รักษามะเร็งตับด้วย Y-90 ขั้นตอน ข้อดี - Y-90 radioembolization for liver cancer

รักษามะเร็งตับด้วย Y-90 ขั้นตอน ข้อดี

การรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 (Y-90 Radioembolization) คือ การรักษามะเร็งตับโดยใช้อนุภาคกัมมันตรังสีอิตเทรียม 90 (Yttrium 90) มุ่งเป้าเข้าไปรักษามะเร็งตับหรือเนื้องอกตับโดยตรงผ่านสายสวนหลอดเลือดแดง

แชร์

เลือกหัวข้อที่อ่าน


รักษามะเร็งตับด้วย Y-90

การรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 (Y-90 Radioembolization) คือ การรักษามะเร็งตับโดยใช้อนุภาคกัมมันตรังสีอิตเทรียม 90 (Yttrium 90) มุ่งเป้าเข้าไปรักษามะเร็งตับหรือเนื้องอกตับโดยตรงผ่านสายสวนหลอดเลือดแดง เพื่อให้อนุภาคกัมมันตรังสีรังสี Y-90 เข้าไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงของตับ ทำให้เนื้องอกตับขาดเลือดไปเลี้ยงจนค่อย ๆ หดตัว และตายลงในที่สุด Y-90 สามารถรักษามะเร็งตับได้ทุกเกือบทุกระยะ รวมถึงมะเร็งตับระยะลุกลาม มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่แพร่กระจายมายังตับ และมะเร็งตับที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ Y-90 ให้ผลการรักษาที่ดี มีผลข้างเคียงน้อย ใช้เวลาพักฟื้นสั้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็ว

ทำไมต้องรักษามะเร็งตับด้วย Y-90

ในมะเร็งตับระยะลุกลามที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ หรือผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเนื่องจากการผ่าตัดอาจทำให้เหลือเนื้อตับน้อยเกินไป แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการฉายแสง การจี้มะเร็งด้วยเข็มความร้อน การให้เคมีบำบัด หรือการให้ยามุ่งเป้า อย่างไรก็ตาม การฉายแสงและการจี้มะเร็งด้วยเข็มความร้อน อาจทำให้เนื้อเยื่อปกติของตับและอวัยวะข้างเคียงได้รับผลกระทบ ส่วนยาเคมีบำบัด และยามุ่งเป้าอาจไม่สามารถควบคุมโรคของตับได้ทั้งหมด และอาจทำให้ผู้รับการรักษาที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอได้รับผลข้างเคียงจากยามาก

การรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 เป็นนวัตกรรมการรักษามะเร็งตับด้วยอนุภาคกัมมันตรังสีอิตเทรียม 90 ร่วมกับการอุดกั้นหลอดเลือดแดงของตับ อนุภาคนี้มีอำนาจทะลุทะลวงประมาณ 11 มม. มีขนาดเล็กพอดีที่จะเข้าไปฝังตัวในก้อนมะเร็งและแผ่รังสีเบต้าเพื่อออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งเฉพาะจุดในระยะเวลาสั้น ๆ โดยจะมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 2 วันครึ่ง ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติและอวัยวะข้างเคียง ทั้งยังเป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องให้ยาเคมีบำบัด จึงไม่ต้องรับผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดแต่อย่างใด

Y 90 Radioembolization for Liver Cancer Th (1)

Y-90 รักษาโรคอะไร

มะเร็งตับมีอาการอย่างไร

  • มะเร็งตับระยะแรกเริ่ม มักไม่มีอาการ (แพทย์แนะนำควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี)
  • ปวดท้องโดยเฉพาะใต้ชายโครงขวา
  • แน่นท้อง
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • คลำได้ก้อนที่ท้อง
  • เป็นไข้บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการของโรคตับแข็ง เช่น ตัวเหลืองตาเหลือง ดีซ่าน ท้องบวมน้ำ หรือท้องมาน

Y 90 Radioembolization for Liver Cancer - การตรวจวินิจฉัยก่อนการรักษามะเร็งตับด้วย Y-90

การตรวจวินิจฉัยก่อนการรักษามะเร็งตับด้วย Y-90

แพทย์จะพิจารณาการรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 ในมะเร็งตับทุกระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นมะเร็งตับชนิดที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และไม่มีประวัติโรคประจำตัวอื่น ๆ โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจเฉพาะทางเพื่อประเมินสภาวะของตับ ตรวจหาตำแหน่งของก้อนเนื้องอกหรือมะเร็ง รวมถึงตรวจหาระยะของมะเร็ง โดยการตรวจดังต่อไปนี้

