สาเหตุ อาการ และการรักษาภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes)

ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes)

ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes) หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะที่บุคคลเกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ที่สะสมต่อเนื่องกัน อันเป็นผลพวงมาจากความเครียดและความกดดันในที่ทำงาน

แชร์

ภาวะหมดไฟ

ภาวะหมดไฟ (Burnout syndromes) หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะที่บุคคลเกิดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ที่สะสมต่อเนื่องกัน อันเป็นผลพวงมาจากความเครียดและความกดดันในที่ทำงาน โดยไม่ได้รับการจัดการทางอารมณ์ที่ดี หรือขจัดอารมณ์เหล่านั้นออกไป ทำให้รู้สึกสูญเสียพลังงาน เหนื่อยล้า อ่อนแรง หมดใจ หรือหมดไฟในการทำงาน มีทัศนคติในแง่ลบเกี่ยวกับที่ทำงานหรืองานที่ทำ ทำให้ไม่มีความสุขในการทำงาน หมดแรงจูงใจในการทำงาน มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างและเพื่อนร่วมงาน ภาวะหมดไฟในระยะยาวบั่นทอนจิตใจและร่างกาย จนอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า หรือโรคอื่น ๆ และรวมไปถึงปัญหาในการแสดงออกเชิงอารมณ์ และพฤติกรรมอื่น ๆ อีกด้วย

ภาวะหมดไฟ หรือ burnout syndromes คืออะไร?

ภาวะหมดไฟ หรือ burnout syndromes คือ ภาวะมลพิษทางอารมณ์ที่เกิดจากการสะสมความเครียดจากการทำงานมาในระยะหนึ่ง จนเกิดเป็นความเหนื่อยล้าที่ส่งผลต่อสุขภาพใจและกาย องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขึ้นทะเบียนให้การรับรองภาวะหมดไฟ เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเร่งรีบ กดดัน จนทำให้รู้สึกหมดพลัง หมดไฟ ไร้เรี่ยวแรง หมดแรงจูงใจในการทำงานและการใช้ชีวิต ผู้ที่มีภาวะหมดไฟในการทำงานควรเข้ารับการการรักษาและรับการบำบัดกับแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์เพื่อให้ทราบถึงที่มาของปัญหา และร่วมกันหาแนวทางในการจัดการกับปัญหา อันเป็นที่มาของความเครียด

Burnout Syndromes Banner 2

สาเหตุของภาวะหมดไฟ คืออะไร?

สาเหตุหลักของภาวะหมดไฟ คือ การได้รับแรงกดดันจากการทำงาน และจากการปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างบุคคลที่สะสมต่อเนื่องกันเป็นเวลานานจนรู้สึกว่าไม่สามารถจัดการงานต่าง ๆ ทั้งหมดได้ นำไปสู่ภาวะเครียดเรื้อรังทางอารมณ์ โดยอาจมีสาเหตุจากบรรยากาศการทำงานที่ตึงเครียด ภาระความรับผิดชอบงานที่หนักอึ้ง หรือชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน จนทำให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก ดังนี้

  1. ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์และรู้สึกหมดใจในการทำงาน (Emotional exhaustion) มีความรู้สึกหมดพลัง สูญเสียพลังงาน มีภาวะอ่อนล้า อ่อนเพลีย รู้สึกหมดแรงเมื่อหมดเวลาทำงาน
  2. ความรู้สึกแปลกแยกจากบุคคลอื่น (Depersonalization) มีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินทั้งกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ลูกน้องในทีม บุคคลอื่น ๆ ในที่ทำงานหรือบุคคลภายนอกที่ต้องติดต่อสื่อสาร รู้สึกเฉยเมย เฉยชา ไร้ชีวิตชีวา และไม่มีความผูกพันกับบุคคลหรือองค์การที่ทำงานอยู่
  3. ความนับถือตนเองต่ำ รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ และรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน (Low self-esteem) มีความนับถือตนเองต่ำ มีความรู้สึกตนเองไร้ความสามารถ มีความรู้สึกแง่ลบต่องานที่ทำ รู้สึกยากลำบากในการรับมือกับปัญหา ไม่สามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้ รู้สึกล้มเหลวในการทำงาน ไร้แรงจูงใจที่จะไปต่อให้ประสบความสำเร็จ หมดไฟในการทำงาน

อาการ และสัญญาณเตือนของภาวะหมดไฟ เป็นอย่างไร?

