10 ความเชื่อของคนมีลูกยาก เรื่องไหนจริง จากสูตินรีแพทย์ - 10 Fertility Myths Addressed

10 ความเชื่อของคนมีลูกยาก เรื่องไหนจริง จากสูตินรีแพทย์

ปัญหามีลูกยาก หรือ ภาวะมีบุตรยาก ถือเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ของคู่รักที่วางแผนครอบครัวอยากมีเจ้าตัวน้อย เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีได้ง่ายสมดั่งใจหวัง แน่นอนว่าเมื่อมีความปรารถนา ความต้องการ

แชร์

10 ความเชื่อของคนมีลูกยาก เรื่องไหนจริง อ่านคำตอบจากสูตินรีแพทย์

ปัญหามีลูกยาก หรือ ภาวะมีบุตรยาก ถือเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ของคู่รักที่วางแผนครอบครัวอยากมีเจ้าตัวน้อย เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีได้ง่ายสมดั่งใจหวัง แน่นอนว่าเมื่อมีความปรารถนา ความต้องการ สิ่งที่มาคู่กันคือความเชื่อที่อาจทำให้คู่รักหลาย ๆ คู่รู้สึกมีความหวัง หรือรู้สึกสงสัยว่า หากทำตามความเชื่อแล้ว จะทำให้มีลูกง่ายจริงหรือไม่

วันนี้เราได้นำคำตอบจากสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะมาเฉลยและให้ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับ 10 ความเชื่อของคนมีลูกยาก มาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลยว่ามีความเชื่อใดบ้างที่เป็นเรื่องจริง

  1. ลูบท้องคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทำให้มีลูกง่ายขึ้น จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ไม่จริง เพราะการลูบท้องคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดการปฏิสนธิ หรือช่วยให้เกิดการฝังตัวของตัวอ่อนแต่อย่างใด การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นเมื่อ สเปิร์มของฝ่ายชายเกิดการปฏิสนธิกับไข่ของฝ่ายหญิง ได้เป็นตัวอ่อนที่จะไปฝังตัวที่บริเวณผนังมดลูก อย่างไรก็ตาม การลูบท้องคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ได้มีข้อเสียแต่อย่างใด สามารถทำได้เพื่อความสบายใจ
  2. กินไข่เป็ดเปลือกเขียวทำให้มีลูกง่าย จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ไม่จริง เพราะสีของเปลือกไข่ไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณ หรือชนิดของสารอาหารที่มีภายในไข่แต่อย่างใด และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือมีส่วนช่วยใด ๆ ในการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ สีของเปลือกไข่เป็ดที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน และอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น คุณแม่สามารถรับประทานไข่เป็ดสีใดก็ได้ ตามความต้องการ เพราะไข่นั้นถือเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี แต่คุณแม่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ที่สำคัญ คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่มากกว่าการเน้นรับประทานแต่โปรตีนเพียงอย่างเดียว
  3. กินยาคุมนานทำให้มีลูกยาก จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ไม่จริง เพราะยาคุมชนิดรับประทานแบบเม็ดนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อการมีบุตรยากแต่อย่างใดแม้จะรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพียงแค่หยุดรับประทาน 1 เดือน ในเดือนถัดไป ไข่ก็จะสามารถตกตามรอบได้ตามปกติอีกครั้งทันที ส่วนยาคุมที่อาจส่งผลให้มีปัญหาเรื่องมีบุตรยากนั้น คือยาคุมชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือน ที่เรียกว่า DMPA ซึ่งอาจส่งผลให้ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือประจำเดือนไม่มาได้ เพราะยาคุมชนิดนี้จะทำให้เยื่อบุผนังมดลูกบางลง ไข่ไม่ตก แม้หยุดใช้เป็นระยะเวลานานแล้ว ก็จะต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าที่ไข่จะกลับมาตกตามปกติอีกครั้ง
  4. กินอวัยวะเพศสัตว์ ช่วยให้มีลูกง่าย จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ไม่จริง แม้เราจะได้ยินความเชื่อนี้มาเนิ่นนาน ว่าการกิน หรือรับประทานอวัยวะเพศของสัตว์ต่าง ๆ จะมีฤทธิ์ในการเป็นยาชูกำลัง ช่วยในเรื่องของการเจริญพันธุ์ หรือแม้แต่ช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จมากขึ้น แต่ในมุมมองของวิทยาศาสตร์นั้น ยังไม่มีงานวิจัย หรือบทพิสูจน์ใดมารองรับความเชื่อดังกล่าว
  5. มีเพศสัมพันธ์บ่อย ยิ่งทำให้มีลูกง่าย จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ไม่จริง แม้การมีเพศสัมพันธ์คือการเพิ่มโอกาสให้สเปิร์มนั้นได้เจอกับไข่ แต่สิ่งที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้จริงนั้น คือการมีเพศสัมพันธ์กันในวันที่ไข่ตก ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรวางแผน นับวันไข่ตก และหากเป็นไปได้ ควรทำวันเว้นวัน เพื่อให้ร่างกายของว่าที่คุณพ่อได้พักฟื้นฟูประสิทธิภาพและคุณภาพของสเปิร์มอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องของท่าทางในการมีเพศสัมพันธ์ ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโอกาสการตั้งครรภ์เช่นกัน 
  6. ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ทุกวัน ทำให้มีลูกยาก จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ จริง กรณีดื่มในปริมาณที่มากเกินไป เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่าง ชา กาแฟ นั้นส่งผลต่อการผลิตและการทำงานฮอร์โมน ในฝ่ายชายจะทำให้ร่างกายสามารถสร้างสเปิร์มหรืออสุจิได้น้อยลง ส่วนในฝ่ายหญิงนั้นอาจทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกได้
  7. ผู้ชายที่ชอบวางโน้ตบุ๊กบนตักบ่อย ทำให้มีลูกยาก จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ยังไม่แน่ชัด แม้จะมีการศึกษาที่พบว่าอุณหภูมิที่ร้อนมากเกินไปจะส่งผลต่อปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย แต่ในเรื่องการวางโน้ตบุ๊กบนตักบ่อยนั้น ยังไม่มีการศึกษา หรืองานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่า ส่งผลต่อปริมาณการสร้างอสุจิ เพราะยังไม่มีการศึกษา หรือการวิจัยที่บอกรายละเอียดเฉพาะเจาะจงได้ว่า ต้องวางบนตักนานเท่าไร โน้ตบุ๊กต้องร้อนมากขนาดไหนถึงจะมีผลดังกล่าว เพราะโน๊ตบุ๊กแต่ละเครื่องนั้นก็มีการระบายความร้อน รวมถึงมีความร้อนสะสมระหว่างการใช้งานที่แตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง แต่ละรุ่น
  8. ผู้ชายที่ใส่กางเกงในรัดจนเกินไป ทำให้มีลูกยาก จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ยังไม่แน่ชัด ด้วยเหตุผลเดียวกันกับความเชื่อเรื่องการวางโน้ตบุ๊กบนตักบ่อย เพราะยังไม่มีงานวิจัย หรือการศึกษาที่รองรับว่าการใส่กางเกงที่รัด จนอึดอัด หรือร้อน จะส่งผลต่อการมีลูกยาก
  9. ประจำเดือนมาไม่ปกติ ทำให้มีลูกยาก จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ จริง เพราะโดยปกติแล้ว การมีประจำเดือนที่มาตรงตามรอบเดือน นั่นหมายถึงร่างกายได้มีการผลิตไข่ หรือมีไข่ตกอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ และช่วยให้สามารถวางแผนในการมีบุตรได้ง่าย แต่ในทางกลับกัน การที่ประจำเดือนมาไม่ปกตินั้น อาจสะท้อนถึงปัญหาเช่น ไข่โตช้า ไข่โตไม่ดี หรือร่างกายไม่มีไข่ตกเลย ซึ่งทั้งหมดนั้นคือสิ่งที่ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง
  10. ฉีดวัคซีนโควิด เสี่ยงเป็นหมัน จริงหรือไม่?

    คำตอบคือ ไม่จริง ด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิดในปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานใดที่บอกแน่ชัดว่า การฉีดวัคซีนโควิด ทำให้เสี่ยงเป็นหมันแต่อย่างใด ที่สำคัญ การฉีดวัคซีนโควิดนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำ เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19 และลดโอกาสในการติดเชื้อลง

ภาวะมีบุตรยาก จริง ๆ แล้วเกิดจากอะไร?

เพื่อช่วยให้คลายสงสัย รวมถึงตอบคำถามที่มีต่อความเชื่อของคนมีลูกยากต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากความเชื่อที่คุณหมอได้หยิบยกมาเฉลยกันในวันนี้ การทราบถึงสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้น ก็เป็นเรื่องที่มีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ซึ่งสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ จากทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง เช่น น้ำเชื้อผิดปกติ ไข่น้อย ไข่ไม่ตก ท่อนำไข่อุดตัน เป็นต้น

เพื่อที่จะทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง รวมถึงรักษาได้อย่างถูกจุด คู่รักที่สงสัยว่ามีปัญหาภาวะมีบุตรยาก ควรปรึกษากับสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษามีบุตรยาก เพื่อประเมิน ตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากและทำการรักษา หรือรับคำแนะนำในการวางแผนมีบุตรอย่างถูกต้อง เหมาะสม


หลากหลายครอบครัวที่สำเร็จ เริ่มต้นจากการพูดคุย

เผยแพร่เมื่อ: 31 มี.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. ปิยพันธ์ ปุญญธนะศักดิ์ชัย

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    พญ. ชนกานต์ สืบถวิลกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Infertility, Fertility Preservation, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, มะเร็งวิทยานรีเวช
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ธนภพ บำเพ็ญเกียรติกุล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    พญ. สิริสุข อุ่ยตระกูล

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    ศ.นพ. นเรศร สุขเจริญ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    รศ.นพ. วิสันต์ เสรีภาพงศ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์