ฟันร้าว ฟันแตก ฟันหัก ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ป้องกันอย่างไรดี

ฟันร้าว ฟันแตก ฟันหัก หลายคนคิดว่าผลกระทบมีแค่ความสวยงาม ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อฟัน แต่บางกรณี อาจแตกหลุดออกมา แตกเป็นชิ้น ๆ กลายเป็นอาการฉุกเฉินทางทันตกรรมได้

แชร์

ฟันร้าว ฟันแตก ฟันหัก ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ป้องกันอย่างไรดี 

ฟันร้าว ฟันแตก ฟันหัก หลายคนคิดว่าผลกระทบมีแค่ความสวยงาม แต่ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซีเรียสและน่ากังวลทีเดียว เพราะเมื่อฟันแตก หัก ร้าว อาจส่งผลกับสุขภาพช่องปากอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งปัจจัยหรือสาเหตุที่จะทำให้ฟันแตก ฟันหัก มีหลายประการ  

ฟันร้าว ฟันแตก ฟันหัก คืออะไร มีกี่แบบ 

โดยปกติ ฟันจะแตกเมื่อมีบางสิ่งมากระทำให้ฟันเสียหาย ส่งผลให้เกิดการแตกหัก รอยร้าว ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่รอยร้าวเล็ก ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อฟัน แต่บางกรณี อาจแตกหลุดออกมา แตกเป็นชิ้น ๆ กลายเป็นอาการฉุกเฉินทางทันตกรรมได้ 

ที่พบได้บ่อย ฟันแตกมักเกิดขึ้นที่ฟันหน้าบน และฟันกรามล่าง แต่ก็อาจมีรอยร้าวได้ในทุกส่วน ซึ่งทางทันตกรรม จะแบ่งประเภทของฟันแตก ฟันหัก หรือฟันร้าวได้ ดังนี้ 

  • ฟันร้าว คือ มีรอยร้าวแนวตั้งที่เริ่มจากผิวฟันไปจนถึงเหงือก บางครั้งรอยแตกอาจขยายลงมาจนถึงแนวเหงือกและรากฟัน
  • รอยร้าวบนผิวเคลือบฟัน คือ รอยร้าวบาง ๆ บนผิวเคลือบฟัน ซึ่งไม่ทำให้เจ็บ
  • การแตกหักบริเวณปุ่มฟัน คือ การแตก ร้าว ที่เกิดขึ้นรอบ ๆ วัสดุอุดฟัน ซึ่งมักไม่ได้ทำให้เจ็บมากนัก
  • ฟันแตกเป็นสองส่วน คือ ฟันที่แตกออกจากกันเป็นสองส่วนตาม
  • รากฟันแตกในแนวดิ่ง  คือ รอยแตกที่เกิดขึ้นใต้แนวเหงือก และขยายมาทางผิวฟัน อาจไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ เว้นแต่ว่าจะมีการติดเชื้อที่เนื้อฟัน 

แล้วทำไมฟันร้าว แตก หัก ถึงไม่ควรประมาท

นั่นก็เพราะ มีความเป็นไปได้ ว่าแบคทีเรีย เชื้อโรคอาจซึมเข้าไปในเนื้อฟันผ่านรอยแตกหรือร้าว ทำให้เกิดการติดเชื้อในฟัน ลามไปถึงชั้นพังผืดและไขมันบนใบหน้าและลำคอได้เลย

อาการที่บ่งบอกว่าอาจมีฟันร้าว แตก โดยไม่รู้ตัว

 แม้ว่าฟันแตก ฟันร้าว ไม่ได้ทำให้เกิดอาการเสมอไป แต่ก็อาจพบเจออาการต่อไปนี้ 

  • ปวดฟันเฉียบพลัน เมื่อกัดฟัน 
  • เสียวฟันเมื่อกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนหรือเย็น หรือกินของหวาน 
  • มีอาการบวมบริเวณฟัน 
  • ปวดฟันเมื่อกัดหรือเคี้ยว 

หากไม่ได้รับการรักษา ฟันร้าว ฟันแตก อาจนำไปสู่การติดเชื้อ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ เช่น มีกลิ่นปาก ปวดฟันเรื้อรัง เหงือกบวม ต่อมน้ำเหลืองบวม มีไข้ 

