ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก (Video-Assisted Thoracic Surgery, VATS)

ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก (VATS)

ผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก (Video-Assisted Thoracic Surgery, VATS) มีภาวะแทรกซ้อนน้อย ปวดแผลน้อยกว่าผ่าปกติ นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


ผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก (VATS)

ในอดีตการผ่าตัดปอดจะต้องทำด้วยวิธีการผ่าตัดแบบเปิด (open thoracotomy)เท่านั้น วิธีดังกล่าวจะเกิดแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขนาดของแผลจะขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัด ร่วมกับการใช้เครื่องถ่างขยายช่องซี่โครง (Rib spreader) ในการผ่าตัด ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดมากหลังผ่าตัดและมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ในปัจจุบันอุปกรณ์และเทคนิคในการผ่าตัดได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เป็นการผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก  (Video-Assisted Thoracic Surgery, VATS) ใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคในบริเวณช่องทรวงอก การผ่าตัดแบบนี้ได้ผ่านการรับรองด้วยการวิจัยจากหลายสถาบันการแพทย์ว่าส่งผลลัพธ์การรักษาที่ดีกว่าหรือเทียบเท่าการรักษารูปแบบเดิมอย่างการผ่าตัดแบบเปิด มีผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่น้อยกว่า เพราะผู้ป่วยจะปวดแผลน้อยกว่า นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้นกว่า และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย

เทคนิคการทำการผ่าตัดโดยวิธีการส่องกล้องในช่วงแรก ๆ จะมีแผลผ่าตัด 3-4 แผล แต่หลังจากศัลยแพทย์มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มากขึ้นผนวกกับนวัตกรรมเครื่องมืออุปกรณ์การผ่าตัดที่พัฒนาดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถลดจำนวนแผลผ่าตัดลงเหลือแค่แผลเดียวเท่านั้น และมีขนาดเล็กเพียง 2-3 เซนติเมตร การผ่าตัดส่องกล้องแผลเดียวเรียกว่า Uniportal VATS

โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก

  1. มะเร็งปอดระยะแรก (ระยะที่ 1 และ 2)
  2. ก้อนเนื้อในปอด
  3. ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด
  4. ภาวะติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มปอด
  5. เนื้องอกในช่องอกชนิดอื่นๆ เช่น เนื้องอกต่อมไทมัส

การผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กเหมาะกับการรักษาโรคปอดชนิดใดบ้าง 

หากศัลยแพทย์มีความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดส่องกล้องรวมถึงโรงพยาบาลมีอุปกรณ์การผ่าตัดที่ทันสมัย กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคปอดสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ขั้นตอนการผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก

ขั้นตอนการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องจะเริ่มด้วยการให้ผู้ป่วยดมยาสลบ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวขณะทำการผ่าตัด ระยะเวลาการผ่าตัดโดยรวมจะประมาณ 1-2 ชั่วโมง และจะมีการต่อสายระบายเลือดจากช่องอกของผู้ป่วยหลังทำการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องนอนพักฟื้นสังเกตอาการที่ห้องผู้ป่วยวิกฤต ส่วนมากระยะเวลาจะไม่เกิน 1 วันแต่ทั้งนี้ระยะเวลาการสังเกตอาการจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิสัญญีแพทย์ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะถูกเคลื่อนย้ายไปพักฟื้นต่ออีก 1-3 วันในห้องผู้ป่วยปกติ ระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของการผ่าตัด การฟื้นตัวของผู้ป่วย หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องมีอะไรบ้างและอันตรายหรือไม่

การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง โดยพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดประเภทนี้มีน้อยกว่าร้อยละ 1 และยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วยทีเข้ารับการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ลมรั่วหลังผ่าตัด ภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) รวมถึงเกิดการติดเชื้อในปอด ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงอย่างเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรค การรักษาด้วยการผ่าตัดโดยวิธีส่องกล้องเป็นนวัตกรรมที่ถูกพัฒนามาช่วยลดอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัด ส่งผลให้มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ดังนั้นการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องจึงปลอดภัยกว่าและมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยในกลุ่มความเสี่ยงสูงเป็นอย่างมาก

