ยาคุมฉุกเฉิน อันตรายจริงหรือ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

หลายคนคงเคยได้ยินคำเตือนที่ว่า ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกินสองครั้งในชีวิต เพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงและอันตราย แต่ข้อมูลนี้เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน แล้วเราสามารถใช้ยาคุมกำเนิดให้มั่นใจ ปลอดภัยได้จริงหรือไม่

แชร์

ยาคุมฉุกเฉิน อันตรายจริงหรือ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

หลายคนคงเคยได้ยินคำเตือนที่ว่า ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกินสองครั้งในชีวิต เพราะเป็นยาที่มีผลข้างเคียงและอันตราย แต่ข้อมูลนี้เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน แล้วเราสามารถใช้ยาคุมกำเนิดให้มั่นใจ ปลอดภัยได้จริงหรือไม่ บทความนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

รู้จักยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะใช้ฮอร์โมนมาเป็นตัวป้องกันการปฏิสนธิระหว่างฟองไข่กับอสุจิ ฮอร์โมนที่ใช้มี 2 รูปแบบ ทั้งฮอร์โมนเดี่ยว (โปรเจสเตอโรน) และฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) ซึ่งมีหลายประเภท ทั้งยากิน แผ่นแปะ ห่วงที่ใส่ช่องคลอด ห่วงอนามัยที่ใส่ในโพรงมดลูก ยาฉีด และยาฝัง

กลไกการคุมกำเนิดหลัก ๆ ของยาคุมกำเนิด ได้แก่

  1. ยับยั้งการตกไข่ เมื่อไม่มีการตกไข่ ก็จะไม่เกิดการปฏิสนธิ
  2. ออกฤทธิ์เฉพาะที่ คือ ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ยากต่อการเจาะของอสุจิ หรือทำให้ผนังโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน

ในส่วนของยาคุมฉุกเฉิน ก็มีทั้งแบบใช้ฮอร์โมนเดี่ยว และฮอร์โมนรวม และในรูปแบบแอนติโปรเจสโตเจน  นอกจากนี้ยังสามารถใช้ห่วงอนามัยเป็นยาคุมฉุกเฉินได้เช่นกัน ฮอร์โมนที่ใช้ในยาคุมฉุกเฉินจะมีปริมาณค่อนข้างสูง จึงมีวัตถุประสงค์ในการใช้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ การคุมกำเนิดตามปกติเกิดผิดพลาด เช่น ลืมกินยาคุมกำเนิดปกติ ใส่ถุงยางอนามัย แต่ถุงยางอนามัยหลุด หรือขาด หรือในกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น

รู้จักกับประเภทของยาคุมกำเนิด

ประเภทยาคุมกำเนิด จะแบ่งตามส่วนประกอบของฮอร์โมนที่ใช้ ได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

  • ยาคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมนเดี่ยว มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว 
  • ยาคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมนรวม มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนเอสโตรเจน 

ทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติ หรือกลไกการทำงานช่วยยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น อสุจิจึงไม่สามารถเข้ามาในโพรงมดลูกและเข้าไปปฏิสนธิกับฟองไข่ที่ปีกมดลูกได้ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ทำให้ตัวอ่อนที่ปฏิสนธิแล้วไม่สามารถมาฝังตัวและเจริญเติบโตในโพรงมดลูกได้ 

และยาคุมกำเนิดทั้งที่ใช้ฮอร์โมนเดี่ยว หรือ ฮอร์โมนรวม ยังแบ่งเป็นหลายรูปแบบ ได้แก่

ฮอร์โมนเดี่ยว

  • ยากิน สำหรับกินวันละ 1 เม็ด โดยหนึ่งแผงมี 28 เม็ด กินต่อเนื่อง โดยจะต้องกินยาอย่างเคร่งครัด เพราะประสิทธิภาพจะลดลง และมีผลข้างเคียงมากขึ้นหากลืมกินยา
  • ยาฉีด สำหรับฉีดทุก 3 เดือน
  • ยาฝัง ที่บริเวณต้นแขน แบบแท่งเดี่ยวจะมีระยะเวลาคงประสิทธิภาพ 3 ปี และแบบแท่งคู่จะมีระยะเวลาคงประสิทธิภาพ 5 ปี
  • ห่วงคุมกำเนิด (ใส่ในโพรงมดลูก) มีระยะเวลาคงประสิทธิภาพ 5 ปี

ฮอร์โมนรวม

  • ยากิน สำหรับกินวันละ 1 เม็ด โดยหนึ่งแผงมี 21 เม็ด และยาเม็ดแป้งอีก 7 เม็ด ในบางยี่ห้อหนึ่งแผงมี 24 เม็ด และยาเม็ดแป้งอีก 4 เม็ด
  • แผ่นแปะ ใช้แปะทุก 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์
  • ห่วงใส่ช่องคลอด ใส่ 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ 