สาเหตุและวิธีป้องกันฟันร้าว ฟันแตก ฟันหัก  

สาเหตุโดยทั่วไปที่ทำให้ฟันร้าว ฟันแตก หรือหัก มีหลายอย่าง อาทิ อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้สภาพฟันเสื่อมลง ความแข็งแรงลดลง การกัดหรือบดเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ อย่างน้ำแข็ง ลูกอม และแม้กระทั่ง การทำฟันบางประเภท อย่างการอุดฟันขนาดใหญ่ การรักษาคลองรากฟัน ที่อาจทำให้ฟันอ่อนแอลงและง่ายต่อการแตกหรือร้าว การนอนกัดฟัน หรือการบาดเจ็บ ถูกกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ 

สำหรับการป้องกัน จริงอยู่ว่าไม่มีใครสามารถหยุดอายุไม่ให้เพิ่มขึ้น หรือยับยั้งความแก่ชราได้ แต่การรักษาสุขภาพช่องปากให้ดี ทำความสะอาดฟันอย่างถูกต้อง มาพบหมอฟันตามนัดสม่ำเสมอ เพื่อตรวจเช็กความผิดปกติในช่องปาก ก็จะช่วยให้ตรวจพบปัญหาได้ไว หากต้องเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะ กระแทก ก็ใช้อุปกรณ์ครอบฟันป้องกัน และควรเลิกนิสัยเคี้ยวหรือกัดของแข็ง ๆ  

ฟันร้าว แตก หัก ซ่อมได้ไหม 

การรักษาหรือซ่อมแซมฟันที่ร้าว แตก หัก อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ขึ้นอยู่กับประเภทและวิธีการที่ใช้ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้อธิบายวิธีการและขั้นตอนให้ทราบ เช่น  

  • การครอบฟัน ในบางครั้งทันตแพทย์จะใช้วิธีการใส่ครอบฟัน ซึ่งช่วยป้องกันฟันและเสริมความแข็งแรงของฟัน 
  • การถอนฟัน แล้วเปลี่ยนใส่รากฟันเทียม 
  • การเคลือบฟันเทียม หรือ การทำวีเนียร์ เพื่อบูรณะฟันให้ดูสมบูรณ์ 

เมื่อมีฟันร้าว แตก หัก จำเป็นต้องรักษาหรือไม่ คำตอบคือ แล้วแต่กรณี หากฟันที่ร้าวไม่ได้ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือมีรอยร้าว แตกลามลึกเข้าไปมาก ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่อย่างไรก็ตาม หากพบว่าฟันมีรอยร้าว แตก หัก ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมินก่อน หากมีแน้วโน้มที่จะส่งผลเสียต่อฟันและสุขภาพ ทันตแพทย์จะสามารถวางแผนการรับมือและรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ 

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 12 ก.ค. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    ทพญ. นลินา ณรงค์ชัยกุล

    ทพญ. นลินา ณรงค์ชัยกุล

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมประดิษฐ์
    ทันตกรรมดิจิตัล, การทำครอบฟัน
  • Link to doctor
    ทพ. พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ

    ทพ. พลาวัสถ์ เลาหรุ่งพิสิฐ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมประดิษฐ์
  • Link to doctor
    ทพ. ธิตินนท์ จงตั้งปิติ

    ทพ. ธิตินนท์ จงตั้งปิติ

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมประดิษฐ์
  • Link to doctor
    ทพญ. สุนิสา รัตนวรพันธุ์

    ทพญ. สุนิสา รัตนวรพันธุ์

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมประดิษฐ์
    ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมประดิษฐ์
  • Link to doctor
    ทพ. สนธิ ศิริมัย

    ทพ. สนธิ ศิริมัย

    • ทันตกรรม
    • ทันตกรรมประดิษฐ์
    การปรับรอยยิ้มและรูปหน้าด้วยเดนทัลวีเนียร์, การรักษาทันตกรรมเพื่อความสวยงามที่ซับซ้อนด้วยรากเทียมและวีเนียร์, การใส่ฟันทันทีบนรากเทียมแบบ All-on-4, ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม