที่ทอดยาวมาจากสมอง ผ่านเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การบาดเจ็บที่ไขสันหลังอาจเกิดจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อ หรือความพิการตั้งแต่กำเนิด ซึ่งอาจมีอาการเพียงชั่วคราวหรือถาวร การบาดเจ็บที่ไขสันหลังนั้นอาจทำให้สูญเสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหว หรือการทำงานของร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ

การบาดเจ็บของไขสันหลัง สามารถแบ่งออกได้ 2 ระดับ

  1. Complete spinal cord injury คือ ภาวะการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าส่วนที่บาดเจ็บลงไปทั้งหมด 
  2. Incomplete spinal cord injury คือ ภาวะการสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวของร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าบริเวณที่บาดเจ็บเพียงบางส่วน 

อาการของการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง คืออะไร

อาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังขึ้นอยู่กับตำแหน่งและความรุนแรง

  • การสูญเสียการเคลื่อนไหว เป็นอัมพาตในระดับที่ต่ำกว่าตำแหน่งที่บาดเจ็บลงมา  
  • การสูญเสียการรับรู้ความรู้สึกบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ 
  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้ 
  • กล้ามเนื้อตึงหดเกร็งหรือกระตุกเอง 
  • สมรรถภาพทางเพศเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการทางเพศลดลง
  • หายใจลำบาก ในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ระดับต้นคอ 
  • ภาวะประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงมากเฉียบพลัน เป็นอันตรายต่อชีวิตและต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

สาเหตุของการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง คืออะไร

  • อุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ จากการเล่นกีฬา การทะเลาะวิวาท 
  • สาเหตุที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ เช่น การติดเชื้อ มะเร็ง ภาวะข้ออักเสบ หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม  
    การได้รับบาดเจ็บที่ทำให้กระดูกสันหลัง เส้นเอ็น หรือหมอนรองกระดูกเสื่อมจนกดทับเส้นประสาทไขสันหลังก็อาจทำให้ไขสันหลังบาดเจ็บพร้อมกันได้

ภาวะแทรกซ้อนของการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

  • ปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบากเนื่องจากกระบังลมทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ต้องพึ่งพาเครื่องช่วยหายใจ
  • ปัญหาด้านหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดตันหรือภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก
  • แผลกดทับ อาจติดเชื้อจนส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
  • อาการปวดเรื้อรัง เนื่องจากเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ
  • การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ปวดกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
  • กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่ได้
  • ปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจ ผู้ป่วยอาจรู้สึกซึมเศร้า วิตกกังวล โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)

อาการ สาเหตุและวิธีรักษาบาดเจ็บไขสันหลัง (Spinal Cord Injury)

วิธีการตรวจวินิจฉัยการบาดเจ็บของไขสันหลัง

  • การตรวจร่างกายและประเมินประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว
  • รังสีวินิจฉัย เช่น เอกซเรย์ CT สแกน และ MRI
  • การตรวจทางระบบประสาทเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ

วิธีการรักษาอาการบาดเจ็บที่ไขกระดูกสันหลัง

  • การรักษาฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้อาการแย่ลง 
    • การตรึงและจำกัดการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง หลังจากได้รับบาดเจ็บทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น
    • ยา เช่น การฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบและความเสียหายต่อไขสันหลัง 
    • การผ่าตัด เพื่อลดแรงกดทับหรือนำเศษกระดูกที่หักออกจากกระดูกสันหลัง 
  • การฟื้นฟูร่างกาย
    • กายภาพบำบัดมุ่งเน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มขีดความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวกับข้อจำกัดทางร่างกาย
    • กิจกรรมบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและฝึกการใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน  
    • การบำบัดหรือการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต 
  • การจัดการกับอาการในระยะยาว
    • การจัดการและดูแลอาการ เช่น การหดเกร็งของกล้ามเนื้อ อาการปวดเรื้อรัง การไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้ ด้วยการใช้ยา อุปกรณ์ หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตประจำวัน  

การใช้ชีวิตร่วมกับอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง

การใช้ชีวิตร่วมกับอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลังต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การไปพบแพทย์ตามนัดช่วยให้แพทย์สามารถติดตามสุขภาพร่างกายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเข้าร่วมกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ ครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางการแพทย์ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้ป่วยจัดการกับปัญหาทางร่างกาย อารมณ์ และการเข้าสังคม

คำถามที่ควรถามแพทย์

  • อาการบาดเจ็บที่ไขกระดูกสันหลังรุนแรงแค่ไหน?
  • บาดเจ็บที่ไขกระดูกสันหลังจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีการใด?
  • บาดเจ็บที่ไขกระดูกสันหลัง ต้องใช้เวลาฟื้นฟูร่างกายนานเท่าไร?
  • จะป้องกันการเกิดแผลกดทับหรือการติดเชื้อได้อย่างไร? 
  • บาดเจ็บที่ไขกระดูกสันหลัง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือประเภทใดบ้าง?
  • วิธีการจัดการอาการปวดหรืออาการเรื้อรังมีอะไรบ้าง?

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 10 เม.ย. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    รศ.นพ. อัคคพงษ์ นิติสิงห์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ประสาทศัลยศาสตร์, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. กิจพัฒน์ ติรชาญวุฒิ์

    นพ. กิจพัฒน์ ติรชาญวุฒิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    นพ. กฤษดากร ขจรกิตติศักดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    นพ. ชัยวัฒน์ ปิยะสกุลแก้ว

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    นพ. เอกพล ลาภอำนวยผล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Link to doctor
    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    นพ. วิทย์ โคธีรานุรักษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
    ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง
       
       
       
       
       
       
       
  • Loading