ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ (Unicompartment Knee Arthoplasty)

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ UKA

ปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาพบว่า ข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มที่ฝั่งครึ่งข้อทางด้านในก่อน เมื่อเป็นมากขึ้นจึงเกิดความเสื่อมไปยังอีก 2 ส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงบางส่วนเฉพาะจุด

แชร์

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ UKA

กายวิภาคของข้อเข่าของเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ ครึ่งข้อทางด้านใน ครึ่งข้อทางด้านนอก และข้อลูกสะบ้าด้านหน้า

ในอดีตนั้น การผ่าตัดข้อเข่าเทียมนั้นมีเฉพาะการผ่าตัดแบบเปลี่ยนทั้งข้อ โดยจะทำการผ่าตัดนำกระดูกบริเวณผิวข้อทั้ง 3 ส่วนออก แล้วใส่ข้อเข่าเทียมเข้าไปแทนที่

ในปัจจุบันเมื่อมีการศึกษาพบว่าข้อเข่าเสื่อมโดยส่วนใหญ่มักจะเริ่มที่ฝั่งครึ่งข้อทางด้านในก่อน เมื่อเป็นมากขึ้นจึงเกิดความเสื่อมไปยังอีก 2 ส่วน จึงเกิดแนวคิดที่จะผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมเพียงบางส่วนเฉพาะจุดที่เกิดอาการเสื่อมเกิดขึ้น

ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ คือการผ่าตัดนำผิวข้อเฉพาะครึ่งข้อด้านที่มีปัญหาออก และแทนที่ด้วยข้อเทียม  ซึ่งมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบเปลี่ยนทั้งข้อหลายอย่าง ได้แก่ แผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดหลังผ่าตัดน้อย เสียเลือดน้อย การฟื้นตัวเร็ว ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อย และมีการเคลื่อนที่ของเข่าที่เป็น ธรรมชาติมากกว่า

อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนจะเหมาะสำหรับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อ แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการเอ็กซเรย์ เพื่อประเมินดูว่าคุณเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อหรือไม่  ซึ่งตามสถิติพบว่าประมาณครึ่งนึงของผู้ป่วยที่มาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้นเหมาะสมที่จะรักษาโดยการผ่าตัดแบบครึ่งข้อได้

ทั้งนี้ในห้องผ่าตัดแพทย์จะทำการเตรียมข้อเข่าเทียมไว้ทั้งแบบครึ่งข้อ และแบบเปลี่ยนทั้งข้อ  และตัดสินใจเลือกตามข้อบ่งชี้ที่เหมาะสมในห้องผ่าตัดอีกครั้ง

หลังการผ่าตัด สามารถทำกิจกรรมได้เหมือนกับผ่าตัดแบบเปลี่ยนทั้งข้อหรือไม่?

หลังการการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบครึ่งข้อสามารถทำกิจกรรมได้ ไม่ต่างกันกับการผ่าตัดแบบเปลี่ยนทั้งข้อ และยังให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับข้อเข่าเดิมของผู้ป่วยมากกว่า


แบบประเมินภาวะข้อเข่าเสื่อม หากคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อม ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ทางออนไลน์ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

บทความโดย

  • นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ เฉพาะทางการผ่าตัดต่อกระดูกและเปลี่ยนข้อเทียม

เผยแพร่เมื่อ: 02 ก.ย. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    นพ. ไววิทย์ สงวนวงศ์วาน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Osteoarthritis of Knee, Osteoarthritis of Hip, Arthroplasty
  • Link to doctor
    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    ศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    นพ. สิริพงศ์ รัตนไชย

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม (เทคนิคหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ROSA)
    Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Hip Fracture Management, Unicompartment Knee Replacement Surgery, Complex Primary Total Hip and Total Knee Replacement Surgery, Revision Hip and Knee Replacement Surgery, Minimally Invasive Technique of Hip and Knee Surgery, Birmingham Hip Resurfacing Surgery, Robotic Assisted Knee Replacement Surgery (ROSA)