เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI - Tavi (transcatheter Aortic Valve Implantation)

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI (Transcatheter aortic valve implantation) คือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบด้วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด สายสวนจะถูกเจาะและใส่ไปตามแนวหลอดเลือด

แชร์

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI (Transcatheter aortic valve implantation) คือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบด้วยลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านสายสวนหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด สายสวนจะถูกเจาะและใส่ไปตามแนวหลอดเลือดแดงใหญ่ผ่านทางขาหนีบ ใต้ราวนม หรือหน้าอกตรงส่วนยอดหัวใจไปจนถึงตำแหน่งลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ และทำการปล่อยลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมที่ม้วนพับอยู่กับระบบนำส่งให้กางออก กลายเป็นลิ้นหัวใจเอออร์ติกใหม่ที่ทำหน้าที่แทนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเดิมที่เสื่อมสภาพ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ แบบไม่ต้องผ่าตัด TAVI เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงที่ไม่เหมาะสำหรับการผ่าตัดเปิดช่องอก ไม่มีบาดแผล ช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด ลดภาวะแทรกซ้อน ช่วยให้ฟื้นฟูได้เร็ว และช่วยยืดอายุไขให้นานขึ้น

ทำไมต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

โดยทั่วไป แพทย์จะรักษาผู้ที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบด้วยการให้ยา และการผ่าตัดเปิดช่องอกออกเป็นแผลกว้างเพื่อตัดลิ้นหัวใจเก่าออกและเย็บลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปแทนที่ ต่อมา แพทย์พบว่าการรักษาด้วยวิธีการนี้เป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงและไม่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีความเปราะบางทางร่างกาย และกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค เนื่องจากผู้รับการรักษาอาจไม่สามารถทนต่อฤทธิ์ยาสลบและระยะเวลาการผ่าตัดที่ยาวนาน 3-4 ชม. ได้ ทำให้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI เป็นนวัตกรรมใหม่ในการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดช่องอก ทำให้ไม่ต้องวางยาสลบก่อนการผ่าตัด ไม่ต้องใช้เครื่องปอดหัวใจเทียมทำผ่าตัด ไม่มีแผลผ่าตัดกว้างกลางอก มีเพียงแผลเจาะที่ขาหนีบ ใต้ราวนม หรือหน้าอกตรงส่วนยอดหัวใจขนาดเล็กเพียง 1 ซม. เท่านั้น ใช้เวลาในการทำหัตถการสั้นเพียง 1-2 ชม. และใช้เวลาพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1-3 สัปดาห์ ผู้รับการรักษาก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI (Transcatheter aortic valve implantation)

ลิ้นหัวใจตีบ สาเหตุจากอะไร

ลิ้นหัวใจตีบ เกิดจากความเสื่อมสภาพตามอายุ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือลิ้นหัวใจเอออร์ติกผิดปกติแต่กำเนิด และการมีแคลเซียมหรือหินปูน รวมถึงไขมันเกาะสะสมที่ลิ้นหัวใจในปริมาณมาก พบได้บ่อยในลิ้นหัวใจเอออร์ติกที่มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อเปิด-ปิด กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือดแดงใหญ่ ส่งผลให้ลิ้นหัวใจตีบแคบ หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักขึ้น บีบรัดตัวมากขึ้น ต้องการออกซิเจนสูงขึ้น และส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวและแข็งตัว เพื่อให้มีจังหวะบีบตัวที่คงที่แต่กลับมีจังหวะการคลายตัวที่ช้าลง ส่งผลให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจไม่ออก หน้ามืด เป็นลม และหมดสติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ลิ้นหัวใจเอออร์ติกจะค่อย ๆ หนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ ความยืดหยุ่นในการเปิด-ปิด ลิ้นหัวใจตามจังหวะการเต้นหัวใจจะค่อย ๆ เสื่อมประสิทธิภาพลง จนส่งผลให้มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ลิ้นหัวใจตีบ มีอาการอย่างไร

  • เจ็บแน่นหน้าอก เจ็บเค้นหน้าอก
  • หายใจถี่ หายใจไม่ออก
  • เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขณะออกแรงหรือออกกำลังกาย
  • ใจสั่น เสียงหัวใจเต้นผิดปกติ (เมื่อแพทย์ฟังจากสเต็ทโตสโคป)
  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม 
  • เท้าและข้อเท้าบวม
  • เป็นลม หมดสติ
  • หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย

Tavi (transcatheter Aortic Valve Implantation) 2

การวินิจฉัยก่อนการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบก่อนพิจารณาการรักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI โดยการซักประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกาย และตรวจเฉพาะทางที่ลึกขึ้นเพื่อประเมินการตีบแคบของลิ้นหัวใจ หากผลการตรวจพบลิ้นหัวใจเอออร์ติกมีลักษณะตีบรุนแรงและไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด TAVI