  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของตับ (CT triple-phase liver) หรือตรวจ MRI เพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือดในตับ คำนวณปริมาตรก้อนเนื้องอกและเนื้อตับปกติ ระบุตำแหน่งของหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ (Hepatic portal vein) และกำหนดขอบเขตการกระจายตัวของมะเร็งนอกตับ
  • ถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดแดงของตับ (Digital subtraction angiography of hepatic artery) เพื่อประเมินการวางตำแหน่งสายสวนหลอดเลือดแดงของตับ รวมถึงค้นหาหลอดเลือดที่มีความเสี่ยงที่อาจเกิดการไหลย้อนกลับของอนุภาคกัมมันตรังสีไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือถุงน้ำดี
  • ตรวจประเมินขอบเขตของหลอดเลือดที่เชื่อมต่อจากตับสู่ปอด (SPECT CT) เพื่อประเมินขนาดของหลอดเลือดที่เชื่อมจากตับไปสู่ปอด ซึ่งต้องมีขนาดที่ไม่ใหญ่เกินไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการที่อนุภาคกัมมันตรังสีอาจไหลเข้าไปอุดกั้นหลอดเลือดส่วนปลายสุดของปอด และทำให้เกิดพังผืดในปอดได้

ทั้งนี้ ปริมาณของอนุภาคกัมมันตรังสีอิตเทรียม 90 ที่รังสีแพทย์กำหนดใช้อาจแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สุขภาพของตับ และดุลยพินิจของแพทย์

Y 90 Radioembolization for Liver Cancer 4

ขั้นตอนการรักษามะเร็งตับด้วย Y-90

การรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 รพ. เมดพาร์ค ใช้มาตรฐานสากลในการรักษา (Glod standard) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสัมฤทธิ์ผลในการรักษาเป็นสำคัญ โดยผู้เข้ารับการรักษาจะพักรักษาตัวหลังการรักษาที่ รพ. เพียง 1 วัน เท่านั้น และสามารถกลับบ้านได้หลังจากแพทย์ตรวจประเมินร่างกาย และไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

  • รังสีแพทย์จะใส่สายสวนขนาดเล็กไปตามแนวหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ เพื่อนำพาอนุภาคเรซินไมโครสเฟียรส์เคลือบสารกัมตรังสี Y-90 ที่มีขนาดเล็กมาก มุ่งเป้าเข้าสู่ก้อนเนื้องอกตับหรือมะเร็งตับโดยตรง ซึ่งอนุภาคกัมมันตรังสี Y-90  จะเข้าไปฝังตัวตรงส่วนปลายสุดของหลอดเลือดแดงตับ และอุดกั้นหลอดเลือดแดงของตับไม่ให้นำเลือดไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกตับหรือมะเร็งตับได้ 
  • อนุภาคกัมมันตรังสี Y-90 จะค่อย ๆ แผ่รังสีเบต้าครอบคลุมก้อนเนื้องอกตับหรือมะเร็งตับอย่างช้า ๆ ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อเผาทำลายก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งอย่างทั่วถึง แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติหรืออวัยวะข้างเคียงแต่อย่างใด เซลล์มะเร็งจะค่อย ๆ ถูกทำลายและตายลงในที่สุด ก้อนเนื้องอกตับหรือมะเร็งตับจะค่อย ๆ ลดขนาดและหดตัวลง ทำให้ง่ายต่อการที่แพทย์จะรักษามะเร็งที่เหลือต่อในขั้นตอนต่อไป 
  • เมื่อเสร็จสิ้นการรักษา แพทย์จะให้ผู้รับการรักษาพักฟื้นที่ รพ. 1 วัน เพื่อสังเกตอาการและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชม. โดยหลังการรักษา 2-3 ชม. รังสีแพทย์จะทำการตรวจ SPECT CT บริเวณท้องส่วนบนเพื่อยืนยันรังสี Y-90 ในตับ และตรวจประเมินร่างกายหลังการรักษา หากไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้รับการรักษาสามารถกลับบ้านได้

การปฏิบัติตนหลังการรักษามะเร็งด้วย Y-90

  • ทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบ และป้องกันอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ
  • ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 1-1.5 ลิตร หลังการรักษา 2-3 วัน เพื่อช่วยขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดบวม มีรอยช้ำที่จุดเข็มเจาะ หรือไม่สามารถนอนท่าราบได้ ให้มาพบแพทย์

Y 90 Radioembolization for Liver Cancer 3 (1)

ข้อดีของการรักษามะเร็งด้วย Y-90

  • เป็นการรักษาทดแทนการผ่าตัดตับ ในผู้ที่ไม่สามารถผ่าตัดตับได้
  • ไม่ต้องผ่าตัด ไม่มีแผลผ่าตัด รุกล้ำน้อย เจ็บน้อย 
  • มีความปลอดภัยสูง มีความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนต่ำ
  • เนื้อเยื่อเสียหายน้อย อวัยวะภายในไม่บอบช้ำ
  • ใช้เวลาในการรักษาสั้นเพียง 1 ชม. 1-2 ครั้ง เท่านั้น
  • ไม่ต้องรับยาเคมีบำบัด ไม่มีผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด
  • สามารถให้ปริมาณรังสีได้มากกว่าการฉายแสงจากภายนอก
  • พักฟื้นสั้น นอน รพ. เพียง 24 ชม. เท่านั้น
  • ฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็ว
  • ปลอดภัยสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ประหยัดเวลา ประหยัดค่ารักษาพยาบาล
  • ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้รับการรักษาให้ดีขึ้น
  • เพิ่มอัตราการรอดชีวิต ช่วยยืดอายุไขให้นานขึ้น