อาการ และสัญญาณเตือนของผู้ที่มีภาวะหมดไฟ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน

  1. อาการทางอารมณ์ เช่น รู้สึกเครียด เหนื่อยล้า อ่อนแรง ไม่สดชื่น ไม่มีความกระตือรือร้น รู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง หดหู่ หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย เพิกเฉย ไม่พอใจในงานที่ทำ รู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน ไม่มีเป้าหมายในการทำงาน ไม่อยากมาทำงาน อยากลาออกจากงาน
  2. มีทัศนคติในแง่ลบ เช่น มองโลกในแง่ร้าย มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน หวาดระแวงเพื่อนร่วมงาน กล่าวโทษเพื่อนร่วมงาน มีความวิตกกังวล เลี่ยงปัญหา มองว่าตนเองไร้ความสามารถ ไม่มีประสิทธิภาพ ไร้ศักยภาพ ไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานได้
  3. อาการแสดงออกทางด้านพฤติกรรม เช่น มีพฤติกรรมแยกตัว ห่างเหิน ปลีกตัว ชอบอยู่ตัวคนเดียว หวาดระแวงผู้อื่น มีอารมณ์แปรปรวน หุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขาดความความกระตือรือร้นเอาใจใส่ในงาน ไม่สามารถบริหารจัดการงานได้ มาทำงานสาย รู้สึกหมดเรี่ยวแรง และหมดไฟในการทำงาน

อาการแทรกซ้อนของภาวะหมดไฟ เป็นอย่างไร?

ระยะอาการของภาวะหมดไฟ มีกี่ระยะ

ระยะอาการของภาวะหมดไฟตามการแบ่งระยะของ Miller & Smith (1993) แบ่งเป็น 5 ระยะ โดยภาวะหมดไฟในการทำงานจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นเป็นระยะ ๆ ดังนี้

  1. ระยะฮันนีมูน (The honeymoon) เป็นช่วงเริ่มงานของบุคคลส่วนใหญ่ เป็นระยะที่บุคคลมีไฟในการทำงาน พยายามที่จะทำงานอย่างเต็มที่ พยายามปรับตัวให้เข้ากับองค์กรและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นระยะที่บุคคลสามารถรับแรงกดดันจาการทำงานได้
  2. ระยะรู้สึกตัว (The awakening) เป็นระยะที่บุคคลเริ่มรู้สึกคาดหวังกับการทำงาน และอาจต้องรู้สึกผิดหวังเมื่อพบว่าไม่สามารถตอบสนองต่อการทำงานในองค์กรได้ รู้สึกว่าองค์กรมีความไม่สมดุลระหว่างปริมาณงาน ค่าตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับในที่ทำงาน รู้สึกผิดพลาดในการทำงาน และไม่สามารถจัดการงานได้
  3. ระยะไฟตก (Brownout) เป็นระยะเริ่มต้นของภาวะหมดไฟ โดยเริ่มมีความรู้สึกเหนื่อยล้า โดยสามารถสังเกตเห็นได้ถึงอารมณ์ที่หงุดหงิด แปรปรวน เริ่มปลีกตัวออกห่างเพื่อนร่วมงานเพื่อหลีกหนีความคับข้องใจ วิพากษ์วิจารณ์องค์กรหรือที่ทำงานในแง่ลบ และอาจเริ่มมีการเสพติดการดื่มแอลกอฮอล์
  4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of burnout) เป็นระยะที่หมดไฟในการทำงานอย่างสมบูรณ์ รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และสูญเสียความมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองล้มเหลวในการจัดการงาน ไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน หมด passion ในการทำงาน
  5. ระยะฟื้นตัว (The phoenix phenomenon) ผู้ที่มีภาวะหมดไฟในการทำงาน หากได้รับการผ่อนคลายความตึงเครียด หรือได้รับการบำบัดทางการแพทย์เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับปัญหา และรวมถึงการปรับวิธีคิด ปรับmindset ในการทำงาน และสร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิต ก็จะสามารถกลับมามีไฟในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้ใหม่อีกครั้ง

Burnout Syndromes Banner 4

วิธีแก้ burnout syndromes มีวิธีการอย่างไร?

