เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน (Tenosynovitis (De Quervain Tenosynovitis) in pregnant women and new mothers)

เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน

เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูกจะมีภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไป ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ บริเวณข้อมือและมือทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (เดอเกอร์แวง) ในคนตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน

หญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูก จะมีภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปจากหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อมือและมือ ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น เวลาขยับข้อมือและนิ้วมือจะเกิดการเบียดและเสียดสีกับปลอกของเอ็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นบ่อยสุดคือตรงโคนหัวแม่มือและข้อมือ ยิ่งหลังคลอด ต้องใช้ข้อมืออุ้มให้นมลูก ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

อนึ่ง โรคเยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบนี้มักเป็นบุคคล 2 กลุ่ม คือ หญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน และ ผู้สูงอายุ

อีก 2 โรค ที่อาจพบในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ลูกอ่อน คือ นิ้วล็อก (Trigger Finger) และ นิ้วหัวแม่มือ ชี้ และกลาง มีอาการชา เพราะเกิดจากเยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวม ไปเบียดเส้นประสาทตรงข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)

สัญญาณและอาการแสดง

  • ปวดตรงข้อมือที่อยู่ตรงโคนหัวแม่มือ - ตั้งแต่เล็กน้อยถึงระบมมากจนนอนไม่หลับ
  • งอ-เยียดหัวแม่มือจะเจ็บ
  • บวมและบางครั้งอาจมีอักเสบแดงเล็กน้อยบริเวณดังกล่าว
  • กดเจ็บบริเวณดังกล่าว

Tenosynovitis Banner 2

การป้องกัน

  • ขณะตั้งครรภ์ ควรลดการใช้ข้อมือ เช่นหิ้วของหนัก
  • หลังตั้งครรภ์และให้นมลูก ควรลดการใช้ข้อมือ เวลาจะให้นมลูกหรืออาบน้ำ แนะนำมารดาแบบง่าย ๆ คือ ให้เกร็งข้อมือเหมือนหุ่นยนต์เพื่อลดการขยับของข้อมือ

การตรวจวินิจฉัย

  • กดเจ็บตรงข้อมือที่อยู่ตรงโคนหัวแม่มือ
  • การทดสอบ Finkelstein's test จะ positive คือมีอาการเจ็บน้อยถึงเจ็บมาก วิธีการทดสอบ ให้งอนิ้วหัวแม่มือลงไปแตะกลางฝ่ามือ งอนิ้วอีก 4 นิ้วคลุมหัวแม่มือไว้ แล้วทำการงอข้อมือไปทางนิ้วก้อย จะมีอาการเจ็บ บางคนไม่กล้างอข้อมือเลย

การรักษา

  • ลดการใช้ข้อมือและหัวแม่มือ ใช้เท่าที่จำเป็น และให้งอหัวแม่มือและข้อมือช้าๆ
  • สวมอุปกรณ์ประคองหัวแม่มือและข้อมือ

หากอาการยังปวดและปวดมากจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรปกติได้ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์ (Steroid) หลังการฉีดสเตียรอยด์อาการจะหายไป โดยมากมักฉีดสเตียรอยด์แค่ 1 ครั้ง แต่ก็มีบางเปอร์เซนต์ โดยเฉพาะในมารดาที่ยังให้นมลูก อาจมีอาการเป็นซ้ำในอีกหลายเดือนถัดมาและอาจต้องพิจารณาฉีดครั้งที่ 2 (ในการฉีดสเตียรอยด์ควรรับการฉีดโดยแพทย์ออโธปิดิกส์ เพราะต้องระวังไม่ฉีดเข้าไปในเส้นเอ็น ควรฉีดเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น หากเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ชำนาญเฉพาะทางด้านมือจะยิ่งปลอดภัยกว่า เพราะมีประสบการณ์และรู้กายวิภาคบริเวณข้อมือเป็นอย่างดี และในการฉีดยาเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น ฉีดโดยการมองภาพผ่านเครื่องอัลตร้าซาวด์จะเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น)

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

  1. คำถาม: เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คืออะไร?
    คำตอบ:
    ภาวะฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปจากหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนทำให้ร่างกายอุ้มน้ำไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อมือและมือ ทำให้เยื่อหุ้มเอ็นชุ่มน้ำและบวมขึ้น เวลาขยับข้อมือและนิ้วมือจะเกิดการเบียดและเสียดสีกับปลอกของเอ็น ยิ่งหลังคลอด ต้องใช้ข้อมืออุ้มให้นมลูก ยิ่งเพิ่มโอกาสให้เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
  2. คำถาม: เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอาการอย่างไร?
    คำตอบ:
    เยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีอาการปวดตรงข้อมือที่อยู่ตรงโคนหัวแม่มือตั้งแต่เล็กน้อยถึงระบมมากจนนอนไม่หลับ งอ เยียดหัวแม่มือจะเจ็บ อาการบวมและบางครั้งอาจมีอักเสบแดงเล็กน้อย กดแล้วเจ็บ
  3. คำถาม: จะรักษาเยื่อหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบได้อย่างไร?
    คำตอบ:
    ลดการใช้ข้อมือและหัวแม่มือ ใช้เท่าที่จำเป็น และให้งอหัวแม่มือและข้อมือช้า ๆ สวมอุปกรณ์ประคองหัวแม่มือและข้อมือ หากอาการยังปวดและปวดมากจนไม่สามารถประกอบกิจวัตรปกติได้ แพทย์จะพิจารณารักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์
  4. คำถาม: ฉีดสเตียรอยด์ อันตรายไหม?
    คำตอบ:
    ในการฉีดสเตียรอยด์ควรรับการฉีดโดยแพทย์ออโธปิดิกส์ เพราะต้องระวังไม่ฉีดเข้าไปในเส้นเอ็น ควรฉีดเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น หากเป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์ชำนาญเฉพาะทางด้านมือจะยิ่งปลอดภัยกว่า เพราะมีประสบการณ์และรู้กายวิภาคบริเวณข้อมือเป็นอย่างดี และในการฉีดยาเข้าไประหว่างเอ็นและปลอกเอ็น ฉีดโดยการมองภาพผ่านเครื่องอัลตร้าซาวด์จะเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น

เยื่อบุเอ็นข้อมืออักเสบ ในหญิงตั้งครรภ์ Tenosynovitis - Infographic Th

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 เม.ย. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    นพ. สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    Arthroplasty, Hand and Microsurgery, Ultrasound Guided Trigger Finger Release
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ วินิจไพโรจน์

    นพ. ชัยยศ วินิจไพโรจน์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
  • Link to doctor
    นพ. ขรรค์ชัย   มลังไพศรพณ์

    นพ. ขรรค์ชัย มลังไพศรพณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Hand and Microsurgery
  • Link to doctor
    นพ. นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญ

    นพ. นรฤทธิ์ ล้วนจำเริญ

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    การใช้อัลตร้าซาวด์นำทางในหัตถการ การรักษาโรคพังผึดกดทับเส้นประสาทข้อมือ นิ้วล็อค โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ, การอัลตราซาวด์ของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก, ไฟฟ้าวินิจฉัย, การฟื้นฟูผู้มีปัญหา กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และข้อ, การจัดการภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง, กายอุปกรณ์
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ผศ.นพ. ปณัย เลาหประสิทธิพร

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
  • Link to doctor
    นพ. สุธี ทวีพันธุ์สานต์

    นพ. สุธี ทวีพันธุ์สานต์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Hand and Microsurgery
  • Link to doctor
    นพ. นวพงศ์ อนันตวรสกุล

    นพ. นวพงศ์ อนันตวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม