7 ความเชื่อเรื่องกระดูกและข้อ

กระดูกและข้อ อวัยวะที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนแกนกลางของร่างกาย ที่ทำให้ร่างกายสามารถขยับเคลื่อนไหวได้

แชร์

7 ความเชื่อเรื่องกระดูกและข้อ เรื่องไหนจริง โดยศัลยแพทย์กระดูกและข้อ 

กระดูกและข้อ อวัยวะที่แข็งที่สุดในร่างกายมนุษย์ มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนแกนกลางของร่างกาย ที่ทำให้ร่างกายสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ การดูแลสุขภาพกระดูกและข้อให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทำให้มีหลากหลายความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลกระดูก ถูกแชร์ ถูกพูดถึงกันมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งความเชื่อบางอย่างก็ฟังดูเข้าท่า แต่หลาย ๆ ความเชื่อที่บอกต่อกันมาก็ดูน่าสงสัย ซึ่งเราไม่ต้องคาใจกันอีกต่อไป เพราะในวันนี้แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ จะมาตอบคำถาม ไขข้อข้องใจ มาดูกันเลยว่าความเชื่อใดบ้างที่เป็นเรื่องจริง และความเชื่อใดบ้างที่ไม่จริง 

1. ใส่เหล็กดามกระดูก มีโอกาสโดนฟ้าผ่า หรือไฟดูดง่ายขึ้น จริงหรือไม่? 

คำตอบคือ ไม่จริง เพราะโลหะที่ใช้ผ่าตัดในทางการแพทย์เฉพาะทางกระดูก จะใช้โลหะในกลุ่มพวก Stainless Steel, Titanium, Cobalt Chrome หรือพวก Ceramic ซึ่งไม่มีคุณสมบัติเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าที่ดี จึงไม่เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดไฟดูด ต่างจากสายล่อฟ้า ซึ่งผลิตจากโลหะที่มีคุณสมบัติเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดีเช่น ทองแดง อะลูมิเนียม จึงทำให้สามารถดูดกระแสไฟฟ้า และถ่ายเทลงสู่พื้นดินได้  

2. หากแก่ตัวไป กระดูกจะหดลง ทำให้เราตัวเตี้ยลง จริงหรือไม่? 

คำตอบคือ จริง เพราะเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ รวมถึงกระดูกส่วนที่มีลักษณะนิ่มเช่น กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก จะเริ่มมีการเสื่อมสภาพ เหี่ยวแห้งลง ซึ่งบริเวณกระดูกสันหลังจนถึงกระดูกเชิงกรานนั้น เป็นอวัยวะส่วนที่มีความยาวคิดเป็น 25% ของความสูงทั้งหมดในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบของกระดูกสันหลัง อย่างหมอนรองกระดูกจะมีความสูงลดลง ทำให้ความยาวทั้งหมดของกระดูกสันหลังสั้นลง ทำให้ความสูงโดยรวมของร่างกายลดลง อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุตอนอายุมาก หรือร่างกายมีภาวะกระดูกพรุน อาจทำให้ความยาวของกระดูกสันหลังยุบลงได้ง่าย และทำให้ส่วนสูงลดลงได้เช่นกัน 

3. นั่งขัดสมาธิทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น จริงหรือไม่ 

คำตอบคือ จริง แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักของภาวะข้อเข่าเสื่อม ในบริเวณผิวของข้อเข่านั้น จะมีกระดูกอ่อนที่มีหน้าที่ช่วยดูดซับแรงกระแทก ช่วยให้การเคลื่อนไหวของข้อต่อราบรื่น ไม่มีแรงเสียดทาน ถ้าหากกระดูกอ่อนนี้เกิดการสึกกร่อน ถูกทำลายก็จะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ก็ตามที่เข่าอยู่ในลักษณะงอ จะทำให้เกิดแรงกระทำต่อผิวข้อได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่เรายืน หรือเดิน จะเกิดแรงกระทำที่ส่งผลต่อผิวข้อเข่าประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัว แต่เมื่อเราออกกำลังกายด้วยท่าที่ต้องงอเข่าอย่างเช่น สควอท จะเกิดแรงกระทำที่บริเวณผิวข้อเข่ามากขึ้นประมาณ 5-7 เท่าของน้ำหนักตัว ดังนั้นท่านั่งต่าง ๆ เช่น พับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนั่งที่พื้น ก็จะยิ่งส่งผลต่อข้อเข่า เพราะในจังหวะที่เราลุกขึ้นยืน ก็จะเกิดแรงกระทำที่ผิวข้อ จึงทำให้ท่านั่ง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้นั่นเอง 

4. การจัดกระดูกช่วยให้หายปวดหลังถาวร จริงหรือไม่? 