  1. ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ร่วมหารือพูดคุยกับหัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงานเพื่อให้รับทราบถึงปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันในการปรับเปลี่ยนงาน ลดปริมาณงาน หรือเรียงลำดับความสำคัญของงาน เพื่อให้สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายได้
  2. ขอการช่วยเหลือและการสนับสนุน ขอความช่วยเหลือในการทำงานจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนสนิท หรือคนรัก การได้รับการสนับสนุนในการทำงานจะช่วยให้สามารถรับมือกับปัญหาได้ และยังทำให้หัวหน้างานและเพื่อนร่วมงานเข้าใจถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่สมดุล เพื่อที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนงานให้สมดุลได้
  3. ออกกำลังกาย หรือลองทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ โยคะ การดูหนัง ฟังเพลง ทั้งนี้ออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้จัดการกับความเครียดได้ดี และยังสามารถเปลี่ยนความสนใจจากเรื่องงาน เป็นความสนใจต่อเกมส์ กีฬา หรือกิจกรรมที่ทำได้ ทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่า
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่อย่างมีคุณภาพ จะช่วยฟื้นฟูความเหนื่อยล้าในร่างกายให้กลับมามีพลัง ช่วยส่งเสริมการอยู่ดีมีสุข และช่วยทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงในระยะยาว
  5. การเจริญสติ การทำสมาธิ การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก มีสติรับรู้ความรู้สึก ความคิด และการกระทำ จะช่วยทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย ไม่ฟุ้งซ่าน รวมทั้งการปรับ mindset หรือทัศนคติที่เป็นลบเกี่ยวกับที่ทำงาน งานที่ทำ หัวหน้างาน หรือเพื่อนร่วมงาน เพื่อไม่ให้รู้สึกเครียดและกดดัน ฝึกการมองด้านบวก รวมถึงการมองเห็นคุณค่าของตนเองที่มีความสำคัญกับองค์กร

Burnout Syndromes Banner 3

การพัฒนาตนเอง สร้างแรงบันดาลใจไปสู่เป้าหมาย ช่วยแก้ภาวะหมดไฟได้

ผู้ที่กำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟในการทำงาน ควรได้รับการบำบัดรักษาอาการโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อร่วมรับฟังปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาก่อนที่อาการจะสะสมก่อตัวเป็นความเครียดที่รุนแรงส่งผลกระทบต่อการทำงาน บุคคลรอบข้าง และการดำเนินชีวิตจนกลายเป็นคนเก็บตัว กลัวสังคม และกลายเป็นโรคซึมเศร้าไปในที่สุด

วิธีการจัดการกับภาวะหมดไฟในการทำงานที่ดีที่สุด คือการจัดการกับความเครียด การปล่อยวางทางความคิด การทำจิตใจให้สบาย การแสวงหาความช่วยเหลือเพื่อหาทางออกร่วมกันในที่ทำงาน การมองโลกในแง่บวก การพัฒนาทักษะการจัดการ และการหาแรงบันดาลใจในการทำงาน การวางเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงการพิจารณาข้อดี-ข้อเสียในการลาออกจากงาน และการค้นหาเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต จะช่วยรักษาอาการภาวะหมดไฟให้สิ้นสุดลง และช่วยให้อยู่กับปัจจุบันขณะได้อย่างมีความสุข


คุณกำลังมีภาวะซึมเศร้าอยู่หรือเปล่า?
ลองทำแบบประเมินระดับภาวะซึมเศร้าเบี้องต้นกันเลย

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 31 พ.ค. 2023

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ศ.นพ. รณชัย   คงสกนธ์

    ศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์

    • จิตเวชศาสตร์
    • จิตเวชศาสตร์สิ่งเสพติด
    จิตเวชศาสตร์, จิตเวชศาสตร์สิ่งเสพติด
  • Link to doctor
    พญ. อรรัตน์ เชาว์กุลจรัสศิริ

    พญ. อรรัตน์ เชาว์กุลจรัสศิริ

    • จิตเวชศาสตร์
    • จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น
    Child and Adolescent Psychiatry, จิตเวชศาสตร์
  • Link to doctor
    นพ.   ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

    นพ. ลัญฉน์ศักดิ์ อรรฆยากร

    • จิตเวชศาสตร์
    จิตเวชศาสตร์
  • Link to doctor
    พญ. ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง

    พญ. ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง

    • จิตเวชศาสตร์
    • จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
    จิตเวชศาสตร์, จิตเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