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งด้วย Y-90

ผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็งด้วย Y 90 คือ ภาวะอุดกั้นหลอดเลือด (Post embolized syndrome) ซึ่งจะทำให้มีอาการ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เซี่องซึม เหนื่อยล้า มีไข้ต่ำ กระเพาะอักเสบ และลำไส้อักเสบ ซึ่งแพทย์จะให้ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบ ยาแก้คลื่นไส้ และยาป้องกันแผลในกระเพาะอาหารไปทานที่บ้าน โดยอาการต่างจะค่อย ๆ ดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 2-3 วัน

240724 Aw ภาพประกอบบทความ รักษามะเร็งตับด้วย Y 90 03 (1) (1)

การรักษามะเร็งตับด้วย Y-90 รพ. เมดพาร์ค

ศูนย์รังสีวินิจฉัย รพ.เมดพาร์ค กรุงเทพ ประเทศไทย นำโดยทีมรังสีแพทย์ระดับอาจารย์แพทย์ผู้ชำนาญการด้านรังสีร่วมรักษา รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่มีประสบการณ์สูงทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ มีความพร้อมในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งและไม่ใช่มะเร็งที่มีความยากซับซ้อนด้วยมาตรฐานการรักษาระดับ JCI โดยการใช้เทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงและอุปกรณ์ร่วมรักษาอันทันสมัยมาตรฐาน FDA เพื่อให้การรักษามะเร็งได้อย่างตรงจุด กระทบต่อเนื้อเยื่อปกติและอวัยวะข้างเคียงน้อยที่สุด ช่วยให้การรักษามีความแม่นยำ ปลอดภัย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งให้การดูแลติดตามผลหลังการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยลดผลข้างเคียง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว เพื่อให้ผู้รับการรักษามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างดีที่สุด

FAQ

  • Radioembolization และ Chemoembolization ต่างกันอย่างไร
    จากผลการศึกษาเปรียบเทียบผู้ที่เป็นมะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular carcinoma) ที่รักษาโดยการใช้อนุภาคกัมมันตรังสีอุดกั้นหลอดเลือดแดงของตับ (Radioembolization) และการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดงของตับ (Chemoembolization) พบว่าผู้ที่รักษาทั้ง 2 วิธี มีอัตราการรอดชีวิตเท่า ๆ กัน อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาเดียวกันนี้พบว่าการใช้อนุภาคกัมมันตรังสีอุดกั้นหลอดเลือดแดงของตับ มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ดีกว่า และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดงของตับ

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 02 ส.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    พญ. ภวิกา ฤกษ์ธรรมกิจ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, รังสีวินิจฉัยเต้านม
  • Link to doctor
    พญ. นิยตา จิตรภาษย์

    พญ. นิยตา จิตรภาษย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. มณทนีย์ พึ่งพงษ์

    พญ. มณทนีย์ พึ่งพงษ์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. พัชรี หงษ์สมาทิพย์

    พญ. พัชรี หงษ์สมาทิพย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. นภิศา บุนนาค

    พญ. นภิศา บุนนาค

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. อาภารัตน์ สกุลจันทร์

    พญ. อาภารัตน์ สกุลจันทร์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ธีรศักดิ์ ผิวปลั่ง

    ผศ.นพ. ธีรศักดิ์ ผิวปลั่ง

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง, ภาพวินิจฉัยในเด็ก
  • Link to doctor
    พญ. อัญชลา บัวทรัพย์

    พญ. อัญชลา บัวทรัพย์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีร่วมรักษาของลำตัว
    รังสีวินิจฉัย, Body Interventional Radiology
  • Link to doctor
    นพ. ศิโรช วงศ์ไวศยวรรณ

    นพ. ศิโรช วงศ์ไวศยวรรณ

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ชัชชาญ คงพานิช

    ผศ.นพ. ชัชชาญ คงพานิช

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีร่วมรักษาของลำตัว
    Body Interventional Radiology
  • Link to doctor
    พญ. พินพร เจนจิตรานันท์

    พญ. พินพร เจนจิตรานันท์

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. ปิยพร บุญศิริคำชัย

    พญ. ปิยพร บุญศิริคำชัย

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. รวิสรา เลิศไพศาล

    พญ. รวิสรา เลิศไพศาล

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
    รังสีวิทยา, รังสีวินิจฉัย, รังสีวินิจฉัย ภาพวินิจฉัยขั้นสูง
  • Link to doctor
    พญ. เอกอนงค์  วรกิตสิทธิสาธร

    พญ. เอกอนงค์ วรกิตสิทธิสาธร

    • รังสีวินิจฉัย
    • รังสีร่วมรักษาของลำตัว
    Interventional Oncology, Biliary Intervention, Gastrointestinal Intervention, Musculoskeletal Intervention, Spine Intervention, Arterial Intervention, Venous Intervention