หลังการผ่าตัดแพทย์จะทำการเฝ้าติดตามดูแลรักษาอาการปวดของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งให้ได้รับการทำกายภาพบำบัด เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถช่วยเหลือตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยจะมีโอกาสกลับเป็นปกติหลังผ่าตัดหรือไม่

ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติหลังผ่าตัดอย่างแน่นอนหากไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดแผลเล็กน้อย รู้สึกชาหรือเสียวบริเวณหน้าอก เหนื่อยง่ายขึ้น ไอบ่อย มีเสมหะเล็กน้อย หรืออาจมีเลือดปนเป็นบางครั้งในปริมาณน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังจากผ่าตัด เป็นอาการข้างเคียงที่ไม่เป็นอันตรายและจะหายไปได้เองในที่สุด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2-4 สัปดาห์หลังจากทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำงาน ออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

คำถามที่พบบ่อย

  • ผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก คืออะไร?
    ผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก คือการผ่าตัดรักษาโรคบริเวณช่องทรวงอกโดยการส่องกล้อง แผลที่ผ่าตัดจะมีเพียงแผลเดียวขนาดเล็ก 2 - 3 ซม.เท่านั้น การผ่าตัดส่องกล้องแผลเดียว เรียกว่า Uniportal VATS ซึ่งผู้ป่วยจะมีภาวะแทรกซ้อนน้อย ปวดแผลน้อยกว่าการผ่าตัดปกติ นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย
  • โรคไหนที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก?
    โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีส่องกล้องแผลเล็ก คือ มะเร็งปอดระยะแรก (ระยะที่ 1 และ 2) ก้อนเนื้อในปอด ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาวะติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มปอด เนื้องอกในช่องอกชนิดอื่น ๆ เช่น เนื้องอกต่อมไทมัส เป็นต้น
  • ผู้ป่วยจะมีโอกาสกลับเป็นปกติหลังผ่าตัดหรือไม่?
    ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติหลังผ่าตัดอย่างแน่นอนหากไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อาจมีอาการปวดแผลเล็กน้อย รู้สึกชาหรือเสียวบริเวณหน้าอก เหนื่อยง่ายขึ้น ไอบ่อย มีเสมหะเล็กน้อย หรืออาจมีเลือดปนเป็นบางครั้งในปริมาณน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังจากผ่าตัด เป็นอาการข้างเคียงที่ไม่เป็นอันตรายและจะหายไปได้เองในที่สุด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2-4 สัปดาห์หลังจากทำการผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำงาน ออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

บทความโดย

  • ผศ.นพ. บุลวัชร์ หอมวิเศษ
    ผศ.นพ. บุลวัชร์ หอมวิเศษ ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหัวใจและทรวงอก เฉพาะทางด้านการผ่าตัดปอดโดยการส่องกล้องแผลเล็ก

เผยแพร่เมื่อ: 12 ก.พ. 2021

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พงศ์รัตน์ ศิริจินดากุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, การปลูกถ่ายไต
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. บุลวัชร์ หอมวิเศษ

    ผศ.นพ. บุลวัชร์ หอมวิเศษ

    • ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    • การผ่าตัดโรคหัวใจและทรวงอก
    ผ่าตัดปอดแบบแผลเล็ก, โรคมะเร็งปอด, ผ่าตัดเนื้องอกในปอด, Metastatic Lung Lesions, ภาวะปอดรั่ว, Empyema Thoracic, Pleural Effusion, Mediastinal Tumor, Chest Wall Tumor, Lung Volume Reduction Surgery, ผ่าตัดลิ่มเลือดอุดตันในปอด (CTEPH), Minimally Invasive Cardiac Surgery, Heart and Lung Transplantation
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    ผศ.นพ. ณัฐพล อาภรณ์สุจริตกุล

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, Abdominal Organ Transplant
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์

    ผศ.นพ. ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์

    • ศัลยศาสตร์
    • ศัลยศาสตร์การปลูกถ่ายอวัยวะ
    General Surgery, การปลูกถ่ายไต