เป็นโรคหัวใจ ออกกำลังกายได้ไหม - Can People With Heart Disease Exercise

เป็นโรคหัวใจ ออกกำลังกายได้ไหม ต้องระวังอะไรบ้าง

หลายคนเข้าใจว่า สิ่งที่ดีสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจ คือการได้พักผ่อน ผ่อนคลายให้เป็นกิจวัตร แต่การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวก็จำเป็นต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพโดยรวม บทความนี้จะมาแนะนำ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

แชร์

เป็นโรคหัวใจ ออกกำลังกายได้ไหม ต้องระวังอะไรบ้าง

หลายคนเข้าใจว่า สิ่งที่ดีสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจ คือการได้พักผ่อน ผ่อนคลายให้เป็นกิจวัตร แต่การขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวก็จำเป็นต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพโดยรวม บทความนี้จะมาแนะนำ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

โรคหัวใจและการออกกำลังกาย

สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจ การออกกำลังกายเป็นประจำจะมีส่วนช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่ การออกกำลังกายจะช่วยชะลอการดำเนินโรค ลดอาการของโรค เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น รวมทั้งพบว่า ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ อย่างไรก็ตาม มีโรคหัวใจบางชนิดที่มีความเสี่ยงมากขึ้นหากออกกำลังกาย อย่างหนัก (High intensity) เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาจากพันธุกรรม โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกาย

การวางแผนการออกกำลังกายจึงเป็นเรื่องสำคัญ โปรแกรมการออกกำลังกาย ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมแต่ละคนจึงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ชนิดของโรคหัวใจ
  • ระดับความรุนแรงของโรคหัวใจ
  • โรคอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยร่วม
  • ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระดับความฟิตเดิม ความผิดปกติของกระดูกและข้อต่าง ๆ 
  • ผลการรักษาที่ผ่านมา
  • ยาต่าง ๆ ที่รับประทานอยู่

ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินจากแพทย์ และวางแผนการออกกำลังกายที่เหมาะสม ผู้ที่เป็นโรคหัวใจที่เพิ่งวินิจฉัยให้ได้รับการรักษา มีระดับความรุนแรงของโรคปานกลางถึงมาก อาจเข้าโปรแกรมออกกำลังกายระยะแรก ภายใต้การกำกับดูแลจากแพทย์ นักกายภาพบำบัด และพยาบาลโดยใกล้ชิด เมื่อมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และได้รับการประเมินถึงความปลอดภัยแล้วจึงเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายที่บ้าน และปรับเพิ่มการออกกำลังกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ออกกำลังกายโรคหัวใจ - Can people with heart disease exercise

สังเกตร่างกายขณะออกกำลังกาย ช่วยป้องกันอันตรายได้

การหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายเป็นระยะเวลานานเกินไป ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึง และอย่าละเลยที่จะสังเกตร่างกายตัวเองขณะออกกำลังกายด้วย เพราะช่วยให้เรารู้ถึงสัญญาณที่อาจเป็นอันตรายได้ 

หากเกิดอาการดังต่อไปนี้ ควรหยุดออกกำลังกายทันที แล้วไปพบแพทย์

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรตรวจเช็กสัญญาณชีพที่สำคัญทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย เช่น ความดันโลหิต ชีพจร อาจมีอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการออกกำลังกาย และควรตรวจทุกครั้งที่มีอาการผิดปกติ

แม้การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ มักเน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือคาร์ดิโอเป็นหลัก แต่ผู้ป่วยแต่ละคน มีร่างกายที่มีความแข็งแรงและความผิดปกติอื่น ๆ แตกต่างกัน การออกกำลังกายแบบผสมผสาน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายทั้งระบบได้ดีขึ้น ลดการบาดเจ็บ ทำให้พัฒนาการของการออกกำลังกายก้าวหน้าได้ดี ได้แก่

  • การออกกำลังกายแบบเพิ่มแรงต้านทาน (Resistance or Weight Training) เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อท้องและหลัง ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้ หากอ่อนแรง จะเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
  • การฝึกการยืดหยุ่น โดยการยืดเหยียด (Stretching) เช่น โยคะ พิลาทิส
  • การฝึกการรักษาสมดุล (Balance Training) โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงวัย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยที่มีโรคสมองหรือระบบประสาท เพื่อลดความเสี่ยงของการล้มและบาดเจ็บ

สรุปแล้ว

การออกกำลังกายช่วยลดความดันโลหิตในระยะยาว และลดระดับไขมัน LDL ที่รู้จักกันดีว่าเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี จัดว่าเป็น ‘ยาวิเศษ’ ที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจและช่วยให้หัวใจแข็งแรง อย่ามองว่าการออกกำลังกายเป็นเหมือนบทลงโทษที่ต้องทำเมื่อเริ่มเจ็บป่วย ควรให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะการออกกำลังกายคือการลงทุนที่คุ้มค่า ที่ดีต่อทั้งคนที่ป่วยและไม่ป่วย 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 10 มิ.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    นพ. วิพัชร พันธวิมล

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    นพ. ไพศาล บุญศิริคำชัย

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    อายุรกรรมโรคหัวใจ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    นพ. วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    พญ. ศนิศรา จันทรจำนง

    • อายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    หัวใจเต้นผิดจังหวะ, การตรวจวินิจฉัยทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
  • Link to doctor
    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    พญ. จิรภา แจ่มไพบูลย์

    • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
    เวชศาสตร์ฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