การใช้ยาคุมในปัจจุบัน นอกจากการใช้เพื่อคุมกำเนิดแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการจากโรคทางนรีเวชด้วย จัดเป็นประโยชน์ทางอ้อมของการใช้ฮอร์โมน โดยจะช่วยยับยั้งการตกไข่ ลดการหลั่งของสารโพรสตาแกลนดิน หรือสารที่ทำให้ปวดท้อง ปวดหน่วงช่วงมีประจำเดือน และถ้าใช้อย่างต่อเนื่องจะทำให้ประจำเดือนไม่มา ทำให้เยื่อบุมดลูกบาง จะช่วยบรรเทาอาการของโรคบางโรค เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ โดยวัตถุประสงค์หลัก ๆ ของการใช้ยา คือ การบรรเทาอาการ และชะลอการดำเนินของโรค ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีข้อบ่งชี้ต้องผ่าตัด แต่ไม่ได้ทำให้โรคหาย หรือพยาธิสภาพของโรคหายไป ซึ่งต้องพิจารณาการใช้เป็นรายบุคคลไป

ยาคุมฉุกเฉิน ห้ามกินเกิน 2 ครั้งในชีวิตจริงหรือ?

ยาคุมฉุกเฉิน ตามที่กล่าวไปว่ามีทั้งชนิดที่เป็นฮอร์โมนเดี่ยวและฮอร์โมนรวม แต่จะมีฮอร์โมนในปริมาณที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดปกติ โดยยาคุมฉุกเฉินนั้น ในปัจจุบัน กลไกการทำงานยังไม่แน่ชัด มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดต่ำกว่ายาคุมกำเนิดปกติ  และมีข้อจำกัดในการใช้งานพอสมควร คือต้องใช้ภายใน 5 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ หลังจากนั้นประสิทธิภาพจะลดลง

แล้วห้ามกินเกิน 2 ครั้งในชีวิตจริงหรือไม่ ในแง่ของผลจากฮอร์โมน ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ควรใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น เนื่องจากกลไกการทำงานเพื่อคุมกำเนิดของยาคุมฉุกเฉินยังไม่แน่ชัด และอัตราการคุมกำเนิดประสบความสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การกินยาคุมกำเนิดปกติอยู่ที่ประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า จึงไม่แนะนำให้ใช้ยาคุมฉุกเฉินในการคุมกำเนิดตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคนที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ เพราะมีวิธีอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า 

ผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดจริง ๆ มีอะไรบ้าง?

สำหรับยาคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อาจส่งผลข้างเคียงให้มีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ ในขณะที่ฮอร์โมนรวม ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเข้ามาด้วย จะลดผลข้างเคียงเรื่องเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ แต่อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนมากกว่า

แนะนำการคุมกำเนิดจากหมอสูติ

การคุมกำเนิดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันส่วนใหญ่ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จึงไม่ได้มีวิธีใดดีกว่าวิธีอื่น แต่การจะตัดสินใจเลือกว่าจะใช้วิธีใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยของตัวผู้ใช้เอง โดยแพทย์จะสอบถามข้อมูลเพื่อให้คำแนะนำว่าควรคุมกำเนิดด้วยวิธีใด ถึงจะเหมาะสม ซึ่งจะพิจารณาจาก

  • ต้องการคุมกำเนิดนานแค่ไหน ระยะสั้น 1-2 ปี และระยะยาวคือมากกว่า 3 ปีขึ้นไป
  • นิสัยหรือพฤติกรรมการกินยา ว่าเข้มงวดแค่ไหน หากลืมกินยาบ่อย จะไม่เหมาะกับยาคุมกำเนิดประเภทยากิน
  • ราคา
  • ผลข้างเคียงจากยาชนิดต่าง ๆ 

ยาคุมกำเนิดแบบยากิน จะเหมาะกับคนที่มีวินัยในการกินยา เพราะต้องกินทุกวัน ห้ามขาด หากลืมกิน 1-2 เม็ดแล้วนึกได้ต้องรีบกินทันทีตามจำนวนเม็ดที่ลืม แล้วกินยาต่อตามปกติเมื่อถึงเวลากินเม็ดต่อไป หากลืมกิน 3 เม็ดแล้วนึกได้ ให้ยกเลิกยาแผงนั้นไปเลย รอให้ประจำเดือนมาก่อน แล้วค่อยเริ่มยาแผงใหม่ เหมาะกับการคุมกำเนิดระยะสั้น 1-2 ปี และหลังจากหยุดกิน ไม่นานก็จะกลับมามีบุตรได้

ยาคุมกำเนิดแบบยาฉีด เป็นยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเดี่ยว ออกฤทธิ์ 3 เดือน หรือ 12 สัปดาห์ จึงต้องไปฉีดทุก 3 เดือน ช่วยยับยั้งการตกไข่ แต่หลังจากหยุดฉีดยา อาจต้องรอประมาณ 6 เดือนถึงจะกลับมามีลูกได้ มีข้อดีคือ ราคาถูก

ยาคุมกำเนิดแบบห่วงใส่ในโพรงมดลูก เป็นห่วงที่สอดเข้าไปในโพรงมดลูก ชนิดแรกคือห่วงที่มีตัวยาฮอร์โมน กลไกออกฤทธิ์เฉพาะที่ ทำให้มูกปากมดลูกเหนียวข้น เยื่อบุโพรงมดลูกบาง อาจยับยั้งการตกไข่ได้บ้างแต่ไม่มาก ออกฤทธิ์นาน 5 ปี มีราคาค่อนข้างสูง และอีกชนิดหนึ่งคือห่วงทองแดง ไปกระตุ้นกระบวนการอักเสบที่ไม่ใช่การอักเสบติดเชื้อ ช่วยให้สิ่งแวดล้อมในโพรงมดลูกไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ทำให้มีประจำเดือนทุกเดือนตามปกติ ออกฤทธิ์นาน 8 ปี กับ 10 ปี และมีข้อดีคือ ราคาถูก

ยาคุมกำเนิดแบบแผ่นแปะและแบบห่วงใส่ในช่องคลอด เป็นฮอร์โมนรวม แบบแผ่นแปะใช้แปะติดกับผิวหนัง ให้ยาซึมผ่านผิวหนัง แบบห่วงใส่ในช่องคลอด ยาจะซึมผ่านทางผนังช่องคลอด ตัวยาออกฤทธิ์นาน 3 สัปดาห์ แล้วเว้น 1 สัปดาห์ให้ประจำเดือนมา ข้อดีคือใช้งานสะดวก หากเป็นคนชอบลืมกินยา แต่ก็อยากคุมกำเนิดระยะสั้น ๆ สามารถใช้วิธีนี้ได้

ยาคุมกำเนิดแบบฝัง เป็นฮอร์โมนเดี่ยว ใช้ฝังที่แขน ออกฤทธิ์นาน 3 ปี กับ 5 ปี แล้วแต่ชนิดยา เหมาะกับการคุมกำเนิดในระยะยาว ไม่ต้องการมีบุตรในช่วงเวลาหลายปี 

สรุปแล้ว ยาคุมฉุกเฉิน ไม่แนะนำให้ใช้บ่อย ๆ ไม่ใช่เพราะเป็นยาที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่เพราะประสิทธิภาพที่ให้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าการคุมกำเนิดด้วยยาคุมกำเนิดชนิดอื่น ๆ แพทย์จึงไม่แนะนำให้ใช้พร่ำเพรื่อ หรือใช้แทนการคุมกำเนิดตามปกติ ควรใช้ในกรณีจำเป็นหรือฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น

บทความโดย

เผยแพร่เมื่อ: 01 เม.ย. 2024

แชร์

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

  • Link to doctor
    MedPark Hospital Logo

    นพ. พิพัฒน์ จงกลสิริ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    รศ.พญ. อารีย์พรรณ โสภณสฤษฎ์สุข

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Gynecologic Oncology
  • Link to doctor
    นพ.  วิวรรธน์  ชินพิลาศ

    นพ. วิวรรธน์ ชินพิลาศ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    พญ. สาวินี รัชชานนท์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopy
  • Link to doctor
    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    รศ.นพ. สุภักดี จุลวิจิตรพงษ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    ผศ.พญ. พรทิพย์ สิรยาภิวัฒน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology, Gynecologic Endoscopic Surgery
  • Link to doctor
    พญ. นลินา ออประยูร

    พญ. นลินา ออประยูร

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
  • Link to doctor
    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    นพ. พันธ์กวี ตันติวิริยพันธุ์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Reproductive Endocrinology, Obstetrics and Gynecology
  • Link to doctor
    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    พญ. ชญานิศ อภิรักษ์วิริยะ

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Obstetrics and Gynecology, Reproductive Endocrinology
  • Link to doctor
    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์

    • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
    • สตรีวัยหมดประจำเดือน
    • เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
    Infertility, Menopause, Fertility Preservation, Reproductive Endocrinology