คำตอบคือ ไม่จริง แม้การจัดกระดูกเพื่อแก้ปัญหาออฟฟิศซินโดรมจะเป็นเทรนด์ที่มาแรงมากในโลกออนไลน์ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ โดยส่วนใหญ่คนมักจะเชื่อว่า ยิ่งจัดกระดูกแล้วมีเสียงกร๊อบดัง ๆ ที่ฟังแล้วสะใจ จะยิ่งแก้ปวดได้ดี แต่แท้จริงแล้ว สาเหตุของอาการปวดหลังนั้นมีที่มาหลากหลายอย่างมาก ตั้งแต่โรคผิวหนังบางประเภทเช่น งูสวัด อาการกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นต่าง ๆ อักเสบ ข้อต่อ กระดูก หมอนรองกระดูก หรือแม้แต่อาการผิดปกติที่อวัยวะภายในต่าง ๆ อย่างเช่นตับอ่อน หรือไต ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังได้เช่นกัน ดังนั้น การจัดกระดูกจึงไม่ใช่วิธีที่สามารถแก้ไขอาการปวดหลังทุกชนิดได้อย่างถาวร แต่เป็นเพียงการใช้แรงภายนอก เข้าไปช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากความผิดปกติ เช่น อาการข้อติด หรือกล้ามเนื้อยึดตึง ที่ไม่สามารถขยับข้อต่อด้วยตัวเองได้ การได้รับการนวดจากนักจัดกระดูก ในบริเวณที่มีอาการดังกล่าว จะช่วยทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น ได้แก่ พังผืด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น รวมถึงเยื่อหุ้มข้อต่าง ๆ ทำให้เกิดการยืดออก ซึ่งอาจทำให้เกิดการระบายของเสีย ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ช่วยบรรเทาอาการปวด อย่างการปวดหลังได้ชั่วคราว แต่ไม่สามารถรักษาอาการปวดให้หายอย่างถาวร ถ้าไม่ได้รักษาต้นเหตุที่แท้จริงของอาการปวด 

5. กระดูกเผาแล้วมีสีดำ แสดงว่าคนนั้นทำบาปกรรมไว้มาก? 

คำตอบคือ ไม่จริง หากจะว่ากันในเชิงของวิทยาศาสตร์แล้ว สีกระดูกของผู้เสียชีวิตหลังถูกเผานั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบาปกรรม โดยปกติแล้วสีของกระดูกหลังจากการเผาฌาปณกิจ จะมีสีเทา ขาว เหมือนขี้เถ้าโดยทั่วไปที่เราพบเห็นกัน แต่ถ้าหากว่าร่างกาย หรือกระดูกของผู้เสียชีวิตมีธาตุโลหะเจือปนมาด้วย จากอาหารและยาที่ผู้เสียชีวิตรับประทาน หรือจะเป็นวัสดุที่ยึดติดกับร่างกายเช่น อุปกรณ์ฟันปลอม หรือโลหะต่าง ๆ ที่ฝังอยู่ในร่างกาย รวมถึงแก้วแหวนเงินทองที่ญาติของผู้เสียชีวิตใส่เข้าไปในโลงตอนพิธีฌาปณกิจ ก็อาจทำให้เกิดปฏิกริยาเคมีในขณะที่เผา จนทำให้เกิดสีต่าง ๆ ที่กระดูกขึ้นมาได้ เช่น สีชมพูที่เกิดจากการเผาธาตุทองแดง สีเขียวที่เกิดจากการเผาธาตุเหล็ก หรือสีเหลืองที่เกิดจากการเผาธาตุสังกะสี เป็นต้น ส่วนสีดำนั้น มักเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์  

6. ดื่มน้ำอัดลมมาก ๆ ทำให้กระดูกพรุน กระดูกเสื่อมเร็ว จริงหรือไม่? 

คำตอบคือ ไม่จริง แม้เราจะคิดว่า น้ำอัดลม เป็นกรด และมีความเชื่อว่าน้ำอัดลมจะเข้าไปกัดกร่อนกระดูกของเราได้ ละลายแคลเซียม  แต่จริง ๆ ร่างกายของมนุษย์มีกลไกในการปรับสมดุลกรดด่างอยู่ ทำให้การดื่มน้ำอัดลม ไม่ได้ส่งผลต่อความเป็นกรดด่างของเลือดมากนัก ไม่ได้เกิดการละลายของกระดูก นอกจากนี้ ยังเคยมีการทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ทั้งในทวีปยุโรป และในประเทศจีน โดยเป็นงานวิจัยตรวจเปรียบเทียบค่าความหนาแน่นมวลกระดูกของผู้ที่ดื่มน้ำอัดลม และผู้ที่ไม่ดื่มน้ำอัดลม ทำการวิจัยต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี มีผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นหลักแสนคน พบว่า มวลกระดูกของผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ ไม่ได้มีความแตกต่างจากผู้ที่ไม่ดื่มน้ำอัดลมเท่าไร มวลกระดูกโดยเฉลี่ยไม่ต่างกัน ดังนั้น การดื่มน้ำอัดลมจึงไม่ได้ทำให้กระดูกบาง แต่เป็นปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น และฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย รวมถึงการรับประทานอาหาร เช่น อาหารที่มีโซเดียมที่ส่งผลให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น หรืออาหารที่มีฟอสฟอรัส หรือฟอสเฟตสูง จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น  

7. เดินเหยียบน้ำค้างยามเช้าทำให้กระดูกแข็งแรง จริงหรือไม่? 