ผู้ที่เหมาะกับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

  • มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจถี่ ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม หมดสติบ่อย ๆ
  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปี ขึ้นไป ที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง
  • มีประวัติเป็นโรคลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจเอออร์ติกผิดปกติแต่กำเนิด
  • เป็นผู้มีความเปราะบางทางร่างกาย หรือมีโรคประจำตัวหลายโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคปอด
  • เป็นผู้มีประวัติเคยผ่าตัดหัวใจมาก่อน

ตรวจเลือด

ตรวจประเมินหัวใจ เช่น

241227 Aw ประกอบบทความ เรื่อง Tavi 1

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI มีขั้นตอนอย่างไร

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI รพ. เมดพาร์ค ยึดมาตรฐานสากล (Gold standard) ในการรักษาโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและผลสำเร็จในการรักษาเป็นสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้รับการรักษาทุเลาจากอาการโรคลิ้นหัวใจตีบ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็ว

การเตรียมตัวก่อนการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

  • ผู้เข้ารับการรักษางดยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เช่น ยา Aspirin ยา Warfarin ยกเว้นยาบางชนิดที่แพทย์อนุญาต
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา *ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • งดอาหารอย่างน้อย 6 ชม.  และงดน้ำอย่างน้อย 2 ชม. ก่อนเข้ารับการทำหัตถการ

ขั้นตอนการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

  • แพทย์ให้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก โดยตลอดการทำหัตถการ ผู้รับการรักษาจะรู้สึกตัวตลอดเวลาแต่จะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด ยกเว้นในผู้รับการรักษาบางราย แพทย์อาจให้สลบเพื่อให้หลับขณะทำหัตถการ
  • แพทย์จะทำการเจาะและใส่สายสวนผ่านทางขาหนีบ ใต้ราวนม หรือหน้าอกตรงส่วนปลายยอดหัวใจ ไปตามแนวหลอดเลือดแดงใหญ่จนถึงตำแหน่งลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ จากนั้นแพทย์จะทำการปล่อยลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมที่มีลักษณะคล้ายเนื้อเยื่อ ซึ่งถูกม้วนพับอยู่กับขดลวดชนิดพิเศษที่ตรงส่วนปลายของระบบนำส่ง (Delivery system) ให้กางออกคล้ายบอลลูน กลายเป็นลิ้นหัวใจเอออร์ติกใหม่ที่ทำหน้าที่แทนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเดิมที่เสื่อมสภาพ ช่วยให้การปิด-เปิดของลิ้นหัวใจมีความสม่ำเสมอ คงที่ ช่วยการไหลเวียนโลหิตร่างกายกลับมาเป็นปกติ และทำให้อาการเจ็บแน่นหน้าอกค่อย ๆ หายไป
  • เมื่อการเปลี่ยนลิ้นหัวใจแล้วเสร็จ แพทย์จะค่อย ๆ ดึงสายสวนกลับออกมาและกดบริเวณปากแผลเพื่อห้ามเลือดโดยไม่ต้องเย็บแผลแต่อย่างใด โดยการทำหัตถการจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชม.
  • แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะคอยตรวจสัญญาณชีพ วัดความดันโลหิต ชีพจร และการหายใจเป็นระยะ

ขั้นตอนหลังการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

  • ผู้รับการรักษานอนหงายราบ งดการนั่ง การเดิน และการงอขาหนีบ 6-10 ชม. เพื่อห้ามเลือด
  • ผู้เข้ารับการรักษาพักฟื้นที่ รพ. เพื่อสังเกตอาการ 1-3 วัน ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละบุคคล
  • ผู้เข้ารับการรักษาเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยรวมถึงการออกกำลังกาย การทานอาหาร และการใช้ชีวิต
  • หากผลการรักษาเป็นไปด้วยดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ แพทย์จะอนุญาตให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
  • แพทย์จะทำนัดเพื่อติดตามอาการและประเมินผลการรักษาเป็นระยะจนกว่าสุขภาพจะเป็นปกติดี

Tavi (transcatheter Aortic Valve Implantation) 3

การดูแลตนเองหลังการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ TAVI

  • ผู้เข้ารับการรักษาทานยาละลายลิ่มเลือดตลอด 3 เดือนหลังการรักษา และมาพบแพทย์ตามนัด
  • ออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินระยะสั้น ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว
  • งดกิจกรรมหนัก การออกกำลังกายหนัก งดการยกของหนัก 2-3 สัปดาห์ และงดการขับรถ 4 สัปดาห์
  • งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังเป็นประจำ ทานอาการที่มีประโยชน์ ทานอาหารโซเดียมต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์

ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ TAVI

ความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนจากการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ TAVI เช่น เลือดออกที่จุดเข็มเจาะ ห้อเลือดหรือลิ่มเลือดใต้ผิวหนัง หัวใจเต้นผิดจังหวะ (แพทย์จะพิจารณาใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ) สโตรก ภาวะไตเสื่อมสภาพไม่สามารถขับสารทึบรังสีออกจากร่างกายได้ ลิ้นหัวใจเทียมเคลื่อนออกจากตำแหน่ง กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือการเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบในอัตราที่ต่ำมากหรือน้อยกว่า 5% ซึ่งเมื่อเทียบกับวิธีการรักษาอื่น TAVI ให้ผลการรักษาที่ดี มีความเสี่ยงต่ำ และเป็นที่ยอมรับว่าสามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ TAVI พักฟื้นกี่วัน

โดยปกติ ผู้เข้ารับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด TAVI จะใช้เวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 2-3 สัปดาห์ และสามารถทำกิจกรรมไม่หนักได้ขึ้นอยู่ความแข็งแรงร่างกายของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม ผู้เข้ารับการรักษาอายุน้อยบางราย อาจใช้ระยะเวลาฟื้นฟูสั้นเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ก็สามารถกลับไปทำงาน ออกกำลังกาย หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ข้อดีของการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI

  • ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ
  • แผลเล็ก เจ็บน้อย เนื้อเยื่อรอบข้างเสียหายน้อยมาก
  • ไม่เสียเลือด อวัยวะภายในไม่บอบช้ำ
  • ความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนน้อย
  • ใช้เวลาทำหัตถการสั้นเพียง 1-2 ชม. เท่านั้น
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดจำนวนวันนอน รพ.
  • พักฟื้นสั้น ฟื้นตัวเร็วภายใน 3 เดือน
  • เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ากับการผ่าตัด
  • ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้รับการรักษาให้ดีขึ้น
  • ช่วยยืดอายุไขของผู้รับการรักษาให้นานขึ้น

การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ TAVI มีอัตราการประสบความสำเร็จแค่ไหน

จากผลการศึกษาผู้ที่รักษาโรคลิ้นหัวใจตีบด้วยการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ TAVI อย่างต่อเนื่อง พบว่า TAVI ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้เป็นอย่างดี ลดระยะเวลาการนอน รพ. ลดระยะเวลาการพักฟื้นที่บ้าน ลดอัตราการกลับเข้า รพ. ซ้ำ และช่วยลดอาการของโรคลิ้นหัวใจตีบได้เป็นอย่างดี โดยลิ้นหัวใจที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 10 ปี หรือนานกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

Dr Suwatchai Pornratanarangsi

เปลี่ยนลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด TAVI รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์หัวใจ รพ. เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีประสบการณ์และความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคลิ้นหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกผิดปกติแต่กำเนิดที่มีความยากและซับซ้อน ด้วยวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานหรือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด TAVI พร้อมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่ทันสมัย ผสานเทคนิคทางการแพทย์ขั้นสูงที่มีความแม่นยำและปลอดภัย ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมด้วยโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจโดยทีมสหวิชาชีพที่พร้อมให้การให้การดูแลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับการรักษาปราศจากภาวะแทรกซ้อน ช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยให้มีสุขภาพดี มีชีวิตที่ยืนยาว

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 17 ม.ค. 2025

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคความดันโลหิตสูง, โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรง , การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณแขนขาตีบ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    นพ. จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    โรคหัวใจและหลอดเลือด, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    นพ. ชาติ วานิชสวัสดิ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    • เวชศาสตร์นิวเคลียร์หัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    นพ. อนุรักษ์ เจียมอนุกูลกิจ

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    ศาสตราธิคุณ นพ. วสันต์ อุทัยเฉลิม

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    รศ.นพ. สุวัจชัย พรรัตนรังสี

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน, การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน
  • Link to doctor
    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    พญ. ศิริพร อธิสกุล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    นพ. ชัยศิริ วรรณลภากร

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    หัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • Link to doctor
    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    พญ. สุรีย์รัตน์ ปันยารชุน

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด
    อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจล้มเหลว การวินิจฉัย การรักษาและการป้องกัน, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด, โรคหัวใจแต่กำเนิด, การใช้อัลตราซาวน์ในเส้นเลือดหัวใจเพื่อช่วยการวินิจฉัยและรักษา, การใช้หุ่นยนต์ช่วยในการสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด, การลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน