Stroke and Carotid Artery Stenosis Med Park Hospital.jpg

โรคหลอดเลือดสมองกับโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ

โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบหรืออุดตัน ทำให้เกิดสมองขาดเลือดได้ ส่งผลให้เกิดอาการหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ

แชร์

โรคหลอดเลือดสมองกับโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ

หลอดเลือดแดงคาโรติด (carotid artery) เป็นหลอดเลือดแดงใหญ่ที่บริเวณคอ มีทั้ง 2 ข้าง แตกแขนงโดยตรงมาจากหลอดเลือดใหญ่บริเวณทรวงอก ทำหน้าที่ไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าทั้งสองข้างซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของสมองทั้งหมด โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบหรืออุดตันทำให้เกิดสมองขาดเลือดได้ ส่งผลให้เกิดอาการหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ

การตรวจหลอดเลือดด้วยอัลตราซาวน์สามารถทำให้เห็นสภาพหลอดเลือดได้ชัดเจนว่ามีไขมันหินปูน (atherosclerotic plaque) สะสมที่ผนังหลอดเลือดหรือไม่ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคดังต่อไปนี้

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • เคยมีอาการของสมองขาดเลือดมาก่อน
  • มีประวัติสูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่
  • บุคคลในครอบครัวมีโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจ
  • แพทย์ตรวจพบเสียงผิดปกติที่หลอดเลือดบริเวณลำคอ (carotid bruit)
  • ผู้ป่วยมีประวัติตามองไม่เห็นชั่วคราวข้างเดียว (transient monocular blindness)
    • เนื่องจากหลอดเลือดแดง carotid ที่ไปเลี้ยงสมอง จะมีแขนงไปเลี้ยงลูกตาโดยตรง หากมีอาการมองไม่เห็นที่เป็นลักษณะภาพมืดไปบางส่วนหรือทั้งหมด อาจเกิดจากลิ่มเลือดหรือไขมันที่หลุดมาจากกหลอดเลือดแดง carotid หรือ internal carotid

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด

การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมืออื่น ได้แก่ CTA Brain and neck หรือ MRA Brain and neck จะสามารถเห็นลักษณะทางกายภาพของหลอดเลือดแดงที่สำคัญทั้งหมด แต่จะไม่เห็นความผิดปกติภายในหลอดเลือดละเอียดชัดเจนเท่ากับการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงคาโรติด

  • ควบคุมอาหารที่ทำให้เกิดไขมันเกาะหลอดเลือดมากขึ้น
  • ทานยาโรคประจำตัวและยาต้านเกล็ดเลือด (antiplatelet) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดตีบมากขึ้น
  • หากหลอดเลือดแดง internal carotid หรือ carotid bulb ตีบมากจนมีผลต่อสมอง แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วย CT Perfusion Brain เพื่อประเมินดูปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองว่าเพียงพอหรือไม่ และพิจารณาการรักษาดังนี้
    • Carotid artery stenting (CAS) เป็นการรักษาโดยการสวนหลอดเลือดแดงจากหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ และนำอุปกรณ์สายสวนหลอดเลือดขึ้นไปฉีดสีดูหลอดเลือดที่ตีบ และทำการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดที่ตีบพร้อมกับวางขดลวด (stent) เพื่อถ่างขยายหลอดเลือดที่มีปัญหา วิธีนี้มีข้อดีคือไม่ต้องผ่าตัด ระยะเวลาพักฟื้นไม่นาน ข้อเสียคือหลอดเลือดที่ตีบอาจขยายได้ไม่เต็มที่
    • Carotid endarterectomy (CEA) เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดหลอดเลือดที่ตีบโดยตรง นำเอาไขมันหินปูน (plaque) ที่เกาะจับที่ผนังหลอดเลือดออกมา โดยศัลยแพทย์อาจจะใช้ผนังของหลอดเลือดดำมาเพิ่มขนาดหลอดเลือดแดง วิธีนี้มีข้อดีคือหลอดเลือดที่ตีบจะมีขนาดกลับมาปกติได้มากกว่า ข้อเสียคือการผ่าตัดอาจจะต้องดมยาสลบและใช้ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่า

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 16 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ปโยธร เดชะรินทร์

    นพ. ปโยธร เดชะรินทร์

    • ศัลยกรรมประสาท
    • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
  • Link to doctor
    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.

    น.อ.นพ. อุดม สุทธิพนไพศาล ร.น.

    • ประสาทวิทยา
    • โรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต)
    • รังสีร่วมรักษาระบบประสาท
    โรคทางสมองและระบบประสาท, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคความผิดปกติของหลอดเลือดสมองและคอ, โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง , ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง คอและไขสันหลังจากโรคหรืออุบัติเหตุ