คำตอบคือ ไม่จริง การเหยียบน้ำค้าง การเอาเท้าไปสัมผัสกับน้ำค้าง ไม่ได้มีประโยชน์ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้ แต่อาจเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน ที่ต้องการตื่นออกไปรับแดดยามเช้า เมื่อร่างกายได้สัมผัสกับแดดยามเช้า จะกระตุ้นให้ผิวหนังชั้นล่างสังเคราะห์วิตามินดีจากคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง และการออกมาเดินยามเช้าก็เป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง อวัยวะทุกอย่างในร่างกายต้องการการกระตุ้น ต้องการทำงาน อวัยวะอะไรที่ไม่ได้ทำงานจะถูกกำจัดทิ้ง กระดูกเราก็เหมือนกัน การออกมาเดินยามเช้า ทำให้เกิดการสร้างแรงกดผ่านกระดูก การเดินยามเช้าก็จะทำให้กระตุ้นกระดูกให้เกิดการทำงาน และป้องกันไม่ให้กระดูกมีสภาพที่แย่ลง  

อย่าลืมใส่ใจกระดูกอย่างสม่ำเสมอ หมั่นบำรุงด้วยอาหารที่มีแคลเซียมสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง หรือยกน้ำหนักเบา เพื่อรักษาอวัยวะสำคัญของร่างกายอย่างกระดูกให้แข็งแรงไปอีกนาน 

หากมีข้อสงสัย หรือมีภาวะความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกและข้อ มาปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางที่ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลลเมดพาร์ค เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย รักษา และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกระดูกที่ถูกต้อง เหมาะสม

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ก.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. พิสิฏฐ์ บุญมา

    นพ. พิสิฏฐ์ บุญมา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดเท้าและข้อเท้า
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ผ่าตัดส่องกล้องเท้าและข้อเท้า
  • Link to doctor
    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    นพ. ทินกร ปลื้มวิทยาภรณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สุขุม งามกิติเดชากุล

    นพ. สุขุม งามกิติเดชากุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    นพ. สรวุฒิ เหล่ารัตนวรพงษ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • เวชศาสตร์การกีฬา
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Sport Injury (Menicus, Cartilage, Ligament)
  • Link to doctor
    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    รศ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    นพ. สมบัติ คุณากรสวัสดิ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    พญ. กิตติวรรณ สุพิชญางกูร

    พญ. กิตติวรรณ สุพิชญางกูร

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    Hand and Microsurgery, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    นพ. ชัยยศ ทิรานนท์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    การผ่าตัดกระดูกสันหลัง, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. สุธี ทวีพันธุ์สานต์

    นพ. สุธี ทวีพันธุ์สานต์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Hand and Microsurgery
  • Link to doctor
    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    ศ.นพ. อารี ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    รศ.นพ. ปัญญา ลักษณพฤกษา

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    พญ. ซายน์ เมธาดิลกกุล

    พญ. ซายน์ เมธาดิลกกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    Arthroplasty, ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • Link to doctor
    นพ. ชิตวีร์ เจียมตน

    นพ. ชิตวีร์ เจียมตน

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. ณัฐเดช เมฆรุ่งจรัส

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    ผศ.นพ. ศิริชัย วิลาศรัศมี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. เตมีธ์  เสถียรราษฎร์

    นพ. เตมีธ์ เสถียรราษฎร์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, การผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  • Link to doctor
    นพ. ธนา โรจน์พรประดิษฐ์

    นพ. ธนา โรจน์พรประดิษฐ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดกระดูกและเปลี่ยนข้อเทียม
  • Link to doctor
    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    นพ. ชวรินทร์ อมเรศ

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    นพ. จตุพล คงถาวรสกุล

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty
  • Link to doctor
    นพ. ขรรค์ชัย   มลังไพศรพณ์

    นพ. ขรรค์ชัย มลังไพศรพณ์

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การผ่าตัดมือและจุลยศัลยกรรม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Hand and Microsurgery
  • Link to doctor
    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    นพ. พงศกร บุบผะเรณู

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • การบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Trauma Surgery
  • Link to doctor
    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    นพ. โชติตะวันณ ตนาวลี

    • ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ
    • ศัลยกรรมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม
    ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, Arthroplasty